รู้จัก องุ่นเคียวโฮ (Kyoho Grape) ประโยชน์ ข้อควรระวัง และวิธีเลือกซื้อ

รุ้จัก องุ่นเคียวโฮ องุ่นดำญี่ปุ่น มีประโยชน์อย่างไร ทำเมนูอะไรได้บ้าง?

200 Views

คัดลอกลิงก์

สารบัญ

องุ่นเคียวโฮ (Kyoho Grape) องุ่นยอดนิยมจากประเทศญี่ปุ่น องุ่นพันธุ์นี้มีลักษณะเป็นอย่างไร มีประโยชน์ต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน ทำไมถึงได้รับความนิยมในประเทศไทย? ตาม SGE ไปรู้จักผลไม้ชนิดนี้ให้มากขึ้นกัน!

องุ่นเคียวโฮ (Kyoho Grape)

องุ่นเคียวโฮ ลักษณะ
พวง องุ่นเคียวโฮ

ชื่อสามัญ

 Kyoho Grape

กลุ่มพันธุ์ปลูก

Vitaceae

ถิ่นกำเนิด

ประเทศญี่ปุ่น

ต้นกำเนิด

องุ่นเคียวโฮ เป็นลูกผสมระหว่างองุ่น Centennial และ องุ่นอิชิฮาราวาเสะ (Ishiharawase) คิดค้นโดย ยาซูชิ โออิโนะอุเอ (Yasushi Ōinoue)  จากสถาบันวิทยาศาสตร์พืชไร่และชีววิทยา ในเมืองชิซูโอกะ ในปี 1937 และเปิดตัวในฐานะ องุ่นเคียวโฮ  (Kyoho Grape) ในปี 1942 และ ต่อมาในปี 1957 องุ่นพันธุ์นี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น

แหล่งปลูกสำคัญ

ปัจจุบันแหล่งปลูกที่สำคัญของ องุ่นเคียวโฮะ อยู่ที่จังหวัดยามานาชิ และ นากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ส่งออกและวางจำหน่ายทั้งในตลาด ร้านค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านค้าออนไลน์ และห้างระดับไอเอนด์ นอกจากนี้ยังนิยมปลูกในจีน ไต้หวัน เกาหลี แคลิฟอร์เนีย และชิลี โดยเฉพาะในประเทศจีนที่เริ่มครองตลาดทั้งค้าปลีกและค้าส่ง อย่างไรก็ตาม เคียวโฮ ถือเป็นหนึ่งในพันธุ์องุ่นที่มีการปลูกมากที่สุดในเอเชีย แม้ว่าจะมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมา แต่สายพันธุ์เคียวโฮก็ยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะเด่น / รสชาติ

องุ่นเคียวโฮ โดดเด่นด้วยผลที่มีขนาดใหญ่ สีเข้ม เนื้อฉ่ำ รสชาติหวาน อร่อย และมีกลิ่นหอม นิยมรับประทานเป็นผลไม้สด รวมถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของว่าง ของทานเล่น ในท้องตลาด เช่น เยลลี่ ลูกอม น้ำผลไม้ ฯลฯ 

ระดับความหวาน 

องุ่นเคียวโฮมีความเป็นกรดเล็กน้อยและมีปริมาณน้ำตาลสูง โดยทั่วไปจะอยู่ที่ความหวานจะอยู่ที่ 18 – 20 บริกซ์ ทำให้มีรสหวานและเข้มข้น คล้าย ๆ กับองุ่นคองคอร์ด (Concord Grape)

เรทราคา

ราคาขององุ่นเคียวโฮะค่อนข้างสูง หากเทียบกับองุ่นพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นพันธุ์พิเศษ ต้องอาศัยความพิถีพิถันในการปลูก นอกจากนี้ยังมีการคัดเกรด หากมีคุณภาพดี ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปด้วย ตกประมาณกิโลกรัมละ 350 – 1,020 บาท (ราคาปี 2567) 

วิธีเลือกองุ่นเคียวโฮ

องุ่นเคียวโฮให้เลือกผลที่อวบอ้วน กลม เต่งตึง ขนาดลูกเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เปลือกสีเข้ม มีฝ้าขาวทั่วเปลือก (ฝ้าขาว คือยีสต์ธรรมชาติ ทำหน้าที่รักษาความชุ่มฉ่ำให้ผลองุ่นและปกป้ององุ่นจากเชื้อแบคทีเรีย) ลูกองุ่นติดกันเป็นพวงไม่หล่นหรือหลุดออกจากกัน ก้านสีน้ำตาลปนเขียว ไม่เหี่ยวแห้ง

ลักษณะพฤกษศาสตร์องุ่นเคียวโฮ

ลำต้น

องุ่นเคียวโฮเป็นพืชยืนต้น ลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย เติบโตโดยการเลื้อยเกาะตามกิ่งไม้

ใบ

ใบสีเขียว ขอบหยักเว้าลึก 5 แฉก โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ

ดอก 

ออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อดอกบานกลีบดอกเมื่อบานสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน)

ผล / เมล็ด

ผลองุ่นเคียวโฮมีขนาดใหญ่ เติบโตเป็นพวงกลมหนาแน่นและกระจุกสม่ำเสมอกัน องุ่นแต่ละลูกมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 2 – 4 เซนติเมตร ลักษณะอวบอ้วน ทรงกลมถึงรูปไข่ ผิวเรียบ ตึง มันเงา และหนา มีสีตั้งแต่ม่วงไปจนถึงม่วงเข้มเกือบดำสนิท มีฟิล์มแป้งสีขาวที่ช่วยปกป้ององุ่นจากการหมักและการสูญเสียความชื้น นิยมแกะเปลือกก่อนทาน เพราะเปลือกและเมล็ดองุ่นเคียวโฮทานได้แต่มีรสขม บางสายพันธุ์เป็นพันธุ์ไร้เมล็ด

Back to top

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ประโยชน์ องุ่นเคียวโฮ (Kyoho Grape)

เคียวโฮ องุ่นสีม่วงหรือสีดำ เป็นแหล่งรวม “แอนโทไซยานิน” ที่เป็นสารต้านออกซิเดซัน รวมถึงอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น 

ประโยชน์ องุ่นเคียวโฮ ต่อร่างกาย
  • ผิวสวย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แอนโทไซยานินช่วยปกป้องเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอวัย ทำให้ผิวพรรณแข็งแรง ลดการเสื่อมของเซลล์ผิว
  • ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง แอนโทไซยานินในองุ่นเคียวโฮ ยังช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ ลดคลอเลสเตอรอลในเลือดได้
  • ลดการอักเสบในร่างกาย วิตามินเค วิตามินซี แอนโทไซยานิน ช่วยในการรักษาบาดแผลให้เร็วขึ้น ช่วยลดการอักเสบ พร้อมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
  • ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มการสร้างเกล็ดเลือดในเนื้อและผิวหนัง ช่วยระบบไหลเวียนเลือด บำรุงหัวใจ และระบบสมอง
  • กระตุ้นระบบย่อยอาหาร  ไฟเบอร์และสารอาหารในองุ่นเคียวโฮะ ช่วยขับล้างสารพิษในลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ปกติ
  • ลดความเครียด ผ่อนคลายขึ้น  ความหวานขององุ่นเคียวโฮ ช่วยลดความเครียดได้ หากกินแบบแช่เย็น จะยิ่งเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายได้ดี

อันตรายจาก “เยลลี่องุ่นเคียวโฮ” ขนมยอดฮิตในโซเชียล

ช่วงที่ผ่านมา “เยลลี่องุ่นเคียวโฮ” โด่งดังในประเทศไทยมาก โดยเฉพาะเยลลี่องุ่นเคียวโฮที่มีลักษณะกลม ๆ นิ่ม ๆ ห่อด้วยวัสดุคล้ายยางหรือลูกโป่ง เวลาทานต้องหาไม้แหลมมาเจาะให้แตก สร้างความตื่นเต้นให้ผู้บริโภค จนได้รับความนิยมและถูกวางขายเกลื่อนตลาด ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมาเตือนว่าหลายยี่ห้อไม่ได้มี อย. และอาจมีสารอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะเยลลี่องุ่นเคียวโฮที่วางขายตามออนไลน์ แผงต่าง ๆ ใกล้โรงเรียนและชุมชน ผู้บริโภคควรสังเกตฉลากภาษาไทย เลข อย. ส่วนประกอบหรือส่วนผสม วันเดือนปีที่หมดอายุ และข้อมูลการผลิตที่สำคัญอื่น ๆ ให้ดีก่อนทาน

คลิกอ่านเพิ่มเติม : เตือนภัย : อย. เตือน “ เยลลี่องุ่นเคียวโฮ ” หากไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่ควรรับประทาน

Back to top

ข้อมูลโภชนาการองุ่นเคียวโฮ

ข้อมูลโภชนาการ สารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ขององุ่นเคียวโฮ ปริมาณ 160 กรัม

สารอาหาร ปริมาณ หน่วย
คาร์โบไฮเดรต 28 กรัม
น้ำตาล 26 กรัม
ไขมันรวม 0.5 กรัม
ใยอาหาร 1 กรัม
โปรตีน 1 กรัม
แคลเซียม 23 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 308 มิลลิกรัม

แหล่งข้อมูลประกอบ: Malissa

Back to top

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

แนะนำเมนู องุ่นเคียวโฮ ยอดฮิต

1 แยมองุ่นเคียวโฮ

แยมองุ่นเคียวโฮ

1 แยมองุ่นเคียวโฮ

ส่วนผสม

  • พวงองุ่นเคียวโฮ 2 กิโลกรัม
  • เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า 1,000 มล.
  • น้ำมะนาวสด 2 มล.

ขั้นตอนการทำ 

1. แช่พวงองุ่นในน้ำเปล่าผลมเกลือเพื่อทำความสะอาดและล้างสารพิษ 10 นาที
2. เด็ดองุ่นเคียวโฮออกจากพวง ใช้มีดผ่าครึ่ง เอาเม็ดออก ปั่นในเครื่องปั่นผลไม้ ปั่นหยาบ ๆ ให้พอมีเนื้อ อ่านเพิ่มเติม

2 องุ่นเคียวโฮโซดา

องุ่นเคียวโฮโซดา

2 องุ่นเคียวโฮโซดา

ส่วนผสม

  • น้ำองุ่นเคียวโฮไซรัป 40 มล.
  • โซดา  70 มล.
  • น้ำแข็งก้อน 
  • ของตกแต่ง เช่น องุ่นเคียวโฮสด, ก้านโรสแมรี่ 

ขั้นตอนการทำ

เทน้ำองุ่นเคียวโฮไซรัปลงแก้ว ตามด้วยน้ำแข็งก้อน ตามด้วยโซดาห้เต็มแก้ว ตกแต่งด้วยลูกองุ่นเคียวโฮและก้านโรสแมรี่ให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ 

3 เยลลี่องุ่นเคียวโฮ

องุ่นเคียวโฮ เยลลี่ วุ้น เจลาติน

3 เยลลี่องุ่นเคียวโฮ

ส่วนผสม

  • เนื้อองุ่นเคียวโฮ 100 กรัม
  • วุ้นเจลาติน รสองุ่น 1 ซอง
  • น้ำเปล่า 100 มล.
  • พิมพ์ลวดลายที่ต้องการ

ขั้นตอนการทำ

ปั่นเนื้อองุ่นเคียวโฮให้ละเอียด กรองด้วยผ้าขาวบาง แยกกากและเนื้อองุ่นออก ตั้งกระทะ เทน้ำเปล่าและน้ำองุ่นเคียวโฮลงไป คนให้เข้ากัน ปิดเตา แล้วเทผงวุ้นลงไป พักให้เย็นลง แล้วเทใส่พิมพ์ แช่ตู้เย็นประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง พร้อมทาน

Back to top

วิธีปลูก องุ่นเคียวโฮ ในประเทศไทย

องุ่นสายพันธุ์เคียวโฮไม่ค่อยนิยมปลูกในประเทศไทยมากนัก เนื่องจากสภาพอากาศไม่ค่อยเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ยังมีชาวสวนหลายท่านที่ปลูกแล้วได้ผลดี โดยมีคำแนะนำเบื้องต้น ดังนี้

องุ่นเคียวโฮ
  • ขั้นตอนที่ 1 เตรียมดินปลูก 

    แนะนำเป็นดินเหนียวปนดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ค่า PH อยู่ที่ 5.6-6.4 และควรเป็นพื้นดินที่น้ำท่วมไม่ถึง ส่วนการเตรียมดินให้ยกร่องแปลง ความกว้าง 6 เมตร ส่วนความสูงของร่องให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงสุด จากนั้นขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50 ซม.  แล้วผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อกฟอสเฟต เข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม

  • ขั้นตอนที่ 2 ปลูกต้นองุ่นเคียวโฮ

    ยกถุงกล้าต้นองุ่นวางในหลุม ให้ดินในถุงสูงกว่าดินปากหลุมเล็กน้อย ใช้มีดคมกรีดถุงแล้วดึงพลาสติกออก ระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงไปในหลุม แล้วกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น จากนั้นปักไม้หลักและผูกเชือกยึด คลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม ปิดท้ายด้วยทำร่มเงาเพื่อพรางแสงแดด

  • ขั้นตอนที่ 3 การทำค้างองุ่น

    เมื่อองุ่นมีอายุประมาณ 1 ปี ต้นองุ่นจะสูงและขึ้นค้างได้ แนะนำให้ทำค้างแบบเสาคู่แล้วใช้ลวดขึง ใช้เสาซีเมนต์หน้า 3 – 4 นิ้ว ความยาวประมาณ 3 เมตร ปักลงดินครึ่งต้น เหลือส่วนเหนือดินประมาณ 1.50 เมตร แล้วใช้ลวดเบอร์ 11 ขึ้นไป ขึงให้แน่น

  • ขั้นตอนที่ 4 ตัดแต่งยอดและกิ่ง

    เมื่อองุ่นโตจนมีความสูง 1.5 เมตร หรือเสมอระดับลวด ต้องตัดยอดทิ้ง จัดกิ่งให้อยู่ตรงข้ามกัน เพื่อให้ตาข้างที่อยู่บริเวณยอดเจริญออกมา ส่วนการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกดอก
    ต้องงดการให้น้ำ 7 วัน เพื่อให้องุ่นออกดอกได้

  • ขั้นตอนที่ 5 ตัดแต่งช่อดอกและผล

    • การตัดแต่งช่อดอก เลือกตัดช่อที่มีขนาดเล็กรูปทรงไม่สวย ติดผลไม่สม่ำเสมอ หรือมีแมลงทำลายทิ้งให้หมด
    • การตัดแต่งผล ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ตัดแต่งผลในช่อจะแน่นเกินไป ทำให้ผลเล็กและเบียดเสียดกันจนผลเบี้ยว วิธีตัดให้ใช้กรรไกรเล็กสอดเข้าไปตัดที่ขั้วผล อย่าใช้มือเด็ดหรือดึงเพราะจะทำให้ช่อผลช้ำเสียหาย ผู้ที่จะเข้าไปต้องสวมหมวกหรือโพกศีรษะเสมอ อย่าให้เส้นผมโดนผลองุ่น จะทำให้ผลองุ่นเน่าเสียได้
  • ขั้นตอนที่ 6 ฉีดสารกระตุ้นฮอร์โมน

    ฉีดพ่นฮอร์โมนยี่ห้อที่ต้องการทั่วช่อดอกและช่อผลทุกต้นทั้งแปลง ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้มาก

  • ขั้นตอนที่ 7 ให้ปุ๋ยและให้น้ำ

    • ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยค้างคาวที่มีการย่อยสลายหมดแล้ว ทุกปี ๆ ละอย่างน้อย 1 ครั้ง เมื่อองุ่นอยูาในระยะเลี้ยงเถา ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ใส่ทุก 1 เดือน จนถึง 3 เดือน
    • น้ำ องุ่นต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้ดินแห้ง โดยเฉพาะช่วงหลังจากตัดแต่งกิ่ง ให้น้ำเรื่อย ๆ จนกว่าถึงระยะผลแก่จึงงดการให้น้ำ 2-4 สัปดาห์ก่อนวันตัดผล
  • ขั้นตอนที่ 8 ห่อผลและเก็บเกี่ยว

    • ห่อผลองุ่น หลังจากตัดแต่งผลให้ใช้กระดาษ เช่น กระดาษกระสอบปูนหรือวัสดุห่อผลองุ่นแบบสำเร็จรูปห่อรอบผล ก่อนห่อให้ฉีดพ่นยากันเชื้อราก่อน เพื่อป้องกันโรคผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราเข้าทำลาย
    • เก็บเกี่ยว เลือกผลองุ่นที่แก่จัด สังเกตจาก การนับอายุ การสังเกตสี และการชิมรสชาติ ก่อนเก็บเกี่ยวให้งดการให้น้ำองุ่นสักระยะหนึ่งก่อนการตัดผล เพื่อให้ผลองุ่นมีคุณภาพดี ธรรมชาติขององุ่นที่ปลูกอยู่ในแปลงเดียวกันจะแก่ไม่พร้อมกัน ให้เลือกเก็บเฉพาะช่อที่แก่เต็มที่ก่อน ส่วนการเก็บให้ใช้กรรไกรตัดขั้วผลแล้วบรรจุลงเข่งหรือลังไม้ที่บุหรือรองด้วยกระดาษห่อฝอยหรือใบตอง เพื่อป้องกันการชอกช้ำในขณะขนส่ง
Back to top

เป็นอย่างไรบ้างกับประโยชน์และสาระน่ารู้เกี่ยวกับ องุ่นเคียวโฮ (Kyoho Grape) เป็นผลไม้ที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งเลยใช่ไหมคะ หลาย ๆ คนน่าจะพอคุ้นรสชาติกันอยู่บ้าง เพราะเป็นผลไม้ที่นำไปเป็นส่วนผสมของขนม เยลลี่ น้ำผลไม้ แยม และอื่น ๆ ที่วางขายในตลาดมากมาย แต่หากใครอยากลองชิมรสชาติออริจินัลแบบสด ๆ ก็สามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปได้เลย รับรองอร่อย สดชื่น คุ้มค่าแน่นอน ส่วนใครที่อยากปลูก แนะนำให้ศึกษาข้อมูลลึกกว่านี้ เนื่องจากองุ่นเป็นผลไม้ที่ต้องการความเอาใจใส่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจริง ๆ ถึงจะให้ผลดี 

28 กุมภาพันธ์ 2024

โดย

Wishyouwell.

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment