ที่จริงแล้ว “มีด” ทำครัวมีกี่ประเภท? ใช้งานต่างกันอย่างไร?

สำหรับคนทำครัว การมีเครื่องครัวดี ๆ ถือเป็นความสุขใจอย่างหนึ่ง หลายคนจึงพิถีพิถันในการเลือกเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะหม้อ กระทะ ตะหลิว และอีกมากมาย แต่กลายเป็นว่าละเลย และไม่ใส่ใจกับการเลือก มีดทำครัว🔪 ซักเท่าไหร่ เพราะคิดว่า มีด แบบไหนก็ใช้ได้เหมือนกัน ขอแค่มีความคม แต่จริง ๆ แล้ว หากเราพิถีพิถันในการเลือกมีด ใช้มีดให้ถูกประเภทกับวัตถุดิบ จะทำให้การทำอาหารของเรานั้นสนุกขึ้นได้ และมีดที่ดียังส่งผลไปถึงรูปลักษณ์ หน้าตาของอาหาร รสสัมผัส รวมถึงรสชาติ ทั้งยังช่วยลดความตึงเครียดในการทำครัวได้อีกด้วย

วันนี้ SGE จะพาไปรู้จักกับ มีด ที่ใช้ในการหั่นวัตถุดิบแต่ละประเภท รวมถึง มีดทำครัว ที่ควรมีติดครัวเอาไว้ แถมด้วยเคล็ดลับการดูแลรักษา การลับมีดให้คมกริบ! และวิธีการเก็บมีดให้ปลอดภัย ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

รู้จักกับ มีด คืออะไร?

มีด คือ อุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย ทั้งการทำครัว การตัดกิ่งหรือตัดสิ่งต่าง ๆ ภายในสวน และการใช้งานเล็กน้อยภายในบ้าน แต่ไม่ว่าจะอยู่ในห้องใดก็ให้ประโยชน์ในการใช้งานเหมือนกัน คือ ตัด หั่น สับ หรือแร่ ซึ่งการใช้งานเหล่านี้ก็ต้องมีการแยกประเภท เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และทำให้ยืดอายุการใช้งานไปได้อย่างยาวนานที่สุด โดยการใช้งานส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่ มีดทําครัว เพราะถือว่าเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดในบ้านนั่นเอง

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

มีดทำครัว มีอะไรบ้าง?

หลาย ๆ บ้านมีมีดติดครัวไว้เพียง 1-2 เล่ม สำหรับใช้หั่นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเนื้อสัตว์ ผัก หรือปอกเปลือกผลไม้ แต่สำหรับร้านอาหาร โรงแรม หรือรีสอร์ท ที่ต้องเน้นทั้งเรื่องรูปลักษณ์ รสสัมผัส และรสชาติ จำเป็นต้องมีมีดหลายแบบหลายชนิด เพื่อใช้ในการหั่นวัตถุดิบแต่ละประเภท จะมีอะไรบ้าง ดังนี้

  • มีดสเตนเลส

มีดสเตนเลส มีดทำครัวประเภทนี้ นับว่าเป็นมีดยอดนิยมอันดับต้น ๆ ในหมู่พ่อบ้าน แม่บ้าน ไปจนถึงเชฟมืออาชีพเลยก็ว่าได้ เนื่องจากมีดแบบสเตนเลส จะมีคุณสมบัติแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนได้ ไม่เป็นสนิม ที่สำคัญมีน้ำหนักกำลังพอดี ทำให้เวลาใช้งานสามารถใช้ได้อย่างคล่องตัว นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันการปนเปื้อนในอาหารได้ด้วย เพราะสเตนเลสมีความมันวาว จึงทำให้สิ่งสกปรกติดใบมีดได้ยาก ส่วนตัวใบมีดนั้นมีความคม เมื่อเวลานำไปลับ ก็จะคมได้ง่าย แต่ข้อจำกัด คือ อาจเสียความคมได้รวดเร็วเช่นกัน

  • มีดเหล็ก High Carbon

มีดเหล็ก เป็นอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เพราะหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งมีความแข็งแรง ทนทานสามารถใช้ได้นาน ส่วนเรื่องของความคม ก็ไม่ต้องห่วง เพราะมีดเหล็กมีความคมสูงมาก มีความหนาและหนักทำให้ไม่ต้องออกแรงเยอะในการหั่นวัตถุดิบต่าง ๆ สำหรับใบมีด สามารถลับมีดเพิ่มความคม เพื่อใช้งานต่อได้เรื่อย ๆ แต่ข้อเสียของมีดเหล็ก คือ ขึ้นสนิมง่าย การใช้มีดเหล็ก จึงจำเป็นต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ และไม่ควรแช่น้ำทิ้งไว้อย่างเด็ดขาด และหมั่นเช็ดให้แห้ง และลับคมป้องกันสนิมหลังใช้งานเสร็จ อีกทั้งมีดเหล็กบางเล่ม อาจมีน้ำหนักเกินไปสำหรับผู้หญิง จึงอาจทำให้จับไม่ถนัดได้ ดังนั้น การการซื้อมีดเหล็กทุกครั้ง จึงต้องลองจับดูให้แน่ใจก่อนว่า มีดเล่มนั้นมีขนาด และน้ำหนักที่พอดีกับมือของเรา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

  • มีดเซรามิก

มีดชนิดนี้ทำจาก เซอร์โคเนียม ไดออกไซด์ (Zirconium Dioxide)  ซึ่งมีความคมสูง สามารถใช้งานได้นาน และเป็นสนิมยาก ทำให้ทำความสะอาดได้อย่างง่ายดาย ที่สำคัญ มีน้ำหนักเบาช่วยให้จับถนัดมือมากขึ้น อีกทั้งมีดทำครัวประเภทนี้ ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ จะไม่มีกลิ่นของโลหะไปติดอยู่บนวัตถุดิบหลังจากหั่นด้วยมีดเซรามิก จึงหมดกังวลเรื่องอาหารเสียรสชาติจากกลิ่นของโลหะได้เลย แต่มีดเซรามิก มีข้อเสียอยู่บ้างเช่นกัน คือ ใบมีดจะมีความเปราะบางกว่ามีดแบบเหล็ก ทำให้ไม่เหมาะกับการหั่น หรือสับวัตถุดิบที่มีความแข็งมาก ๆ เช่น กระดูก อาหารแช่แข็ง เป็นต้น ด้วยอาจทำให้ใบมีดเกิดความเสียหายได้ 

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ประเภทของ มีด มีอะไรบ้าง?

  • มีดเชฟ (Chef’s Knife)

มีดเชฟนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนอวัยวะชิ้นที่ 33 ของเชฟเลยก็ว่าได้ เพราะในระหว่างการทำงาน เชฟจะต้องหยิบจับมาใช้แทบจะตลอดเวลา และใช้มีดในฟังก์ชั่นที่หลากลาย ไม่ว่าจะเป็นการสับ หั่น ตัด ปอก แล่ หรือเลาะกระดูก เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์คู่ใจที่เชฟขาดไม่ได้เลยทีเดียว นอกจากจะใช้งานหลากหลายแบบแล้ว ยังต้องใช้กับวัตถุดิบหลากหลายประเภท ทำให้เวลาเหล่าเชฟจะเลือกมีดทำครัวสักเล่มมาเป็นอาวุธคู่กายจึงต้องเลือกอย่างพิถีพิถัน โดยอาจเลือกจากน้ำหนักของมีดว่ามีความเหมาะสมกับมือเราหรือไม่ เวลาจับแล้วต้องรู้สึกไม่หนักเกินไป ใช้งานได้คล่องตัว และหยิบจับสะดวก เพราะมีดเล่มนี้จะอยู่ติดตัวเชฟไปอีกนาน ส่วนขนาดมาตรฐานของมีดทำครัวสำหรับเชฟอยู่ที่ประมาณ 6-12 นิ้ว

  • มีดปอกผลไม้ (Paring Knife)

มีดปอก เป็นมีดทำครัวขนาดเล็กที่มีความคมอยู่มาก ใช้สำหรับปอก หั่น ตัดผักและผลไม้ หรือแม้กระทั่งเนื้อบางชนิดได้ และด้วยขนาดที่เล็กกะทัดรัด รวมถึงน้ำหนักที่เบา ช่วยให้ใช้งานได้อย่างสะดวก และคล่องตัวมากขึ้น จึงทำให้สามารถใช้กับงานที่ต้องการความละเอียดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการเตรียมวัตถุดิบด้วย แต่ข้อควรระวังสำหรับการใช้มีดปอก คือ ไม่ควรลงน้ำหนักมือเยอะและเร็วเกินไป เนื่องจากใบมีดมีความคมสูง หากใช้ไม่ระวังอาจโดนมีดบาดได้ ส่วนขนาดมาตรฐานของมีดปอกอยู่ที่ 2.5-4 นิ้ว

  • มีดอเนกประสงค์ (Utility Knife)

มีดอเนกประสงค์ สามารถใช้งานในครัวได้สารพัดประโยชน์ ทั้งหั่น บั้ง ซอย เจาะ ฯลฯ แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการหั่นผักและผลไม้ มีดอเนกประสงค์ มีรูปทรงคล้ายมีดเชฟ แต่ขนาดเล็กกว่า ใบมีดมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร ซึ่งขนาดมาตรฐานทั่วไปของมีอเนกประสงค์ จะอยู่ที่ 4-7 นิ้ว

  • มีดสับ (Cleaver)

มีดสับ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มีดปังตอ มีดอีโต้ เป็นมีดที่มีขนาดใหญ่ มีความหนาและน้ำหนักมาก ทั้งนี้เพื่อให้สามารถสับวัตถุดิบที่มีความแข็งได้อย่างสะดวก เช่น สับกระดูก เอ็น โครงไก่ หรือแม้กระทั่งสับเนื้อสัตว์ดิบให้ละเอียด การใช้มีดสับก็จะช่วยทุ่นแรงไปได้เยอะเช่นกัน ลักษณะใบมีด จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีขนาดความยาวประมาณ 6-7 นิ้ว ข้อควรระวัง สำหรับการใช้มีดประเภทนี้ คือ ควรจับให้กระชับและมั่นคง หากจับไม่ดีแล้ว อาจทำให้มีดกระเด็นหลุดมือไปในระหว่างสับวัตถุดิบอยู่ก็เป็นได้  

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

  • มีดแล่เนื้อ (Carving Knife)

มีดแล่เนื้อ หรือเรียกอีกชื่อว่า มีดสไลด์ เหมาะสำหรับพ่อครัว แม่ครัว หรือผู้ที่มีความชำนาญในการใช้มีด เพราะถือเป็นมีดเฉพาะทาง ใช้สำหรับแล่เนื้อโดยตรง เช่น สไลด์เนื้อหมู สไลด์เนื้อวัว หรือหั่นก้อนแฮมให้เป็นแผ่นบาง ๆ ด้วยปลายมีดที่แหลมและคมซึ่งสามารถเจาะหรือหั่นเนื้อเหนียว ๆ ได้สบาย ๆ ช่วยให้แล่ชิ้นเนื้อได้อย่างสวยงาม ส่วนใหญ่มีความยาวของใบมีดราว 20 เซนติเมตร ขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 8-15 นิ้ว

  • มีดหั่นขนมปัง (Bread Knife)

มีดประเภทนี้ มีลักษณะเด่นบริเวณใบมีดที่คมและเป็นหยัก ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถหั่น และตัดขอบขนมปังที่แข็ง และหนาได้ อีกทั้งด้วยใบมีดแบบพิเศษ จึงไม่ทำให้เนื้อขนมปังภายในที่มีความนุ่มแตกออกจากกัน และยังช่วยให้สามารถหั่นขนมปังออกมาได้หลากหลายแบบ สำหรับขนาดโดยทั่วไปของมีดหั่นขนมปังจะมีความยาวอยู่ที่ 6-10 นิ้ว แต่เนื่องจากบริเวณใบมีดมีรอยหยักเยอะ จึงทำให้ยากที่จะลับมีดให้คมอยู่ตลอด ส่วนใหญ่จึงนิยมเปลี่ยนมีดใหม่ทุก ๆ 2-3 ปี หรือจนกว่ามีดที่ใช้อยู่ไม่มีความคมแล้วนั่นเอง

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

  • มีดแล่ปลา (Filleting Knife)

มีดแล่ปลา ถือเป็นมีดอีกหนึ่งชนิดที่ออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง ใบมีดรูปทรงโค้ง มีความบางและแหลม ความโค้ง และบางของใบมีด จะช่วยในการซอกซอนเข้าเนื้อปลา ให้เลาะก้างปลาออกมาได้ง่ายขึ้น

มีด 3 แบบ ที่แนะนำว่าควรมีติดครัว คือ

  • มีดอเนกประสงค์ (Utility Knife) หรือมีดเชฟ (Chef’s knife) เพราะมีความอเนกประสงค์สูง ใช้เป็นมีดหลักในการหั่น แล่ ซอย และสับ
  • มีดปอก (Paring Knife) สำหรับใช้ปอกเปลือกโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะผักหรือผลไม้
  • มีดอีโต้ หรือ มีดสับ (Cleaver) ใช้สำหรับสับเนื้อสัตว์ หั่นกระดูก หรือหั่นอาหารแช่แข็ง

การดูแลรักษามีด ทำได้อย่างไร?

มีดที่ขาดการดูแลรักษา หรือทำความสะอาดผิดวิธี จะทำให้เกิดสนิมได้ง่าย ทั้งยังอาจทำให้ความคมของมีดหายไป จึงควรดูแลรักษา และทำความสะอาดมีดให้ถูกวิธี ดังนี้

  • หลังการใช้งานมีด ให้เช็ดคราบต่าง ๆ ออกจากใบมีดด้วยผ้าสะอาด แล้วจึงล้างทำความสะอาดด้วยฟองน้ำ และน้ำยาล้างจาน
  • เมื่อล้างมีดจนสะอาดแล้ว ควรเช็ดให้แห้งทันที ไม่เก็บมีด หรือปล่อยมีดที่เปียกทิ้งไว้ เพราะจะทำให้เกิดสนิมบนใบมีดได้
  • ส่วนมีดที่ไม่ค่อยได้หยิบออกมาใช้ ควรหมั่นทำความสะอาด และตรวจเช็กคราบสนิม เพื่อถนอมมีด และเตรียมมีดให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • การลับมีดให้คม เป็นอีกหนึ่งวิธีดูแลรักษามีด ยิ่งกับงานในครัวโรงแรมด้วยแล้ว ยิ่งต้องลับมีดทุกครั้งหลังใช้ เพื่อให้มีดนั้นคมกริบพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพราะมีดทื่อ ๆ จะทำให้วัตถุดิบเสียทรง ทั้งยังสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้กับการทำครัวอีกด้วย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เทคนิคการลับมีดให้คม

ทำได้ด้วยอุปกรณ์ลับมีด 3 แบบ ดังนี้

  • หินลับมีด

หินลับมีด เป็นหินทรงสี่เหลี่ยม มีทั้งแบบหินธรรมชาติ และหินที่ผสมกับเซรามิก ก่อนใช้หินลับมีด ต้องแช่หินลับมีดในน้ำสะอาดประมาณ 10 นาที ขั้นตอนการลับมีด ให้วางคมมีดทำมุม 10-15 องศา จากนั้นเคลื่อนใบมีดถูขึ้น-ลงกับหินช้า ๆ ทำซ้ำประมาณด้านละ 4-5 ครั้ง 

  • เครื่องลับมีด

เครื่องลับมีด อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวก และช่วยเบาแรง มีการออกแบบเหลี่ยมมุมมาให้สามารถลับมีดให้คมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ใช้ลับมีดได้ทุกชนิด แต่ก็มีราคาสูงเช่นกัน

  • ลับมีดด้วยก้นจานกระเบื้อง

อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สามารถใช้ลับมีดได้ คือ ก้นของจานกระเบื้อง วิธีการคือ คว่ำจานกระเบื้องลง แล้วนำใบมีดถูกับส่วนขอบของก้นจานที่มีความสาก ก็สามารถช่วยให้มีดคมขึ้นได้ แต่วิธีนี้ควรใช้ในเวลาเร่งด่วน เพราะสำหรับการลับมีดแล้ว ใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะจะดีที่สุด

เก็บมีดไว้ตรงไหน ปลอดภัยที่สุด

การจัดเก็บมีดเข้าที่หลังจากทำความสะอาด มีด้วยกันหลายวิธี ในความเป็นจริงก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน แต่ถึงอย่างไร ก็ควรให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของมีดด้วย

  • เก็บมีดไว้ใกล้ ๆ เขียง
  • เก็บมีดในลิ้นชัก
  • เก็บในกล่องเสียบมีด
  • เก็บมีดบนบอร์ดแม่เหล็กติดผนัง

สินค้าแนะนำ

เครื่องสไลด์เนื้อ เครื่องสไลด์หมู (Meat slicer) ผลิตจากวัสดุคุณภาพ มีหลากหลายขนาดให้เลือกสรรค์ หั่นเนื้อเป็นชิ้นบางด้วยเวลาสั้น ๆ แต่ได้ปริมาณมาก เนื้อทุกชิ้นจากเครื่องหั่นมีหน้าตาสวยงาม น่ารับประทาน ขนาดเท่ากันทุกชิ้น มีคุณภาพ แถมคงความสดใหม่พร้อมเสิร์ฟ พร้อมรังสรรค์เมนูอาหารได้ทันที

สามารถเลือกดูสินค้า ตามความต้องการ และตามความเหมาะสมในการใช้งานได้เลย รับรองสินค้ามีคุณภาพ ได้มาตรฐานอย่างแน่นอน

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

เป็นอย่างไรบ้าง มีดทำครัว หวังว่าจะได้ความรู้เพื่อนำไปใช้เลือกมีดได้อย่างถูกต้องต่อไป แม้ว่า มีด จะมีหลายประเภทและการเลือกนั้นอาจดูวุ่นวาย แต่ก็อย่ามองข้ามขั้นตอนนี้เชียว ยิ่งใครที่ชอบทำอาหาร ยิ่งต้องพิถีพิถันในการเลือกมีดให้เหมาะสม หากเราเลือกมีดที่เหมาะสมกับตัวเอง และตรงกับงานที่ใช้ได้แล้ว รับรองว่างานครัวของคุณจะกลายเป็นเรื่องสนุกและไม่น่าเบื่ออีกต่อไป และควรระมัดระวังในการใช้และหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ เพียงแค่นี้มีดคู่ครัวของเราก็จะอยู่ได้นานหลายปีเลยทีเดียว 🔪✨

สามารถติดตาม บทความอื่น ๆ ได้ที่นี่ 

ลำดวน: ดอกไม้ที่สดใส กับหัวใจที่เบิกบาน