ไขข้อสงสัย ฟอร์มาลีน ในอาหารทะเลอันตรายอย่างไร?

ในปัจจุบันมีการตรวจพบ “ฟอร์มาลีน” ในอาหารทะเลมากมาย และที่น่ากลัวคือในปัจจุบันก็ยังสุ่มตรวจเจออยู่เรื่อย ๆ ผู้ประกอบการมักใช้สารนี้เพื่อรักษาความสดของอาหารเอาไว้ให้ได้นานยิ่งขึ้น เราในฐานะผู้บริโภคก็ควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เอาไว้บ้างนะคะ เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารทะเลที่มีส่วนผสมของสารฟอร์มาลีนทั้งกับตัวเอง ครอบครัว และคนที่คุณรัก

ฟอร์มาลีน คืออะไร?

ฟอร์มาลีนเป็นสารมีพิษใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก  สิ่งทอ และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา ในปัจจุบันมีการนำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อให้อาหารสดคงความสดอยู่ได้นานไม่เน่าเสียง่าย ส่วนใหญ่จะรู้จักฟอร์มาลินในเชิงการแพทย์ที่เราทราบกันดีว่าเอาไว้ใช้ในการดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย ใช้เป็นยาดับกลิ่นฆ่าเชื้อโรคเพราะทำให้โปรตีนแข็งตัว ทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอจะใช้เป็นน้ำยาอาบผ้าไม่ให้ย่น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคและเชื้อราในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลง แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร

ส่วนประกอบหลักคือ ฟอร์มาลดีไฮด์ 37% ลักษณะเป็นน้ำใส ไม่มีสี กลิ่นฉุน และมีฤทธิ์ระคายเคือง โดยทั่วไปมีไว้เพื่อการฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ทำให้สิ่งของบางอย่างขึ้นรูปและคงรูปอยู่ ใช้ในอุตสาหกรรม ใช้ในการเกษตร ใช้ในทางการแพทย์ ใช้ในเครื่องสำอาง ซึ่งปัจจุบันมีการนำมาใช้ผิดประเภท คือ ใส่ในอาหารโดยเฉพาะพวกอาหารทะเลที่เน่าเสียไว ซึ่งฟอร์มาลีนก่อให้เกิดอันตรายมากมาย

ฟอร์มาลีนเจือปนในอาหารได้อย่างไร

มีรายงานจากประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น และอิตาลี ว่าในผักผลไม้ บางชนิดและเนื้อสัตว์บางประเภทโดยเฉพาะสัตว์ทะเลและเห็ดหอมมีปริมาณของฟอร์มาลดีไฮด์ในธรรมชาติสูง แต่อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี ฟอร์มาลีนที่มีในธรรมชาติหรือที่มาจากปุ๋ยและสารฆ่าแมลงส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้อยมาก คือ ไม่เกิน 1 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ในขณะที่ฟอร์มาลีนที่จงใจฉีดหรือแช่ในผักหรือเนื้อสัตว์นั้น หากใช้ปริมาณมากเกินไปและมีตกค้างย่อมเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแน่นอน

ปัจจุบัน ประเทศไทย ตรวจพบบ่อยครั้งว่า มีการใช้ฟอร์มาลีนแช่ผักปลา และเนื้อสัตว์บางอย่างก่อนนำมาขายเพื่อให้มีความสดและไม่เน่าเสียเร็ว เพราะด้วยความไม่รู้ถึงอันตรายของสารชนิดนี้นอกจากนี้ยังนำฟอร์มาลีนมาใช้กับผักหลายชนิด แทนการใช้สารฆ่าแมลง โดยเฉพาะผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว แตงกวา หน่อไม้ ยอดมะพร้าว และอื่นๆ โดยอ้างว่าใช้ฆ่าแมลงบนผักได้ดีและยังทำให้ผักสดอยู่ได้นานอีกทั้งราคายังถูกกว่าสารฆ่าแมลงชนิดอื่นด้วย นอกจากการปนเปื้อนฟอร์มาลีนจะมาจากการฉีดพ่นผักเพื่อฆ่าแมลงแล้ว บางครั้งฟอร์มาลีนอาจมาจากปุ๋ยก็ได้

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
ฟอร์มาลีน-2021-1_9

ฟอร์มาลีนในอาหารส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

เมื่อเราทานอาหารที่มีส่วนผสมของฟอร์มาลีนเข้าไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณ ซึ่งจริงๆ แค่เราได้กลิ่นก็จะมีอาการฉุน แสบคอ เกิดอาการผิดปกติต่อระบบทางเดินหายใจได้แล้ว บางคนทานเข้าไปจนเกิดอาเจียน เสียเลือดมากจนถึงขั้นเสียชีวิตก็มี เพราะทางเดินอาหารเกิดการไหม้จากสารฟอร์มาลีนที่มีความเป็นกรด หรือเมื่อได้รับในปริมาณที่เข้มข้นก็จะทำให้เลือดเป็นกรด เกิดภาวะช็อก ความดันตก และตามมาด้วยการเสียชีวิต แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหากจะเกิดอาการรุนแรงอย่างที่ว่านี้ได้ มักจะมาจากเหตุจงใจหรือการทำร้ายตัวเองมากกว่า

วิธีสังเกตในการเลือกซื้ออาหารสด หรือตรวจสอบว่ามีสารฟอร์มาลีนหรือไม่

อ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า ให้เราดูว่าร้านอาหารนั้นๆ มีกลิ่นฉุนของสารเคมีแปลกๆ หรือเปล่า ตัวอย่างเช่น หากเนื้อกุ้งมีทั้งส่วนที่แข็งสด และมีส่วนที่เปื่อยยุ่ยในตัวเดียวกัน แสดงว่าต้องมีการแช่ฟอร์มาลีนมาอย่างแน่นอนให้หลีกเลี่ยงในการซื้อมาบริโภค เพราะหากเป็นอาหารสดต้องสดเสมอกัน ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเปื่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแข็งสด

ส่วนใหญ่ ฟอร์มาลีน จะนิยมใส่ในอาหารทะเลสดทั่วไป โดยเฉพาะปลาหมึก และแมงกะพรุน รวมถึงอาหารทะเลประเภทอื่น ๆ เช่น ปลาหมึกกรอบ สไบนาง และเล็บมือนาง เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้มีการเน่าเสียง่าย ผักก็มีอยู่บ้างแต่นานๆ เราจะเจอสักทีหนึ่ง และอีกวิธีคือใช้ชุดตรวจสารฟอร์มาลีนในอาหาร เมื่อทำครบตามขั้นตอนผลที่ได้ คือ น้ำจะมีสีชมพูแดง แสดงว่าอาหารนั้นมีสารฟอร์มาลีน ก็จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงอาหารสดที่มีสารอันตรายเหล่านีได้อีกทางหนึ่ง เพราะฉะนั้น SGE ขอแนะนำให้ทุกคนตรวจดูก่อนซื้ออาหารทะเลทุกครั้งนะคะ 

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฟอร์มาลีน-2021-2_8

ฟอร์มาลีน มีประโยชน์อะไรบ้าง

จากการศึกษาข้อมูลเพจมหาลัยมหิดลคณะแพทยศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า สาร ฟอร์มาลีน จะมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์เท่านั้น ห้ามนำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพอาหาร ฟอร์มาลีนในทางการแพทย์นั้นใช้ในการดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย ใช้เป็นยาดับกลิ่นฆ่าเชื้อโรคเพราะทำให้โปรตีนแข็งตัว ทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอจะใช้เป็นน้ำยาอาบผ้าไม่ให้ย่น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคและเชื้อราในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการ เก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลง แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารในกลุ่มอัลดีไฮด์โดยปกติอยู่ในรูปก๊าซเนื่องจากเป็นสารรีดิวซ์ที่รุนแรงจึงเตรียมให้อยู่ในรูป ของสารละลายฟอร์มาลีน ปัจจุบันมีการนำสารนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งด้านการแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม ด้าน ความงาม ด้านการเกษตร และด้านอื่น ๆ ทำให้มีการเจือปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา

บทลงโทษสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้สารฟอร์มาลีนในอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขขอแจ้งว่า ฟอร์มาลีนสามารถเกิดในสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติอยู่แล้วในปริมาณหนึ่ง ซึ่งเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุความแตกต่างระหว่างฟอร์มาลินที่เกิดตามธรรมชาติ และที่ตั้งใจเติมลงไปในอาหารเพื่อหวังผลในด้านการเก็บรักษาได้ ดังนั้นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 กำหนดให้สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร ผู้ใช้สารนี้กับอาหาร หรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ และถ้าตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าการใช้สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์หรือฟอร์มาลินในอาหารไม่เพียงแต่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ยังมีโทษตามกฎหมายด้วย


เป็นอย่างไรบ้างคะ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐฯ อาจจะยังครอบคลุมได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับสารพิษในอาหารทะเลก็คงยังดำเนินต่อไป เพราะฉะนั้นการรู้จักระมัดระวังเลือกบริโภค เลือกซื้อเพื่อสุขภาพของตนเองในระยะยาวกันนะคะ สามารถติดตามบทความอื่นๆได้ที่นี่

ขอบคุณข้อมูลจาก
Sanook / RAMA Channel / มหาลัยมหิดลคณะแพทยศาสตร์