วิธีปลูกมะยงชิด ผลไม้ฤดูร้อน พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ ปลูกเองได้ไม่ยาก

มะยงชิด ผลไม้ที่ใครหลาย ๆ คนต้องรู้จัก และชอบทานกันอย่างแน่นอน ผลสีเหลืองอมส้ม ขนาดใหญ่เท่าไข่ไก่ รสชาติหวาน อมเปรี้ยวนิด ๆ ทานได้ทุกวัย เป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มาราคาค่อนข้างสูง ทำให้หลาย ๆ คนมักซื้อไปเป็นของฝากให้แก่ผู้ใหญ่ที่เคารพกัน สำหรับใครที่อยากจะ มีต้นมะยงชิดไว้ที่บ้าน เพื่อรอผลเก็บไว้ทานเอง ในบทความนี้ SGE จะมาแชร์ วิธีปลูกมะยงชิด ที่บอกเลยว่า ปลูกไว้ดีแน่นอน เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ได้มากมายเลยทีเดียว

ลักษณะของต้นมะยงชิด

มะยงชิด ผลไม้ตระกูลเดียวกับ มะปรางหวาน เป็นมะปรางอีกชนิดหนึ่ง มีทั้งผลขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่ แล้วแต่สายพันธุ์ ผลดิบ มีรสออกเปรี้ยว ๆ ผลสุก มีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย หรือบางพันธุ์ อาจมีรสหวานน้อย เปรี้ยวมากก็ได้เช่นกัน

  • ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ทรงทึบ มีกิ่งก้านสูง ลำต้นมีลักษณะกลม ๆ เป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มีสีเหลืองส้ม หรือสีเหลืองแดง มียางสีขาวทั่วลำต้น มีเปลือกต้นแข็งมีสีน้ำตาล
  • ราก เป็นระบบรากแก้ว ลักษณะกลม แทงลึกลงในดิน มีรากแขนง และรากฝอยขนาดเล็ก ๆ แทงกระจาย บริเวณรอบ ๆ ลำต้น มีสีน้ำตาล
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะทรงรี ใบใหญ่ยาวรีแหลม ผิวใบเรียบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ใบแก่มีสีเขียวเข้ม
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อ มีดอกเล็ก กลีบดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอม มีก้านดอกยาว ดอกจะออกตามปลายกิ่ง และแขนงกิ่ง
  • ผลมะยงชิด รูปทรงไข่กลมรี โคนมนปลายรี เปลือกเกลี้ยงเป็นมันหนากว่ามะปราง ผลใหญ่กว่ามะปราง ไม่มียาง ผลอ่อนมีสีเขียว มีรสชาติเปรี้ยวจัด ผลสุก สีเหลืองอมส้ม เนื้อสุก สีเหลืองอมแดง หรือมีสีส้มอมแดง ตามสายพันธุ์ มีเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม มีเมล็ดแข็งทรงรี สีขาวนวล หรือสีม่วงอมชมพู อยู่ข้างในเนื้อ
  • เมล็ด ลักษณะทรงรี อยู่ข้างในเนื้อ มีสีขาวนวล หรือสีม่วงอมชมพู ผิวเปลือกเมล็ดแข็ง มีเส้นใยหุ้มเมล็ดอยู่

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

การปลูกขยายพันธุ์มะยงชิด

มะยงชิด สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ดินร่วนปนทรายจะเติบโตได้ดี การปลูกทำได้หลายวิธี โดยใช้การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การติดตา

การปลูกโดยการเพาะเมล็ด แล้วทำการทาบกิ่ง เป็นวิธีที่นิยมมากกว่าวิธีอื่น นำกิ่งพันธุ์เพาะชำในถุงพลาสติก รดน้ำให้ชุ่ม วางไว้ในที่แดดร่ม ๆ แล้วต้นจะเริ่มงอกยาวเพิ่มขึ้น แล้วใช้เวลาเพาะประมาณ 1 ปี ให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่ แล้วจึงนำมาปลูกลงในแปลง

วิธีปลูกมะยงชิด

การปลูกมะยงชิต หรือมะปราง เพื่อการค้านั้น ควรเป็นแหล่งที่มีฤดูฝนสลับฤดูแล้งที่เด่นชัด เพราะช่วงแล้ง จะมีความสำคัญต่อการออกดอกของมะปราง และมะยงชิด จะช่วยทำให้ต้นมะยงชิด มีการพักตัวชั่วคราว ชะงักการเจริญเติบโตทางใบ และกิ่ง ถ้ามีอุณหภูมิต่ำ จะช่วยให้ออกดอกติดผลได้ดียิ่งขึ้น แหล่งปลูกมะยงชิดที่อาศัยน้ำฝนนั้น ควรเป็นแหล่งที่มีปริมาณน้ำฝนกระจายตัวตกต้องตามฤดูกาล ส่วนแหล่งที่มีปริมาณฝนตกน้อย ควรเลือกพื้นที่ปลูกมะปราง มะยงชิด ที่ใกล้แหล่งน้ำ หรือมีน้ำชลประทานเพียงพอ เพราะในระยะที่มะยงชิด มะปรางแทงช่อดอก และติดผลนั้น คือ พฤศจิกายน – มีนาคม จะเป็นช่วงที่มีปริมาณฝนตกน้อยมาก ซึ่งช่วงดังกล่าว มะปราง มะยงชิดจะต้องการน้ำ เพื่อการเจริญเติบโตของผล และถ้าขาดน้ำจะมีผลทำให้ผลมีขนาดเล็ก ผลร่วง และให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติได้

  1. ระยะปลูกมะยงชิดแต่ละต้น ควรห่างกัน 4 x 4 เมตรอย่างน้อย ขุดหลุมลึก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร
  2. ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ มีหน้าดินลึก เพื่อให้รากมะยงชิตหาอาหารได้เต็มที่ และควรมีความเป็นกรด เป็นด่างของดิน อยู่ระหว่าง 5.5 -7.5
  3. เตรียมปุ๋ยคอก ผสมให้เข้ากันกับดินที่ขุดในหลุม
  4. นำกิ่งพันธุ์ลงปลูก โดยแกะถุงพลาสติกออก ระวังอย่างให้ดินในถุงแตก กลบดินเท่ากับ รอยดินในถุงเดิม กลบดินพอหลวม ๆ ปักไม้ค้ำยันกันลมโยกต้น และแกะพลาสติกตรงที่พันรอย ทาบออกด้วย
  5. รดน้ำให้เปียกโชก หาหญ้าแห้งคลุมโคนต้น และทำร่มเงา พรางแสงแดด ควรใช้ตาข่ายพรางแสง หรือ สแลนกันแดด ประมาณ 50% ทำเป็นร่มเงาให้

เคล็ดลับดี ๆ ในการบำรุงดิน คือ การปลูกปุ๋ยพืชสดลงไประหว่างแถวของต้นมะยงชิด โดยการปลูกถั่วพร้ารอบ ๆ ต้นมะยงชิดที่ปลูกไว้ เมื่อมีผลผลิตส่วนหนึ่ง จะเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ ส่วนหนึ่งตัดให้ทับถม คลุมดินเป็นปุ๋ยที่ดีมาก ๆ นั่นเอง สำหรับการบำรุงต้น เน้นปุ๋ยชีวภาพ ที่ทำจากกากน้ำตาล ร่วมกับขี้วัว

วิธีดูแลรักษา ต้นมะยงชิด

การดูแลรักษาในระยะเวลา 1 ปี

  • ให้น้ำพอประมาณ สม่ำเสมอ 2-3 วัน ครั้ง
  • เมื่อครบ 3 เดือน ควรใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลไก่ มูลสุกร โรยรอบ ๆ ทรงพุ่ม ห้ามใช้ปุ๋ยเคมีโดยเด็ดขาด
  • เมื่อครบ 6 เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยมูลสัตว์ขึ้น พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 ประมาณ 1 ช้อนชา โรยรอบ ๆ ทรงพุ่ม
  • เมื่อครบ 1 ปี ให้ปฎิบัติเหมือนครบ 6 เดือน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักเพิ่มขึ้น ปุ๋ยเคมีใส่ 1 ช้อนโต๊ะ โรยรอบ ๆ ทรงพุ่ม ทุก ๆ 3 เดือน
  • เมื่อมีการแตกใบอ่อน หากมีแมลงรบกวน ควรใช้ยาไล่ หรือกำจัด เช่น คาร์บาริล หรือคาร์โบซัลแฟน เป็นต้น ถ้าเชื้อราให้ใช้ แคบแทน หรือแมน โดแซม เป็นต้น

การดูแลรักษา ปีที่ 2 และปีที่ 3

  • ควรใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง  ส่วนปุ๋ยเคมี ใส่ประมาณ 3 เดือนต่อครั้ง ครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ส่วนการดูแลใบอ่อน ให้ปฎิบัติเหมือนปีที่ 1

การดูเมื่อต้นโตพร้อมให้ผลผลิต

ตารางการปฏิบัติในแต่ละช่วง คือ ช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ช่วงแตกใบอ่อน ช่วงสะสมอาหาร ระยะแทงช่อดอก ระยะดอกบานจนเริ่มติดผลซึ่งแต่ละช่วงเวลา จะมีการดูแลปฏิบัติไม่เหมือนกัน ดังนี้

ประโยชน์และสรรพคุณมะยงชิด

ในมะยงชิด มีสารอาหารมากมาย เช่น วิตามินเอ, มีวิตามินซี, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, วิตามินบี 2, วิตามินบี 3, วิตามินบี 1, วิตามินบี 5, วิตามินบี 6, วิตามินบี 9, โปรตีน, ธาตุเหล็ก, ธาตุแมกนีเซียม, คาร์โบไฮเดรต, เส้นใย, โพแทสเซียม, พลังงาน, โซเดียม, สังกะสี, ไขมัน, แมงกานีส และเบต้าแคโรทีน ที่เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีสรรคุณดี ๆ ดังนี้

  • ช่วยฟอกโลหิต
  • ช่วยป้องกันโรคความดัน
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
  • ช่วยบำรุงสายตา
  • ช่วยบำรุงกระดูก
  • ช่วยบำรุงฟัน ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • แก้ปวดศรีษะ ช่วยถอนพิษสำแดง แก้ไข้กลับ แก้อาการเจ็บคอ

จบไปแล้ว วิธีปลูกมะยงชิด และประโยชน์ดี ๆ ต่าง ๆ ของมะยงชิด เรียกได้ว่า ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจสร้างรายแล้ว แถมมยังมีประโยชน์มากมายอีกด้วย สำหรับใครที่อยากจะลองปลูกต้นมะยงชิด ก็ลองนำวิธีปลูกที่เรามาแชร์กันนี้ ไปลองศึกษากันดูนะจ๊ะ รับรองว่าได้ผลดีอย่างแน่นอน

บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ:

อ้างอิงข้อมูลจาก eto.ku.ac.th, thai-thaifood.com

ลำดวน: ดอกไม้ที่สดใส กับหัวใจที่เบิกบาน