ชัวร์ก่อนชิม ฟรุกโตส ข้อควรรู้ก่อนบริโภคน้ำตาลจากผลไม้ฟรุกโตส

เมื่อพูดถึงน้ำตาลแล้ว ในบรรดาอาหาร ขนม และของหวาน น้ำตาลที่เราพบได้บ่อยที่สุด คือ น้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ร่างกายใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน นอกจากน้ำตาลกลูโคสที่พบบ่อยแล้ว เรายังสามารถพบน้ำตาล “ฟรุกโตส (fructose) ได้บ่อยมาก ๆ เช่นกัน   เพราะเป็นน้ำตาลที่นิยมใช้ในเครื่องดื่มทั้งแบบสำเร็จ และแบบผง ที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในร้านสะดวกซื้อ มีรสชาติที่ดี และสามารถลดการใช้น้ำตาลได้ประมาณครึ่งหนึ่ง ราคาไม่แพง วันนี้  SGE จะพาไปทำความรู้จักฟรุกโตส เพื่อการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงเข้าใจพื้นฐาน และการเลือกซื้อวัตถุดิบประเภทฟรุกโตสที่มีขายในเชิงอุตสาหกรรม จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย 🥰


ฟรุกโตส (Fructose) คืออะไร?

เป็นน้ำตาลที่พบได้มากในผัก และผลไม้ที่มีรสหวาน รวมไปถึงในน้ำผึ้ง นิยมนำมาใช้สำหรับผสมเครื่องดื่ม เช่น น้ำหวาน, น้ำอัดลม และน้ำผลไม้ที่มีรสหวาน โดยมีความแตกต่างจากน้ำตาลซูโครส ตรงที่ฟรุกโตสนั้นไม่ได้สร้างพลังงานให้กับกล้ามเนื้อและสมอง แต่จะถูกนำไปสะสมที่บริเวณตับโดยตรง หากรับประทานในปริมาณมาก อาจจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้ เนื่องจากน้ำตาลฟรุกโตส ไม่ได้ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เครื่องดื่มลดน้ำตาลบางประเภท นำไปใช้เป็นส่วนผสมหลักเพื่อให้เกิดรสชาติหวาน เช่น น้ำหวาน ชาเขียว รวมไปถึงอาหารเสริมบางชนิด ซึ่งรสชาติที่ได้ก็จะมีความหวานอร่อย ในแบบเดียวกับน้ำตาลซูโครสนั่นเอง น้ำตาลฟรุกโตสถือเป็นน้ำตาลที่มีคุณสมบัติให้ความหวานได้เยอะที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำตาลประเภทอื่น ๆ

น้ำตาลฟรุกโตส (Fructose) เป็นน้ำตาลที่พบได้ตามธรรมชาติในผลไม้ที่มีรสหวาน หรือเรียกอีกอย่างว่าน้ำตาลผลไม้ (Fruit sugar) แหล่งที่พบน้ำตาลฟรุกโตส เช่น องุ่น, แอปเปิ้ล, สาลี่, สตรอเบอร์รี่ และน้ำผึ้ง เนื่องจากเป็นน้ำตาลที่พบได้มากในผลไม้ ทำให้น้ำตาลฟรุกโตสเป็นที่คุ้นเคยของผู้บริโภค สามารถใช้แทนน้ำตาลทราย (Sucrose) ในการปรุงอาหาร และใส่ในเครื่องดื่ม ในเชิงของกฏหมายอาหารและยาจัดเป็นอาหารทั่วไป ไม่จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive)


ผลไม้ที่มีปริมาณฟรุกโตสสูง
เมื่อเทียบจากปริมาณของผลไม้ 100 กรัม มีดังต่อไปนี้

ฟรุกโตส 2021-1

 

กล้วยน้ำว้า ลิ้นจี่จักรพรรดิ์
มะขามหวานสีทอง กล้วยไข่
ลองกอง ลิ้นจี่ฮงฮวย
น้อยหน่าฝรั่ง มังคุด
แก้วมังกรเนื้อสีแดง กล้วยหอม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


น้ำตาลฟรุกโตส (fructose) ที่ใช้ในอาหารมีแบบไหนบ้าง?

ส่วนใหญ่น้ำตาลฟรุกโตสที่ใช้ในอาหารโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. ฟรุกโตสไซรัป (fructose syrup)
น้ำเชื่อมชนิดนี้โดยปกติจะไม่พบในธรรมชาติ เป็นน้ำเชื่อมที่ได้จากการไฮโดรไลซ์สตาร์ชได้เป็นน้ำตาลกลูโคส และเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นฟรุกโตส โดยปฏิกริยาไอโซเมอร์ไรเซชัน (Isomerization)โดยใช้เอนไซม์กลูโคสไอโซเมอเรส ซึ่งน้ำเชื่อมฟรุกโตสยังมีความสำคัญในการนำมาใส่ในอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติหวานได้ในรูปแบบฟรุกโตสไซรัป หรือน้ำเชื่อมข้าวโพด ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายทั่วไปถึง 6 เท่า ซึ่งมักจะพบเห็นเป็นส่วนประกอบในอาหารหลายประเภท เช่น คุกกี้, ไอศกรีม, ขนมขบเคี้ยว, เครื่องดื่มต่าง ๆ ซึ่งข้อดีของฟรุกโตสไซรัปที่แตกต่างจากน้ำตาลทรายทั่วไป คือ มีต้นทุนในการผลิตที่ถูกกว่า จัดเก็บและขนส่งง่ายกว่า อีกทั้งยังให้รสชาติความหวานที่ดีกว่า

ฟรุกโตส 2021-2

 

น้ำเชื่อมฟรุกโตส (High-fructose syrup) ประกอบด้วยน้ำ 24 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือคือน้ำตาลฟรุกโตสผสมกับน้ำตาลกลูโคส มีหลายความเข้มข้น เช่น

  • HFCS 90  ประกอบด้วยน้ำตาลฟรุกโตสประมาณ 90% และน้ำตาลกลูโคส 10%
  • HFCS 55  ประกอบด้วยน้ำตาลฟรุกโตสประมาณ 55% และน้ำตาลกลูโคส 42% นิยมใช้เติมในเครื่องดื่ม
  • HFCS 42  ประกอบด้วยน้ำตาลประมาณฟรุกโตส 42% และน้ำตาลกลูโคส 53% นิยมใช้เติมในเครื่องดื่ม และขนมอบ 

น้ำเชื่อมฟรุกโตส จะมีรสหวานมากกว่าน้ำเชื่อมจากน้ำตาลซูโครส หรือกลูโคส ในปัจจุบันน้ำเชื่อมนี้ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำตาลทรายจากอ้อย ในประเทศไทยมีโรงงานผลิตน้ำเชื่อมฟรุกโตสหลายแห่ง โดยใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลัง


การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของฟรุกโตสไซรัป ควรอยู่ในปริมาณที่พอเพียง เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อการทำงานของจับ และฮอร์โมนความอิ่มได้ ทำให้เกิดความอยากอาหารตลอดเวลา เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ร่างกายกินไม่อิ่ม กินเกินความต้องการ และกลายเป็นโรคอ้วนในเวลาต่อมาได้ โดยผลการวิจัยจากอเมริกาพบว่า การบริโภคน้ำเชื่อมฟรุกโตสในปริมาณมาก ๆ นั้น จะทำให้เกิดพิษในร่างกายและสามารถทำลายระบบการทำงานของลำไส้ได้ด้วย ดังนั้น ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีฟรุกโตสไซรัป ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดผลกระทบจากโรคภัยหรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจมาเยือน เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ก็อาจจะนำพาโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตมาเยือนตัวคุณได้ 🥰

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฟรุกโตส 2021-3


2. น้ำตาลฟรุกโตสแบบผง (Fructose powder)
น้ำตาลฟรุกโตสแบบผงที่ใช้ในอาหารอยู่ในรูป D-fructose มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว สามารถละลายในน้ำได้ดี จัดเก็บได้ง่าย  ในเชิงอุตสาหกรรมจะผลิตมาจากพืชผลทางการเกษตรที่มีแป้งสูง เช่น ข้าวโพด หรือ มันสำปะหลัง ซึ่งฟรุกโตสแบบผง ( fructose powder) จะมีความบริสุทธิ์มากกว่าฟรุกโตสแบบน้ำเชื่อม (High-fructose syrup) และให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 1.8 เท่า จึงใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าน้ำตาลทราย (Sucrose) เพื่อให้ได้ความหวานที่เท่ากัน น้ำตาลฟรุกโตสแบบผงละลายได้ง่าย สามารถเติมในอาหารได้โดยตรง ละลายได้ที่อุณหภูมิห้อง ไม่ตกผลึกง่าย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


👍 ข้อดีของน้ำตาลฟรุกโตส
(Fructose)
น้ำตาลฟรุกโตส (Fructose) เป็นน้ำตาลที่ ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดน้อย เนื่องจากน้ำตาลฟรุกโตสมีค่า Glycemic index (GI) ต่ำจึงทำให้ระดับน้ำตาลขึ้นไม่สูงเหมือนกลูโคส และให้ความหวานมากสุด ในขณะที่ให้พลังงานน้อยสุดในกลุ่มน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharide) ทำให้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่ขึ้นกับฮอร์โมนอินซูลิน หรือโรคเบาหวานชนิดที่สอง (Type-2 diabetes) สามารถรับประทานได้ แต่อย่ารับประทานเยอะ เนื่องจากน้ำตาลฟรุกโตสไม่กระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดและไม่รบกวนระดับฮอร์โมนอินซูลิน ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์แคลอรี่ต่ำ (low calorie) แต่ทั้งนี้ ทางสมาคมโรคเบาหวานของสหรัฐอเมริกา ก็แนะนำให้หลีกเลี่ยงเนื่องจาก อาจส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด

การทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการเท่านั้น อย่าซื้อมาลองรับประทานเอง เนื่องจากอาจไม่เหมาะกับภาวะของท่าน ถ้าทานมากก็จะส่งผลต่ออาการของโรคได้ ทั้งนี้มีน้ำตาลประเภทอื่นๆอีก ควรศึกษาให้ดีครับ

น้ำตาลฟรุกโตสมีรสชาติดี ไม่มีรสขมเฝื่อนเหมือนสารให้ความหวานแทนน้ำตาลอื่นๆ ช่วยให้รสชาติและกลิ่นของอาหารน่ารับประทานมากขึ้น เมื่อนำมาประกอบอาหาร ความหวานของน้ำตาลฟรุกโตสจะไม่ไปเบียดบังกลิ่นและรสอื่นๆของอาหาร ช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัส, ลักษณะปรากฏ, ลักษณะทางประสาทสัมผัส (mouthfeel) ของผลิตภัณฑ์ และยังถนอมรสชาติและกลิ่นของอาหาร ทำให้อาหารยังมีรสชาติและกลิ่นที่น่ารับประทานทาน แม้เก็บอาหารไว้เป็นระยะเวลายาวนาน นอกจากนี้น้ำตาลฟรุกโตสสามารถใช้ลดจุดเยือกแข็ง (Reduce the freezing point) และช่วยเสริมรสชาติสำหรับผลิตภัณฑ์แช่แข็ง (Frozen food) อีกด้วย

👎 ข้อเสียของน้ำตาลฟรุกโตส น้ำตาลฟรุกโตส มีการกระตุ้นอินซูลินต่ำ เวลาดื่มจะทำให้ความรู้สึกการกระหายน้ำตาล เนื่องจากอินซูลินไม่ค่อยลดตัวลง มีความเสี่ยงจะทำให้ดื่มเยอะเกินไป และการย่อยฟรุกโตสในร่างกายนั้นจะแตกต่างจากกลูโคส โดยมีการย่อยสลายที่ตับ ถ้ากินเข้าไปจำนวนมาก ๆ ตับจะเปลี่ยนฟรุกโตสเป็นไขมัน และสะสมที่ตับได้ คนที่ใช้ชีวิตแบบไม่ได้ active ร่างกายมาก อาจทำให้มีไขมันพอกตับได้ ซึ่งการกินน้ำตาลทรายจำนวนมาก ๆ ก็ทำให้เกิดไขมันพอกตับได้เช่นกัน แต่น้ำตาลทรายนั้นจะถูกสะสมที่ส่วนอื่นได้มากกว่า

ฟรุกโตสแม้ว่าจะกระตุ้นอินซูลินต่ำ แต่สำหรับผู้ป่วยก็ไม่ควรบริโภคเยอะ สารให้ความหวานอื่นๆ ก็เช่นกัน ไม่ควรบริโภคเยอะ ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการ


การรับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
การรับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตส ในผลไม้ทั่วไปนั้น มีปริมาณฟรุกโตสอยู่เพียงแค่ 5% เท่านั้น ยกเว้นอาหารบางชนิด เช่น น้ำผึ้ง, มะเดื่อฝรั่ง, อินทผาลัม ที่ให้ปริมาณฟรุกโตสมากถึง 10% ดังนั้น การรับประทานผลไม้ที่มีฟรุกโตสจึงถือว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยต่อร่างกาย ให้คุณประโยชน์มากกว่าโทษ เพราะในผลไม้นั้นมีสารอาหารประเภทอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น วิตามิน เกลือแร่ และกากใย

ทิ้งท้ายสักนิด! น้ำตาลฟรุกโตสกินแล้วอ้วนกว่าน้ำตาลปกติหรือไม่? คำตอบ คือ “ไม่” น้ำตาลฟรุกโตสไม่ได้ทำให้คุณอ้วนไปกว่าน้ำตาลชนิดอื่น ๆ ส่วนคำตอบประเด็นหลัก ๆ ที่บอกกันว่าน้ำตาลฟรุกโตส มันอาจทำให้อ้วนได้มากกว่าน้ำตาลอื่น ๆ คือ

  • น้ำตาลฟรุกโตส ไม่ผ่านเอนไซม์ PFK ดังนั้นหากกินมาก ๆ ร่างกายจะไม่มีตัวควบคุมเอาไว้หยุดกระบวนการการสร้างไขมันที่ตับ (De novo lipogenesis) ถ้าเกิดกิน Fructose เข้าไปแปลว่า จะได้ไขมันมากกว่าเดิม หรืออ้วนขึ้น!
  • น้ำตาลฟรุกโตส ไม่กระตุ้นฮอร์โมน Leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมาให้เรารู้สึกอิ่ม นั่นทำให้เราสามารถกินอาหารที่ใส่น้ำเชื่อมข้าวโพดหวานเยอะ ๆ (HFCS) เช่น น้ำอัดลม, น้ำหวาน, ชานมไข่มุก ได้เรื่อย ๆ โดยที่ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกอิ่มมากขึ้น เมื่อไม่อิ่ม ก็กินมากขึ้น พอกินมากขึ้นก็เลยอ้วนขึ้น!
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
สรุปได้ว่า… ฟรุกโตสนั้นเป็นน้ำตาลที่มีประโยชน์มาก 🤩 สามารถใช้ได้กับอาหารหลาย ๆ ประเภท ทั้งของแห้ง และของเปียก หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ อีกทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำทำให้มีการใช้อย่างแพร่หลาย แต่การใช้ฟรุกโตสก็เหมือนกับการบริโภคน้ำตาลประเภทอื่น ๆ ต้องมีการควบคุมและกินอย่างพอดีด้วย
สามารถติดตาม บทความอื่นๆ ได้ที่นี่