สารกันบูด อันตรายจริงหรือไม่?

สารกันบูด คือ วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ถนอมอาหาร และยืดอายุในการเก็บรักษา ซึ่งหากรับประทานอาหารที่ในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย หรือหมดสติได้ ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวัง ในการเลือกรับประทานอาหารแปรรูปมากเป็นพิเศษ เพราะอาจมีสารกันบูดเจือปนอยู่ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้


สารกันบูดคืออะไร
?

สารกันบูดเป็นสารเคมีที่ถูกนำไปใส่ลงในอาหาร เพื่อคงคุณภาพของอาหารไม่ให้เน่าเสียหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของกลิ่น สี และรสชาติ ซึ่งสารจะออกฤทธิ์โดยการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น รา ยีสต์ หรือแบคทีเรีย เป็นต้น

201028-Content สารกันบูด-02


ดังนั้น “สารกันบูด” หรือบางคนเรียกว่า “วัตถุกันเสีย” เป็นสารเคมีที่มีส่วนช่วย ในถนอมอาหาร ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา โดยจะช่วยชะลอ หรือยับยั้งการเจริญเติบโต เเละทำลายจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสียนั่นเอง

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


ตัวอย่างสารกันบูดที่ถูกนำมาใช้ในอาหารมีอะไรบ้าง
?

  • กลุ่มกรดอ่อนและเกลือของกรดอ่อน

นิยมใช้กันมากในสินค้าอุตสาหกรรม เพราะมีความเป็นพิษน้อย มีประสิทธิภาพ และละลายน้ำได้ดี ได้รับอนุญาตให้ใส่ในอาหารหลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง น้ำหวาน และน้ำอัดลม เป็นต้น

201028-Content สารกันบูด-03


โดยสารกันบูดกลุ่มกรดอ่อนและเกลือของกรดอ่อนมีข้อดี คือ มีความเป็นพิษต่ำ เมื่อบริโภคเข้าไปจะเปลี่ยนแปลงเป็นสารชนิดอื่นที่ไม่มีพิษและถูกขับถ่ายออกจากร่างกายได้

  • กลุ่มซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์

มีประสิทธิภาพสูงคล้ายสารกันบูดกลุ่มแรก อนุญาตให้ใช้ในไวน์ เครื่องดื่ม น้ำตาลทราย วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ชนิดแห้งและแช่อิ่ม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

201028-Content สารกันบูด-05


ซึ่งสารกันบูดกลุ่มซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีข้อดี คือ สามารถถูกขับออกจากร่างกายได้ แต่หากได้รับสารเหล่านี้ในปริมาณมาก สารกลุ่มนี้จะลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย และทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น สารไธอามีน และวิตามินบี 1 เป็นต้น

  • กลุ่มไนเตรตและไนไตรท์

เป็นสารตรึงสี หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อดินประสิว อนุญาตให้ใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมักที่ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋อง และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น แฮม ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง และเบคอน เป็นต้น

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

201028-Content สารกันบูด-06


ซึ่งหากได้รับสารกันบูดกลุ่มไนเตรต และไนไตรท์ในปริมาณที่ไม่เกินค่าที่กำหนด อาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ กับผู้ใหญ่ และเด็ก ที่ร่างกายสามารถขับสารออกมาได้ตามปกติ แต่อาจเป็นอันตราย กับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะร่างกายของทารก อาจไม่สามารถขับสารเหล่านี้ออกจากร่างกายได้

  • กลุ่มอื่น ๆ

เช่น สารพาราเบนส์ ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งหรือทำลายเชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรีย หรือสารปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพทำลาย หรือยับยั้งจุลินทรีย์ เป็นต้น

นิยมใช้กับอาหารประเภท เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ เยลลี่ ขนมหวานต่างๆ เเละสารปรุงเเต่งกลิ่นเเละรส

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

201028-Content สารกันบูด-04


สารกันบูดอันตรายหรือไม่
?

แม้ผู้บริโภคอาจมั่นใจได้ว่า สารกันบูดแต่ละชนิดที่อนุญาตให้ใช้ในประเทศไทย มีความปลอดภัย และผ่านการตรวจสอบมาในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตอาหารแปรรูปบางราย อาจใส่สารกันบูด ในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมกับชนิดอาหาร ตามข้อกำหนด จนอาจส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารกันบูด แต่การบริโภคอาหารที่มีสารกันบูดติดต่อกันเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายขับสารเหล่านั้นออกมาไม่ทัน จนกลายเป็นสารพิษตกค้างสะสมที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมาได้

โดยอาการเจ็บป่วย ที่อาจเกิดจากการบริโภคอาหาร ที่เจือปนสารกันบูดในปริมาณมาก มีดังนี้

  • วิงเวียนหรือปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
  • ท้องเสีย
  • เป็นโรคที่เกิดจากอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
  • กลไกการดูดซึมสาร หรือการใช้สารอาหารในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป
  • มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต
  • เป็นภาวะเมทฮีโมโกลบินนีเมีย (Methemoglobinemia) ที่อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ หายใจไม่ออก ตัวเขียว เป็นลม และหมดสติ ซึ่งอันตรายมากหากเกิดในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะซีด หรือผู้ที่เป็นโรคเลือด

ส่วนการรับประทานอาหาร ที่มีสารกันบูดในปริมาณน้อย แต่บริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจก่อให้เกิดพิษสะสมในร่างกายอย่างเรื้อรัง ซึ่งสารบางชนิดอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้


วิธีหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีสารกันบูด

เพื่อป้องกันการสะสมสารกันบูดในร่างกาย ในปริมาณมากจนทำให้เกิดอันตราย ผู้บริโภคอาจหลีกเลี่ยง การรับประทานอาหารที่เจือปนสารกันบูด ได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ และไม่ผ่านการแปรรูป หรืออาจเลือกซื้ออาหารสด มาปรุงอาหารรับประทานเอง
  • เลือกซื้ออาหารที่มีฉลากบรรจุภัณฑ์ ระบุรายละเอียดต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น สถานที่ผลิต วันผลิต วันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายและเลขสารบบอาหารของ อย. เป็นต้น
  • เลือกผลิตภัณฑ์ อาหารออแกนิค โดยเฉพาะอาหารที่มีการรับรองว่า ปลอดสารกันบูด หรือเลือกซื้ออาหาร ที่ใช้สารกันบูดที่ไม่เป็นอันตราย
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารประเภทเดิมซ้ำ ๆ และรับประทานอาหารอย่างหลากหลาย เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่มีสีสดเกินไป เพราะอาจเจือปนสารตรึงสี ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้

ขอบคุณข้อมูล : เว็บไซต์พบแพทย์