220629-Content-มะเขือพวง-ทำอาหารอร่อย-01

1,907 Views

คัดลอกลิงก์

มะเขือพวง ทำอาหารอร่อย ประโยชน์เยอะ ปลูกเองได้

มะเขือพวง เป็นพืชคู่ครัวคนไทยมาช้านาน แม้จะไม่ใช่พืชผักหลัก ที่ใช้ประกอบอาหาร แต่เป็นพืชผักที่แต่งเติมความอร่อยให้กับอาหารหลากเมนู มีสรรพคุณ ประโยชน์มากมายที่ใครอาจจะยังไม่รู้ ตาม SGE ไปรู้จักกับ มะเขือพวง และ วิธีปลูกมะเขือพวง ที่บอกเลยว่า ทำได้ไม่ยากเลย พร้อมแล้วไปดูกันเลย

มะเขือพวง

มะเขือพวงจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-4 เมตร ลำต้น มีหนามห่าง ๆ ลำต้นตั้งแข็งแรงเปลือกมีสีเขียวอมขาว ไม่มีรอยแตก ไม่ผลัดใบ มักจะแตกกิ่งก้านมาก ตั้งแต่ระดับต่ำจากลำต้น และมีหนามเช่นเดียวกับสำต้น ใบอ่อน และยอดอ่อน มีขนปกคลุม เมื่อสัมผัสจะรู้สึกอ่อนนุ่ม ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ขอบใบเป็นพลูกว้าง ฐานใบมนกว้าง ปลายใบแหลม ผิวใบด้านล่างมีขนรูปสามเหลี่ยมบกคลุม เมื่อสัมผัสจะนุ่ม ตัวใบขนาด 3-5 x 4-6 นิ้ว เนื้อใบอ่อนเหนียว เส้นใบแตกแบบขนนกสานกันเป็นร่างแห ดอก เป็นช่อสีขาว มีดอกย่อย 2-15 ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกตรงตาข้าง และยอดกิ่ง ก้านดอกยาวกว่า ลักษณะดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ ขณะบานเป็นรูปดาว 5 แฉก ผลเป็นผลเดี่ยวเป็นพวงคล้ายมะแว้ง แต่ขนาดใหญ่กว่า รูปกลม ผิวเกลี้ยงสีเขียว กลีบเลี้ยงที่ติดอยู่ไม่มีหนาม ขนาดผลเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.3 ซม. ผลสุกสีเหลืองอ่อน เมล็ดมีจำนวนมาก ลักษณะแบน กลม ผิวเรียบ

220629-Content-มะเขือพวง-ทำอาหารอร่อย-02

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวงสุก (100 กรัม)

  • พลังงาน 24 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
  • น้ำตาล 2.35 กรัม
  • เส้นใยอาหาร 3.4 กรัม
  • ไขมัน 0.19 กรัม
  • โปรตีน 0.01 กรัม
  • วิตามีนบี1 (ไทอะมีน) 0.039 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี2 (ไรโบฟลาวิน) 0.037 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี3 (ไนอะซิน) 0.649 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี5 (กรดแพนโทเทนิก) 0.281 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี6 0.281 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี9 (โฟเลต ) 22 ไมโครกรัม
  • วิตามินซี 2.2 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 9 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 0.24 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม
  • สังกะสี 0.16 มิลลิกรัม
  • แมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ประโยชน์มะเขือพวง และสรรพคุณต่าง ๆ

ประโยชน์ต่อสุขภาพ มะเขือพวงเป็นพืชที่ช่วยเสริมสุขภาพ โดยมีสรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทยคือ ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดี แก้ฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ฝีบวมมีหนอง

220629-Content-มะเขือพวง-ทำอาหารอร่อย-03

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงคุณสมบัติที่เด่นชัดของมะเขือพวง ในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้ เพื่อตอบสนองต่อสารพิษ ที่เข้ามายังระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันความเสื่อม และแก่ก่อนวัย มีฤทธิ์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ในโรคเบาหวาน อีกทั้งยังมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น

  • สารโซลาโซดีน (Solasodine) ในมะเขือพวง ช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้
  • สารสกัดจากมะเขือพวง มีผลยับยั้ง Platelet activating factor (PAF) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด
  • มะเขือพวงมีสารทอร์โวไซด์ เอ, เอช (Torvoside A, H) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 (Herpes simplex virus type 1) โดยมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งไวรัสได้มากกว่าอะไซโคลเวียร์ถึง 3 เท่า
  • มะเขือพวงมีสารทอร์โวนินบี (Torvonin B) ซึ่งเป็นซาโพนินชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่ามีฤทธิ์ในการขับเสมหะ
  • มะเขือพวงมีสารเพกติน (Pectin) ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้ จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้ง และน้ำตาลที่ย่อยแล้ว ได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่ มีคุณสมบัติช่วยดูดซับไขมันส่วนเกิน และอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
  • สารต่อต้านอนุมูลอิสระในมะเขือพวง ช่วยป้องกันความเสื่อม และช่วยชะลอความแก่

มะเขือพวง กินสดหรือสุก ดีกว่ากัน? การรับประทานมะเขือพวงนั้น แนะนำให้กินสุก เพราะมะเขือพวงมียางมาก หากรับประทานแบบสด อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก และลำคอได้ ที่สำคัญ ควรล้างให้สะอาดก่อนรับประทานทุกครั้ง ก่อนนำไปปรุงอาหาร อีกทั้งการผ่านความร้อน ยังช่วยลดอาการแพ้สารโซลานีนได้อีกด้วย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่

วิธีปลูกมะเขือพวง การดูแลรักษา ทำได้อย่างไร?

มะเขือพวง จัดเป็นพืชผักสวนครัวที่คนไทยนิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก มักจะนำไปใส่เป็นเครื่องเทศในแกงสารพัด หากจะหามาปลูกไว้ทำกับข้าวกินเองบ้างก็คงจะดีไม่น้อย มะเขือพวงเป็นพืชอายุสั้น ใช้ระยะเวลาในการปลูก 3-4 เดือน สามารถเก็บผลผลิตขายได้แล้ว การปลูกมะเขือพวง ใช้น้ำน้อย ทนแล้ง การปลูกสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด ในส่วนนี้แล้วแต่ผู้ปลูก

วิธีการปลูก การปลูกมะเขือพวงสามารถทำการปลูกได้ทั้ง แบบยกร่อง แบบหลุม แบบแปลง และแบบกระถาง เลือกได้ตามสะดวก โดยขุดหลุม 2×2 เมตร เป็นระยะที่กำลังพอดี ดูแลได้ง่าย เบื้องต้นให้ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยอินทรีย์ ลองก้นหลุม แล้วใช้ปูนขาวฆ่าเชื้อ ก่อนจะลงต้องมีการเตรียมดิน ตากดินไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อ ถ้าอยากให้ได้ผลดีให้ใส่ขี้ไก่แกลบ ปูนขาว ลงไปด้วย

วิธีการปลูกด้วยการเพาะเมล็ด

  • ย้ายต้นกล้าที่ทำการเพาะไว้ โดยการเลือกต้นที่มีใบจริง ประมาณ 3-4 ใบ สูงประมาณ 7-10 เซนติเมตร
  • ย้ายไปปลูกในแปลง หรือกระถาง เพื่อทำการเพาะ (สนใจ กระถางผ้า กระถางปลูกต้นไม้ คลิกเลย 👈)
  • ให้น้ำในทุก ๆ วัน อย่างสม่ำเสมอ
  • หลังย้ายมาปลูก จนครบ 1 อาทิตย์  บำรุงด้วยสูตร (15-15-15) 1/4 ช้อนชา ทุก ๆ 15 วัน
  • หลังย้ายมาปลูก จบครบ 2เดือน จะเริ่มมีการออกผลผลิต ก็สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคหรือขายได้
  • หลังจากเก็บผลผลิต จนครบ 2 เดือน ควรแต่งกิ่งบริเวณที่เคยเก็บผลผลิต เพื่อให้เกิดการออกยอดใหม่มาแทนที่ จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรแต่งกิ่ง ทุก 2-3 เดือน
220629-Content-มะเขือพวง-ทำอาหารอร่อย-04

การดูแล ใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง มะเขือพวงชอบน้ำแบบธรรมดา คือ ไม่มากไม่น้อยเกินไป รดน้ำ ตามความเหมาะสม ถ้าฝนไม่ตก 1 อาทิตย์ รดน้ำ 2 ครั้ง เพราะดินอุ้มน้ำอยู่แล้ว ถ้าจะให้ดีควรรดน้ำช่วงเช้า เพราะจะช่วยในเรื่องของโรคราน้ำค้าง หมั่นดูแลโรคแมลงด้วยปุ๋ยชีวภาพ เพียงเท่านี้ ก็สามารถมีมะเขือพวงไว้ประกอบอาหารแบบไม่ต้องซื้อแล้ว

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. มะเขือพวงมีสารโซลานิน (Solanine) ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ ซึ่งสารนี้ อาจจะทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกายได้ ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคไขข้อและโรคกระดูก ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน
  2. การได้รับสารโซลานีนจำนวนมากในผู้ที่ไวต่อสารโซลานีน อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อาเจียน
  3. สำหรับลดผลกระทบจากสารโซลานีน ทำได้โดย นำผลมะเขือพวงที่จะรับประทาน ไม่ทำให้สุกด้วยความร้อน หรืออาจรับประทานอาหารกลุ่ม นม-เนย ควบคู่ไปกับการรับประทานมะเขือพวงด้วยก็ได้
  4. การรับประทานมะเขือพวงดิบมากเกิน 16 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของตับได้

จะเห็นว่า มะเขือพวง จิ๋วแต่แจ๋ว เป็นพืชที่มีคุณค่าเกินขนาดจริง ๆ ใครที่เคยเขี่ยมะเขือพวงออกจากอาหาร ควรเปลี่ยนใจหันมากินมะเขือพวงกันได้แล้ว อยากสุขภาพดีก็ฝึกกินมะเขือพวงสุกทีละน้อยให้เกิดความคุ้นเคยกันดีกว่า มะเขือพวงเป็นไม้ทนโรคพืช และการเพาะ วิธีปลูกมะเขือพวง มักไม่ต้องใส่สารพิษฆ่าแมลง จึงค่อนข้างแน่ใจว่า เมื่อกินมะเขือพวง จะได้ผักปลอดสารพิษแน่นอน 💚 สามารถอ่านบทความ : มะเขือเปราะ ผักพื้นบ้าน สรรพคุณ ประโยชน์มากมาย

เพื่อการเพาะปลูกที่ไร้กังวล ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับต่าง ๆ เราขอแนะนำ กระถางผ้า กระถางปลูกต้นไม้ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เหมาะสำหรับปลูกพื้นทุกรูปแบบ ผลิตจากวัสดุพิเศษ ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่เกิดเชื้อรา เป็นมิตร และทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ดี

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

ลำดวน

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด