รู้จักกับ ลูกยอ ประโยชน์เยอะ มีสรรพคุณต้านโรค ที่หลายคนอาจไม่รู้!

เมื่อพูดถึง ยอ หรือ ลูกยอ คงมีทั้งคนที่รู้จัก และไม่รู้จักอย่างแน่นอน บทความนี้ SGE จะพาไปรู้จักกับ ลูกยอ สรรพคุณ ประโยชน์ เป็นอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

รู้จักกับ ลูกยอ คือ?

ยอ (Morinda citrifolia) ผลไม้เขตร้อน เป็นพืชพื้นเมือง ในแถบโพลีนีเซียตอนใต้ (Polynesia) และได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ในปัจจุบัน พืชชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ในประเทศไทย รู้จักกันในชื่อ ลูกยอ หรือยอ, ในประเทศมาเลเซีย รู้จักกันในชื่อ  เมอกาดู (Mergadu), ในเอเชีย เรียกว่า นเฮา (Nhau), แถบหมู่เกาะตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกกันว่า โนนู และในเกาะซามัว ทองกา ราราทองกา ตาฮิติ เรียกกันว่า โนโน หรือว่า โนนิ

ลักษณะทั่วไปของลูกยอ

  • ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-6 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ 5-10 เซนติเมตร ขึ้นกับอายุ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน เปลือกลำต้นบาง ติดกับเนื้อไม้ ผิวเปลือก ออกสีเหลืองนวลแกมขาว หยาบ และสากเล็กน้อย แตกกิ่งน้อย 3-5 กิ่ง ทำให้แลดูไม่เป็นทรงพุ่ม
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว (simple leaf) แทงออกตรงข้ามกันซ้ายขวา มีรูปทรงรี หรือขอบขนาน ใบกว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ใบอ่อนสีเขียวสด เมื่ออายุใบมาก จะมีสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร โคนใบ และปลายใบมีลักษณะแหลม ขอบใบ และผิวใบเป็นคลื่น ผิวใบมันเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ด้านบนใบ มักพบเป็นตุ่มที่เกิดจากแบคทีเรีย
  • ดอก ออกเป็นช่อกลมเดี่ยว ๆ สีขาว รูปทรงเหมือนหลอด ดอกแทงออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ไม่มีก้านดอกย่อย จัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย กลีบรองดอก และโคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบดอกมีสีขาว เป็นรูปท่อ ยาวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร ผิวดอกด้านนอกเรียบ ด้านในมีขน ดอกส่วนครึ่งปลายบนแยกเป็น 4-5 แฉก ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย ยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร แยกเป็น 2 แฉก อับเรณูยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร
  • ผล ผลเป็นชนิดผลรวม (multiple fruit) เช่นเดียวกับน้อยหน่า และขนุน เชื่อมติดกันเป็นผลใหญ่ดังที่เราเรียกผลหรือหมาก ขนาดผลกว้างประมาณ 3-5 ซม. ยาว 3-10 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นตุ่มพอง ผลอ่อน จะมีสีเขียวสด เมื่อแก่ จะมีสีเหลืองอมเขียว และเมื่อสุก จะมีสีเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีขาวจนเน่าตามอายุผล เมล็ดในผล มีจำนวนมาก มีลักษณะแบน ด้านในเมล็ด เป็นถุงอากาศ ทำให้ลอยน้ำได้ ผิวเมล็ดมีสีนํ้าตาลเข้ม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ลูกยอ สรรพคุณ และประโยชน์ มีอะไรบ้าง?

ลูกยอนั้น มีประโยชน์ ทางด้านคุณค่าของอาหารมากมาย ยกตัวอย่างได้ ดังนี้

  1. ลูกยอเป็นแหล่งของแคลเซียม และยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง
  2. ช่วยในการชะลอวัย และความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณ หนังศีรษะ และส้นผม
  4. น้ำลูกยอ ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้
  5. น้ำสกัดจากใบยอ มีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน
  6. น้ำสกัดจากลำต้นยอ, น้ำสกัดจากใบยอ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  7. ลูกยอ, ใบยอ ช่วยแก้วัณโรค ด้วยการใช้ผล หรือใบทำเป็นยาพอก
  8. ช่วยแก้อาการ คลื่นไส้ อาเจียนได้
  9. ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยลดอาการท้องผูกได้
  10. ในทางการแพทย์สมัยใหม่ จะใช้ลูกยอ ช่วยบำบัด และรักษาโรคมะเร็ง

ลูกยอ สรรพคุณ จัดเป็นยาสมุนไพร ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในเรื่องการช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และถูกบรรจุอยู่ในยาสมุนไพร ในงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยลูกยอสุก เป็นยาชั้นเลิศ ในการช่วยขับลม และช่วยย่อยอาหาร แต่สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานผลยอ เพราะจะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียนของเลือดในครรภ์ และอาจทำให้แท้งบุตรได้

ประโยชน์ของลูกยอ

  • ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือ หรือกะปิ
  • ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ
  • ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก เวลากินห่อหมก ควรกินใบยอด้วย เพราะมีวิตามินสูง
  • นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า โดยราก นำมาใช้ย้อมสีให้สีแดง และสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือก จะให้สีแดง เนื้อเปลือก จะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก
  • ปัจจุบัน มีการนำลูกไปแปรรูป โดยคั้นเป็นน้ำลูกยอ
  • รากยอ มีการนำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุ สีเหลือง
  • ใบสด มีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม
  • ลูกยอสุก มีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารหมู
  • มีการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาสัตว์ ในการแพทย์ทางเลือกสมัยใหม่

ข้อควรระวังในการทานลูกยอ

  1. สารโปรซีโรนีน ที่พบในน้ำลูกยอ ต้องการน้ำย่อย เปปซิน (Pepsin) และสภาพความเป็นกรดในกระเพาะ เพื่อเปลี่ยนเป็นซีโรนิน ดังนั้น หากรับประทานน้ำลูกยอขณะที่ท้องอิ่มแล้ว จะทำให้มีผลทาเภสัชของสารซีโรนินน้อยลง
  2. คุณค่า และสรรพคุณน้ำลูกยอ จะลดลง เมื่อรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์
  3. การบด หรือการสกัดน้ำลูกยอ ไม่ควรทำให้เมล็ดยอแตก เพราะสารในเมล็ดยอ มีฤทธิ์เป็นยาระบาย อาจทำให้ถ่ายบ่อยได้
  4. ผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรดื่มน้ำลูกยอ เพราะมีเกลือ โปแตสเซียมสูง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
  5. สตรีมีครรภ์ ไม่ควรบริโภคลูกยอ เพราะผลยอมีฤทธิ์ขับโลหิต อาจทำให้แท้งบุตรได้

การขยายพันธุ์

การปลูกลูกยอ นิยมปลูกด้วยการเพาะเมล็ด แต่สามารถขายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นได้เช่นกัน เช่น การปักชำ การตอนกิ่ง แต่การเพาะเมล็ด จะให้ผลที่ดีกว่า และอัตราการรอดจะสูงกว่าวิธีอื่น โดยการเพาะเมล็ด จะใช้วิธีการบีบแยกเมล็ดออกจากผลสุก แล้วล้างด้วยน้ำ และกรองเมล็ดออก ผลที่ใช้ต้องเป็นผลสุกจัด ที่ร่วงจากต้นที่มีสีขาว เนื้อผลอ่อนนิ่ม ซึ่งจะได้เมล็ดที่มีสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม  เมล็ดที่ได้ต้องนำไปตากแห้ง 3-5 วันก่อน  และนำมาเพาะในถุงเพาะชำ ให้มีต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ก่อนนำลงปลูก ต้นยอ เป็นพันธุ์ไม้ที่ดูแลง่าย ไม่ค่อยมีแมลงศัตรูพืช หรือโรคพืชมาก และยังเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพดินเค็ม และสภาวะแห้งแล้งอีกด้วย จึงทำให้มีการแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก : disthai.com, medthai.com

ลำดวน: ดอกไม้ที่สดใส กับหัวใจที่เบิกบาน