ไขข้อสงสัย หญ้าหวาน ต้านโรค ทดแทนน้ำตาลได้จริงหรือ?

หญ้าหวาน (Stevia)

พืชล้มลุกระยะยาว มีลักษณะคล้ายต้นกะเพรา หรือต้นแมงลัก ลำต้นกลมและแข็ง มีใบเดี่ยวรูปหอก ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบให้สารที่มีรสหวาน และมีช่อดอกสีขาว เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ มักนำมาให้ความหวานแทนน้ำตาล เนื่องจากมีรสชาติหวานกว่าน้ำตาล 100 – 300 เท่า ปราศจากสารปรุงแต่งและแคลอรี่ โดย องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา จัดให้สารสกัดหญ้าหวาน เป็นสารเคมีที่ปลอดภัยต่อการบริโภค

ทั้งนี้ หญ้าหวานมีสรรพคุณช่วยรักษาปัญหาสุขภาพ ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคอ้วน และโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เพราะช่วยลดไขมันในร่างกายและในเส้นเลือด

201126-Content-หญ้าหวาน-ต้านโรค-ทดแทนน้ำตาลได้จริงหรือ-02


ประโยชน์ของหญ้าหวาน ข้อดี และข้อเสีย

หญ้าหวานนั้นไม่มีแคลอรี่ หรือถ้ามีก็อยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ในขณะที่น้ำตาลเพียง 2 ช้อนชา จะให้พลังงานถึง 30 แคลอรี่ และคาร์โบไฮเดรต 8 กรัม จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านต่างๆ อีกมากมาย

✔ ลดน้ำตาลในเลือด ด้วยคุณสมบัติที่ปราศจากพลังงาน จึงทำให้ร่างกายสามารถขับสารที่ได้จากหญ้าหวานออกมาได้ทันที 
มีผลการทดลองพบว่า หญ้าหวาน อาจช่วยเพิ่มการผลิตอินซูลิน และกระตุ้นการทำงานของอินซูลินให้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือด อย่างผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่รักสุขภาพ

✔ ลดความเสี่ยงต่อหลาย ๆ โรค หญ้าหวานสามารถช่วยลดไขมันในเลือด และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง

✔ บำรุงตับ และบำรุงกำลัง โดยใช้ทดแทนเกลือแร่ในผู้ที่มี ภาวะขาดน้ำ ทำให้ไม่เกิดอาการอ่อนเพลีย

✔ ช่วยเพิ่มความหวานให้อาหาร ไม่ต้องใช้น้ำตาล หรือใช้น้ำตาลน้อยลง แต่ยังมีความหวานเท่าเดิม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

201126-Content-หญ้าหวาน-ต้านโรค-ทดแทนน้ำตาลได้จริงหรือ-03


✔ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
 เช่น นำใบหญ้าหวานมาอบแห้ง แล้วใช้ทั้งใบ หรือนำมาบดสำหรับใช้ชงชา หรือนำใบมาอบแห้งบดใช้แทนน้ำตาล เหมาะสำหรับใส่ในน้ำอัดลม ชาเขียว ขนม แยม ไอศกรีม หมากฝรั่ง หรือซอสปรุงรส

✔ สามารถทนความร้อนได้ดี เมื่อนำมาใช้กับอาหารจึงไม่เน่าเสียง่าย และแม้จะผ่านความร้อนนานๆ ก็ไม่ทำให้อาหารเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

✔ ใช้แทนน้ำตาลในยาสีฟัน นอกเหนือจากการใช้ในอาหาร ปัจจุบันยังมีการนำสารสตีวิโอไซด์ที่สกัดจากหญ้าหวานไปใช้เป็นส่วนผสมในยาสีฟันแทนน้ำตาลด้วย

 ❝ ดังนั้น การเลือกบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียมนั้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยในการลดปริมาณการบริโภคน้ำตาลลงได้ โดยน้ำตาลเทียมแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ควรทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ❞

✔ข้อดี สามารถทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส โดยไม่สลายตัว จึงใช้ใส่ในเครื่องดื่ม หรือใช้ปรุงอาหารที่ต้องผ่านความร้อนได้ดี ซึ่งคนญี่ปุ่นและเกาหลีใช้กันมานานทั้งในการหมักเนื้อ หมักปลา หมักผักดอง เครื่องดื่ม รวมไปถึงยาสีฟัน 

✘ข้อเสีย ในบางการวิจัยพบว่า การบริโภคหญ้าหวานในปริมาณมากจะทำให้จำนวนสเปิร์มลดลง และอาจทำให้เป็นมะเร็งได้ จนมีองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) สั่งห้ามใช้เป็นสารปรุงแต่งในอาหาร ต่อมาได้มีการทดลองค้นคว้าถึงข้อเสียและพิษของหญ้าหวานซ้ำหลายครั้ง จึงพบว่าไม่มีพิษ หรืออาจมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น องค์การอนามัยโลกจึงประกาศว่าการใช้พืชชนิดนี้ไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

กินหญ้าหวานอย่างไรให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ

ผู้ที่ต้องการรับประทานหญ้าหวานหรือสารสกัดจากหญ้าหวานโดยหวังผลทางยาในด้านต่าง ๆ พึงคำนึงถึงภาวะสุขภาพของตนเองและความปลอดภัยในการใช้เป็นสำคัญ ดังนี้

201126-Content-หญ้าหวาน-ต้านโรค-ทดแทนน้ำตาลได้จริงหรือ-04


สตรีมีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร ควรเลี่ยงบริโภคหญ้าหวาน เนื่องจากยังไม่ปรากฏข้อมูลเพียงพอที่จะยืนยันความปลอดภัยในการใช้หญ้าหวานระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร

เลี่ยงบริโภคหญ้าหวานในกรณีที่แพ้พืชตระกูลเดียวกับหญ้าหวาน เช่น ดอกเบญจมาศ ดาวเรือง เป็นต้น เนื่องจากผู้ที่แพ้พืชเหล่านี้อาจเสี่ยงมีอาการแพ้หญ้าหวานได้เช่นกัน

ผู้ป่วยเบาหวาน ที่รับประทานหญ้าหวานควรหมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการผิดปกติใด ๆ เนื่องจากหญ้าหวานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากหญ้าหวานอาจทำให้ระดับ น้ำตาลในเลือดต่ำ เกินไปได้

ผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานหญ้าหวานหรือผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากหญ้าหวาน เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตลดต่ำจนเกินไป

ผู้บริโภคหญ้าหวานบางรายอาจเกิดอาการ ท้องอืด คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือชาตามร่างกายได้ มีข้อกังวลว่าหญ้าหวานดิบอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อไต ระบบสืบพันธุ์ ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงทำปฏิกิริยากับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำเกินไป ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของหญ้าหวานและน้ำตาลแอลกอฮอล์อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารในผู้บริโภคบางรายได้ 


⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆ ⋆


ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องดื่ม ออกสู่ท้องตลาดมากมาย ตั้งแต่น้ำจิ้มไก่ ชา เครื่องดื่มสมุนไพร นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ที่ชูจุดขายหวานน้อย ไม่ใส่น้ำตาล แต่มีหญ้าหวานแทน เป็นทางเลือกผู้บริโภค

สรุปได้ว่า . . . หญ้าหวาน ก็ยังดีกว่าน้ำตาล แต่ “อย่ากินเยอะ” เพราะสุดท้ายเป็นการส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน!