ชวนปลูก เฟิร์นข้าหลวง ต้นไม้มงคล เลี้ยงง่าย แถมช่วยฟอกอากาศ!

3,430 Views

คัดลอกลิงก์

ชวนปลูกเฟิร์นข้าหลวง ต้นไม้มงคล เลี้ยงง่าย แถมช่วยฟอกอากาศ!

ใครกำลังมองหาต้นไม้ดี ๆ สักต้นไว้ตกแต่งสวน เราขอแนะนำ เฟิร์นข้าหลวง ไม้ประดับเลี้ยงง่าย ไม่ต้องดูแลเยอะ คนมือร้อนก็สามารถปลูกได้ ต้นโตเต็มที่ออกใบสวย เป็นไม้มงคลความหมายดี ปลูกบริเวณบ้านช่วยฟอกอากาศให้สดชื่น

ทำความรู้จัก เฟิร์นข้าหลวง ก่อนปลูก

ทำความรู้จัก เฟิร์นข้าหลวง ก่อนปลูก

ชื่อพื้นเมือง : เฟิร์นข้าหลวง, ข้าหลวงหลังลาย,

ชื่อภาษาอังกฤษ : Bird’s Nest Fern

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Asplenium nidus L.

ชื่อวงศ์ : Aspleniaceae

ประเภท : ไม้กาฝาก เฟิร์นอิงอาศัยที่สามารถเติบโตบนดินได้

ถิ่นกำเนิด : มีต้นกำเนิดอยู่ในพื้นที่แถบอากาศร้อน และอบอุ่น เช่น เอเซีย ออสเตรเลีย

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นข้าหลวงเป็นเฟิร์นอากาศ เกิดและโตโดยอิงอาศัยต้นไม้หรือซอกหินผา ใบยาวรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมคล้ายหอก ใบมีลักษณะหนาและแข็งเป็นมัน เมื่อใบแก่จะกลายเป็นสีดำ การเรียงตัวของใบจะเวียนรอบลำต้นทำให้ดูคล้ายตระกร้า กลุ่มของอับสปอร์ออกเป็นลายยาวขวางกับใบ เมื่อแก่จัดจะเป็นสีน้ำตาลดำ ซึ่งลักษณะของสปอร์นี้เองที่เป็นที่มาของชื่อ “ข้าหลวงหลังลาย”

ประโยชน์ : ปลูกเพื่อความเชื่อ ปลูกเพื่อใช้ประดับตกแต่งสวนและอาคาร รวมถึงปลูกเพื่อช่วยฟอกอากาศก็ได้เช่นกัน

การดูแล : ปลูกต้นเฟิร์นข้าหลวงไว้ในบริเวณที่ที่มีร่มเงาและมีแสงแดดร่ำไร และรดน้ำให้สม่ำเสมอ เพราะต้นไม้ชนิดนี้ชอบความชื้นสูง หากเป็นไปได้ให้ใส่ปุ๋ยคอกเดือนละครั้ง และหากพบใบที่เน่าหรือตาย ให้รีบตัดส่วนเสียออกทันที

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

เฟิร์นข้าหลวง กับความเชื่อของคนไทย

เฟิร์นข้าหลวง กับความเชื่อของคนไทย

ความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับเฟิร์นข้าหลวง ถือว่าเป็นไม้มงคลที่ช่วยส่งเสริมเรื่องชื่อเสียง บารมี มักนิยมปลูกไว้ในบ้านเพื่อเสริมความภูมิฐาน เกียรติยศให้ครอบครัว และยังเปรียบได้ว่าเป็นตัวแทนแห่งความซื่อสัตย์ ยุติธรรม คอยเตือนสติให้ผู้ปลูกทำแต่ความดี และยังเป็นการเตือนใจด้วยว่า ถึงแม้จะเป็นข้าหลวง เมื่อทำผิดก็หลังลายได้เช่นกัน

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีปลูกและขยายพันธุ์ต้นเฟิร์นข้าหลวง

วิธีปลูกและขยายพันธุ์ต้น เฟิร์นข้าหลวง

วิธีการเพาะเฟิร์นข้าหลวงด้วยสปอร์

  1. เลือกต้นเฟิร์นข้าหลวงที่มีสปอร์ติดอยู่ที่หลังใบ โดยส่วนมากจะมีสปอร์กับต้นแก่อายุ 7-10 ปี
  2. ใช้ใบไม้หรือกิ่งไม้ ขูดเอาสปอร์ที่หลังใบออก เราจะได้สปอร์เป็นขุย ๆ ออกมา จากนั้นให้เอาสปอร์ที่ขูดได้ใส่ลงไปภาชนะมีฝาปิดที่มีก้อนถ่านรองพื้นไว้
  3. จากนั้นให้เอาภาชนะเหล่านั้นไปวางไว้บนกระถางต้นไม้อื่น ๆ ให้โดนแสงแดดรำไร โดยไม่ต้องปิดฝาให้สนิท
  4. รดน้ำต้นไม้อื่น ๆ ตามปกติ และรอสปอร์เติบโตเป็นต้นอ่อน

วิธีนี้เป็นวิธีเพาะที่ง่ายและไม่ต้องใช้ขั้นตอนเยอะ แม้ต้นอ่อนที่เกิดอาจจะไม่ได้มีจำนวนเยอะ แต่รับรองว่าต้นอ่อนแข็งแรงทุกต้นแน่นอน

วัสดุปลูก

  1. ต้นอ่อนเฟิร์นข้าหลวง
  2. กาบมะพร้าวแช่น้ำจนนิ่มตัดเป็อนท่อน
  3. ขุยมะพร้าวแช่น้ำ
  4. กระถางเล็ก (สำหรับปลูกต้นกระบองเพชร)

วิธีปลูกเฟิร์นข้าหลวงจากต้นอ่อน

  1. นำกาบมะพร้าวและขุยมะพร้าวไปแช่น้ำจนเปื่อยนิ่ม ยิ่งแช่ไว้หลายวันยิ่งดี
  2. จากนั้นให้ใช้ที่คีบ คีบเอาต้นอ่อนที่เพาะไว้ออกจากดิน จากนั้นใช้มีดกรีดกาบมะพร้าวที่แช่น้ำจนนิ่มแล้วให้เป็นร่อง แล้วยัดรากฝอยของต้นเฟิร์นลงไป แล้วจัดให้กาบมะพร้าวปิดรากสนิทดี
  3. ละมือไปเตรียมกระถางสำหรับปลูก โดยใส่ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำจนนิ่มแล้วรองพื้นไว้ แล้วใช้นิ้วกดให้เป็นรูตรงกลาง ยัดกาบมะพร้าวที่ใส่ต้นอ่อนไว้แล้วลงไป ถมหน้าด้วยขุยมะพร้าวให้แน่นดีอีกครั้ง เป็นอันเสร็จ

เป็นอย่างไรบ้างคะกับต้นเฟิร์นข้าหลวง หรือ ข้าหลวงหลังลาย ที่เอามาฝากกัน ต้นไม้ชนิดนี้เลี้ยงง่าย ชอบอยู่ในที่รำไร อาจจะต้องรดน้ำให้มีความชุ่มชื่นอยู่ตลอด แต่รับรองว่าต้นเฟิร์นข้าหลวงจะออกใบเขียวสด สมกับความพยายามของผู้ปลูกแน่นอนค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง : chiangmaigardens, supalai, ดาว บ้านนา, Tangmo WOW

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

จันทร์เจ้า

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด