SGE-Bakingsoda

11,542 Views

คัดลอกลิงก์

พารู้จัก เบกกิ้งโซดา ใช้ทำขนมก็ดี ทำอย่างอื่นก็ได้ด้วยนะ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า เบกกิ้งโซดา คือ โซเดียมไบคาร์บอเนต เป็นสารที่ทำให้ขึ้นฟู เมื่อโดนน้ำและความร้อนจะสลายตัวกลายเป็นฟองก๊าซ มีฤทธิ์เป็นด่าง และถูกนำมาผสมอยู่ในผงฟูตอนทำขนม ทั้งยังสามารถใช้ทำความสะอาดได้ด้วย เรียกได้ว่าสารพัดประโยชน์เลย ไหนใครอยากรู้ว่าเบกกิ้งโซดาทำอะไรได้บ้าง วันนี้ SGE ได้รวบรวมสาระความรู้ และประโยชน์ของเบกกิ้งโซดา มาฝากกันค่ะ

เบกกิ้งโซดาคืออะไร?

เบกกิ้งโซดา มีชื่อเรียกทางเคมีว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate : NaHCO3) เป็นผงสีขาว มีรสเค็มเล็กน้อย และมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ บางก็เรียกว่าโซดาทำขนม เบกกิ้งโซดาไม่ใช่ผงฟู แต่เบกกิ้งโซดาเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในผงฟู หลายคนอาจสับสนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวเดียวกัน เบกกิ้งโซดาสำหรับใช้ทำขนมอบต่าง ๆ เพราะเมื่อเบกกิ้งโซดาทำปฏิกิริยากับน้ำหรือกรดอ่อนๆ ที่มาจากส่วนผสมอื่น ๆ ของอาหาร เช่น แป้งทำขนม, ช็อคโกแลต, น้ำตาล ซึ่งมีความเป็นกรดก็จะทำปฏิกิริยากัน ให้ฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นมา ทำให้เนื้อขนมขยายขนาดหรือฟูขึ้นนั่นเอง

เบกกิ้งโซดามีวันหมดอายุมั้ย เช็คอย่างไร ?

จากข้อมูลที่เราได้รวบรวมมาพบว่า เบกกิ้งโซดาที่เปิดใช้แล้วจะมีอายุประมาณ 6 เดือน ในขณะที่ เบกกิ้งโซดาที่ไม่เคยเปิดใช้งานเลยจะมีอายุประมาณ 2 ปี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำขนมเช่นกัน เพราะถ้าหากเบกกิ้งโซดาเก่าเกิน ประสิทธิภาพจะไม่ดีเวลาที่ใส่ลงไปในขนม เพราะทำให้ขนมอาจจะไม่ฟู ไม่ขยายเท่าที่ควรหรือไม่ก็ทำขนมมีรสชาติแปลกๆ 👉 วิธีการเช็คคือ ให้ใส่น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะลงไปในถ้วยเล็ก ๆ จากนั้นค่อยๆโรยเบกกิ้งโซดา ประมาณ 1/4 ช้อนชา ถ้าเกิดฟองฟู่แปลว่าเบกกิ้งโซดายังมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าไม่เกิดฟองหรือเกิดฟองน้อยมาก หมายถึงประสิทธิภาพของเบกกิ้งโซดาจะน้อย พอใส่เพิ่มลงไปขนม ขนมอาจจะไม่ขึ้นฟูเลยก็ได้ค่ะ  

ข้อควรระวังในการใช้เบกกิ้งโซดา

แต่สิ่งที่ผู้ใช้ต้องระวังก็คือ ควรใส่เบกกิ้งโซดาแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อให้ผงชนิดนี้เข้าไปทำปฏิกิริยากับส่วนผสมอื่นๆ เพียงเท่านั้น หากใส่มากจนเกินไปจะทำให้มีรสชาติของสารเคมี ขนมดูไม่อร่อย หรือหากนำผงเบกกิ้งโซดาไปใช้ล้างสารเคมีในผัก และผลไม้ก็ไม่ควรใช้เยอะจนเกินไป เพราะผงจะเข้าไปกัดผิวของผัก และผลไม้ และแทรกซึมลงไปในเนื้อ เมื่อนำมาปรุงอาหาร หรือรับประทานเปล่าก็จะมีรสชาติที่ไม่อร่อย อีกทั้งอาจสะสมในร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัว

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

SGE-Bakingsoda

เบกกิ้งโซดา VS ผงฟู ต่างกันอย่างไร ใช้แทนกันได้ไหม?

สายทำขนม คงจะสงสัยกันว่า เบกกิ้งโซดา กับ ผงฟู นั้นมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันหรือเปล่า เนื่องจากหลายคนคงจะเคยได้ยินกันว่า ในการทำขนมเบเกอรี่ต้องใช้เบกกิ้งโซดา แต่ในขณะที่บางคนกลับพูดว่าใช้ผงฟูทำแทนได้เหมือนกัน ทำเอาสับสนกันใหญ่ เพราะฉะนั้นวันนี้เราไปไขคำตอบกันค่ะ ว่ามันมีหน้าที่อะไรบ้าง

เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) คือโซเดียมไบคาบอเนต ที่มีรูปร่างหน้าตาธรรมชาติเป็นแบบผลึกคริสตัล แต่ที่เราเห็นทั่วไปตามท้องตลาดมักจะเป็นผงสีขาวๆ รสชาดออกเค็มอ่อนๆเป็น Alkali คือมีสถานะค่า pH มากกว่า 7 ขึ้นไปและสามารถละลายน้ำได้ในขณะที่ ผงฟู (Baking Powder) เกิดจากการผสมผสานระหว่างเบกกิ้งโซดา ครีมออฟทาร์ทาร์ และแป้งข้าวโพด ซึ่งเป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟูใช้ในการอบและดับกลิ่น 

ความเหมือนของเบคกิ้งโซดา และผงฟู คือเป็นวัตถุที่ใช้ในการทำอาหารทั้งคู่ อาหารที่ทำเสร็จแล้วจะมีความฟู ดูมีปริมาณมากขึ้น หรือจะพูดภาษาเชฟก็คืออาหารนั้นจะมี  texture หรือเนื้อสัมผัสเยอะขึ้นนั่นเอง นิยมใช้กันมากในการทำขนมประเภทเบเกอรี่ เช่น ขนมเค้ก เป็นต้น ทีนี้เราก็มาดูความแตกต่างระหว่างผงฟูและเบกกิ้งโซดากันบ้าง

จากเพจ Wow Pam นักทำขนมหวาน ได้ให้ข้อมูลถึงเนื้อหานี้ว่า สามารถใช้ทดแทนกันได้ในการทำขนม แต่ในทางตรงกันข้าม ก็ต้องระวังการใช้เพราะไม่สามารถทดแทนกันได้เต็มรูปแบบ หากใส่ทดแทนกันมากเกินไปก็อาจจะทำให้รสชาติขนมเฝือนได้ ทำให้ขนมไม่อร่อยนั่นเอง โดยคุณแพมได้แนะนำอัตราส่วนปริมาณ เบกกิ้งโซดา ¼ ช้อนชาต่อปริมาณแป้งในสูตร 130 กรัมหรือ 1 ถ้วย ในการทำขนมให้รสชาติไม่เฝือน อร่อย ฟูสวยงาม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
SGE-Bakingsoda

เบกกิ้งโซดา มีประโยชน์ในด้านไหนอีกบ้าง?

1. ช่วยทำให้ฟันขาวสะอาดแบบธรรมชาติ โดยการแปรงฟันด้วยเบกกิ้งโซดา และน้ำเปล่าเล็กน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง วิธีนี้ทำให้เราไม่ต้องเสียเงินมากมายไปทำ Teeth Whitening หรือการเคลือบสีฟัน

2. ขจัดคราบไหม้บนเตารีด ใช้หน้าเตารีดที่เพิ่งรีดเสร็จอุ่นๆนาบกับผ้าขนหนูที่ชุบด้วยน้ำส้มสายชูประมาณ 5 นาที จากนั้นโรยหน้าเตารีดด้วยเบกกิ้งโซดาประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้ผ้าขนหนูผืนเดียวกันค่อยๆขัดดูเบาๆจนสะอาด

3. แก้ปัญหาท่อน้ำอุดตัน เริ่มจากเทน้ำร้อนลงไปก่อน ตามด้วยเบกกิ้งโซดาประมาณ 1/2 ถ้วยตวง จากนั้นให้ผสมน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยตวงตามลงไป ระหว่างนี้อาจจะมีฟองฟู่ออกมา ฉะนั้นค่อยๆเทนะคะจนฟองค่อยๆหายไป สุดท้ายเทน้ำร้อนราดลงไปอีกรอบ 

4. ล้างคราบดำในยาแนว แค่โรยเบกกิ้งโซดาบริเวณร่องยาแนว จากนั้นฉีดน้ำส้มสายชูทับอีกที ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที เสร็จแล้วก็ใช้แปรงเล็ก ๆหรือแปรงฟันขัด โดยไม่ต้องออกแรงเยอะเลยค่ะ แค่นี้ก็ประหยัดแรงในการล้างคราบดำในยาแนวได้แล้ว

5. ใช้ทำสครับขัดผิวหน้า ด้วยความที่เนื้อของเบกกิ้งโซดาเป็นเกล็ดละเอียด ๆ มันจึงสามารถนำมาใช้เป็นสครับได้เช่นกัน ใช้เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา ผสมกับผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่คุณใช้ แล้วนำมาขัดนวดไปหน้าเบา ๆ หรือจะใช้เบกกิ้งโซดาผสมน้ำอุ่น ในอัตราส่วน 1:3 แล้วผสมเข้ากับแป้งข้าวโอ๊ต เพื่อการทำความสะอาด และบำรุงผิวให้นุ่มไปพร้อม ๆ กันก็ได้ รับรองเลยว่าผิวจะใสสะอาดขึ้นเยอะเลย

6. ช่วยมาส์กผิวสำหรับคนเป็นสิว อีกเคล็ดลับที่น่าลองคือ การใช้เบกกิ้งโซดารักษาผิวที่เป็นสิว โดยหลังจากล้างหน้าสะอาดแล้ว ให้พอกหน้าทิ้งไว้ 5-10 นาทีด้วยส่วนผสมของน้ำอุ่นเล็กน้อยที่ค่อย ๆ ผสมกับเบกกิ้งโซดา จนได้ส่วนผสมที่เริ่มข้น เมื่อครบตามเวลาแล้วล้างหน้าด้วยน้ำอุ่น จะช่วยให้รูขุมขนสะอาด และรู้สึกเบาสบายผิวหน้าขึ้นมากค่ะ

7. กำจัดกลิ่นในเครื่องดูดฝุ่น นำเบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำเปล่าให้ได้เนื้อสครับเข้มข้นแล้วพักไว้ จากนั้นถอดเครื่องชิ้นส่วนกรองฝุ่นข้างในออกมา แล้วใช้เบกกิ้งโซดาขัดถูทำความสะอาด เบกกิ้งโซดาจะเข้าซอกซอนขจัดเศษขยะตกค้างตามซอกมุมต่าง ๆ จากนั้นนำถุงกรองมาทำความสะอาดแล้วตากให้แห้งก่อนนำไปใช้ซ้ำ

8. ซักผ้าขาวให้ขาวเหมือนใหม่ ให้นำผ้าขาวไปแช่ในน้ำอุ่น 4 ลิตร ที่ผสมเบกกิ้งโซดา 1 ถ้วยตวง นาน 8 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ซักทำความสะอาดตามปกติ แต่ถ้าคราบยังไม่หายไปหรือมีคราบหนักที่กำจัดยาก แนะนำให้ใช้เบกกิ้งโซดาซักผ้าซ้ำอีกครั้งตามขั้นตอนเดิม


เป็นอย่างไรกันบ้าง SGE หวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ดี ๆ จากเรานะคะ สำหรับใครที่กำลังสับสนว่าเบกกิ้งโซดามีประโยชน์อย่างไร เห็นไหมคะ ว่าเบกกิ้งโซดาไม่ได้มีประโยชน์แค่ทำขนมให้อร่อย แต่ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีกด้วย 👉 สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่

28 December 2020

โดย

admin

ความคิดเห็น (Comments)