fbpx
ติดต่อเซลล์
กลับสู่ด้านบน

วีดีโอเปรียบเทียบตู้อบลมร้อน VS Heatpump

เปรียบเทียบ ตู้อบลมร้อน VS Heat Pump

1) การทำงาน

  • ตู้อบลมร้อน สามารถตั้งเวลาได้สูงสุด 24 ชั่วโมง ปรับอุณหภูมิตั้งแต่ 30-90 องศาเซียลเซียส โดยความร้อนจะเกิดจากแท่งฮีตเตอร์ และใช้พัดลมด้านบนตัวเครื่องเป็นตัวกระจายความร้อนให้ไหลลงมาโดนวัตถุดิบ เพื่ออบไล่ความชื้นออกทางช่องด้านล่างทั่วทั้งตู้อบ วนกลับออกไปทางด้านบนเช่นเดิม วนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบเวลาตามที่ต้องการ สามารถทดแทนการตากแดดได้เป็นอย่างดี
  • ตู้อบ Heat Pump เป็นตู้อบเทคโนโลยีใหม่ ที่เพิ่มความสามารถในการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ มีระบบความร้อนที่เกิดจากแท่งฮีตเตอร์ ผ่านห้องวัตถุดิบ ไปห้องคอยน์เย็นแล้วกลั่นตัวเป็นน้ำ เพื่อดึงความชื้นออกจากอากาศ และลมจะถูกไปที่คอยน์ร้อนไหลเข้าห้องวัตถุดิบอีกครั้ง ตู้อบจะหมุนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ 

2) ข้อดีของระบบปิด 100% คือ 

  • ประหยัดค่าแรงคน เพราะการที่ตู้อบได้รับความร้อนที่ทั่วถึง ทำให้ไม่ต้องคอยกลับด้านถาดเวลาอบเหมือนตู้อบทั่วไป
  • ฟังก์ชั่นการทำงานทันสมัย ปรับอุณหูมิ เวลา และความชื้น ได้มากถึง 6 ช่วง รองรับผลผลิตได้หลากหลาย ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ
  • ประหยัดพลังงาน เพราะมีมอเตอร์ 1200w เมื่อเทียบกับแบบทั่วไปที่มีมากถึง 3000w 

3) เปรียบเทียบอัตราการใช้ไฟ 1 ชม.

ตู้อบลมร้อนทั่วไปProduct-Compare-GE อัตราการกินไฟอยู่ที่ 3000w ใน 1 ชม. ค่าไฟเฉลี่ยต่อหน่วย หน่วยละ 4.50 บาท จะกินไฟมากถึง 13.50 บาท

ยกตัวอย่าง

  • คำนวณหน่วยที่ใช้ 3000 x 1 ÷ 1000 x 1 = 3 หน่วย/ชม.
  • ค่าไฟ 4.5 x 3 = 13.50 บาท/ชม.
ตู้อบ Heat Pump

Product-Compare-GE-HEAT

อัตราการกินไฟอยู่ที่ 1200w ใน 1 ชม. ค่าไฟเฉลี่ยต่อหน่วย หน่วยละ 4.50 บาท จะกินไฟอยู่ที่ 5.40 บาท

ยกตัวอย่าง 

  • คำนวณหน่วยที่ใช้ 1200 x 1 ÷ 1000 x 1 = 1.2 หน่วย/ชม.
  • ค่าไฟ 4.5 x 1.2 = 5.40 บาท/ชม.

4) ทดสอบการใช้งาน

ทดสอบการใช้งานจริง อบจริง โดยวัตถุดิบที่ใช้ คือ มะม่วง กล้วย จะตั้งค่าที่อุณหภูมิอบเท่ากันของทั้ง 2 รุ่น ในเวลา 21 ชม. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 

  • มะม่วง: มะมวงที่อบด้วย ตู้อบ Heat Pump มะม่วงแห้งมาก ๆ แข็ง และมีความชื้นน้อย ส่วนตู้อบลมร้อนทั่วไปมะม่วงจะยังมีความชื้นอยู่ และอ่อนนิ่ม
  • กล้วย: กล้วยที่อบด้วย ตู้อบ Heat Pump จะแห้งมาก ๆ แบบเห็นได้ชัดเจน ส่วนตู้อบลมร้อนทั่วไป กล้วยจะยังมีความชื้นอยู่

โดยข้อดีของตัว Heat Pump นั้น เราไม่จำเป็นจะต้องอบนาน 21 ชม. ก็ได้ ในกรณีที่อยากได้ผลลัพธ์แบบตู้อบลมร้อนทั่วไปแค่ลดเวลา ก็ได้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน เรียกได้ว่าประหยัดพลังงานมากกว่า ลดเวลา ลดพลังงาน คุ้มค่ากับธุรกิจ SME 

รู้ไหม? การที่เครื่องสามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิสูง จะช่วยลดเวลาการอบ ใช้เวลาน้อยกว่าตู้อบลมร้อนทั่วไป 30-40% ลดต้นทุนการผลิต และผลผลิตยังคง สี  รสชาติ  และสารอาหารอยู่ครบถ้วน โดยไม่ถูกความร้อนทำลายอีกด้วย

5) ผลสรุป 

สามารถสรุปได้ 3 เรื่อง คือ 

  • ระยะเวลาการผลิต 
  • คุณภาพที่ได้
  • อัตราการกินไฟ 

โดยตู้อบ Heat Pump ถือว่า ทำได้ดีกว่า และตอบโจทย์กับธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ โรงงาน ที่ต้องการคุณภาพที่แม่นยำ ควบคุมได้ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ส่วนตู้อบลมร้อนแบบธรรมดา จะตอบโจทย์กับธุรกิจเริ่มต้นทั่ว ๆ ไป ที่ต้องการควบคุมคุณภาพของสินค้า

ตารางเปรียบเทียบตู้อบลมร้อน

Product-Compare-GE-ECO-G2 Product-Compare-GE-BLACK-G2 Product-Compare-GEC-BLACK-G2 Product-Compare-GE Product-Compare-GEC Product-Compare-GE-HEAT
รุ่น GE-ECO GE-BLACK-G2 GEC-BLACK-G2 GE GEC GE-HEAT
แรงดันไฟ 220V/50Hz 220V/50Hz 220V/50Hz 220V/50Hz 220V/50Hz 220V/50Hz
กำลังไฟฟ้า 400W / 800W 1,600W / 2,400W 1,600W / 2,400W 3,000W / 6,000 W 3,000W / 4,000 W 3,010W
อุณหภูมิในการอบ 30°C – 90°C 30°C – 90°C 30°C – 90°C 30°C – 100°C 30°C – 100°C 40°C – 75°C
ฟังชันก์การจับเวลา 24 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง  24 ชั่วโมง
ขนาดตะแกรง 28.5 x 20 เซนติเมตร 40 x 45 เซนติเมตร เส้นรอบวง 37.5 เซนติเมตร 55 x 55 เซนติเมตร   เส้นรอบวง 47 เซนติเมตร  79 x 62 เซนติเมตร
จำนวนชั้น 8 / 12 ชั้น 12 / 22 / 44 (แนวนอน) / 44 (แนวตั้ง) ชั้น 12 / 20 / 40 (แนวนอน) / 40 (แนวตั้ง) ชั้น 6 / 10 / 20 ชั้น 10 / 12 / 16 ถาด 24 ชั้น
ระยะห่างต่อชั้น 2.5 เซนติเมตร 3 เซนติเมตร 3 เซนติเมตร 4 เซนติเมตร 4 เซนติเมตร 5 เซนติเมตร
วัสดุตะแกรง สแตนเลส 304 สแตนเลส 304 สแตนเลส 304 สแตนเลส 304  สแตนเลส 304 สแตนเลส 304
วัสดุตัวเครื่อง
สแตนเลส 201 สแตนเลส 201 สแตนเลส 201 สแตนเลส 304 สแตนเลส 304 สแตนเลส 201
ล้อเลื่อน
check-mark_12503776 check-mark_12503776 check-mark_12503776 check-mark_12503776 check-mark_12503776
รับประกันศูนย์ไทย 1 ปีเต็ม 1 ปีเต็ม 1 ปีเต็ม 1 ปีเต็ม  1 ปีเต็ม 1 ปีเต็ม

ติดต่อสอบถาม /สั่งซื้อสินค้า

กลับสู่ด้านบน

รีวิวลูกค้าใช้งานจริง

Profile-Customer-Review-HOT-AIR-OVEN-2.2

คุณตั้ว ชวลิต วานิชศรี

เจ้าของธุรกิจร้าน สวนวานิช

“ประทับใจมากครับ เมื่อใช้แล้วทำให้ผลิตภัณฑ์ปราศจากน้ำมัน กรอบยาวนานขึ้น เหมาะกับกำลังผลิตของทางร้านเราที่ต้องอบเยอะถึงวันละเป็น 100 กิโลกรัม/วัน และด้านการบริการหลังการขาย ทางเจ้าหน้าที่บริการดีมาก ตอบแก้ปัญหาได้ไว”

คุณตั้ว ชวลิต วานิชศรี

เจ้าของธุรกิจร้าน สวนวานิช

“ประทับใจมากครับ เมื่อใช้แล้วทำให้ผลิตภัณฑ์ปราศจากน้ำมัน กรอบยาวนานขึ้น เหมาะกับกำลังผลิตของทางร้านเราที่ต้องอบเยอะถึงวันละเป็น 100 กิโลกรัม/วัน และด้านการบริการหลังการขาย ทางเจ้าหน้าที่บริการดีมาก ตอบแก้ปัญหาได้ไว”

Review ตู้อบลมร้อน

(33,636 store reviews)

กลับสู่ด้านบน

FAQs ตู้อบลมร้อน อบแห้ง

– การอบกล้วยทั้งลูกใช้เวลาประมาณ 10-12 ชม. อุณหภูมิประมาณ 70°C
– การอบกล้วยครึ่งลูกใช้เวลาประมาณ 6 ชม. อุณหภูมิประมาณ 50-60°C
*** เวลาและอุณหภูมิสามารถปรับได้ตามความต้องการของลูกค้าว่าต้องการให้ผลผลิตสุกประมาณไหน

– การอบหมูใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. อุณหภูมิประมาณ 70°C
– การอบไก่ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. อุณหภูมิประมาณ 70°C
– การอบมะม่วงใช้เวลาประมาณ 10-12 ชม. อุณหภูมิประมาณ 40°C

รุ่น 6 ถาดสามารถอบได้ครั้งละประมาณ 15 kg 10 ถาด อบได้ 30 kg แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับขนาดต่อน้ำหนักของสินค้าด้วย ลูกค้าสามารถทดลองวางสินค้าลงพื้นที่ 55×55 cm (ขนาดตะแกรง)

-เตาอบลมร้อนของเรา รุ่น 6 ถาดจะใช้ไฟอยู่ประมาณ 2200 watt และรุ่น 10 ถาดใช้ไฟประมาณ 3300 watt

– อุณหภูมิที่ตู้ทำได้สูงสุดอยู่ที่ 100 องศา การอบให้กรอบสามารถทำได้หากสินค้านั้นผ่านการแปรรูปเช่นการทอดมาก่อน และสามารถอบจนให้สินค้าสุกได้

– อุณหภูมิจะถูกควบคุมผ่าน monitor computer โดยที่ heater  เป็นตัวกำเนิดความร้อน ในขณะที่เครื่องทำงานตัว temperature sensor  จะคอยวัดผลและส่งค่ากลับไปที่ monitor computer เพื่อสั่งงาน heater อีกที ดังนั้น การควบคุมอุณหภูมิจะเกิดจากการทำงานประสานกันของ อุปกรณ์

– ในอุณหภูมิ ไม่เกิน 100 องศา เตาอบลมร้อนสามารถใช้ อบได้ต่อเนื่องนานถึง 10 ชม. และหลังจากการใช้งานควรพักอย่างน้อย 1 ชม.
-หากใช้อุณหภูมิเกิน 100 – 130 องศา เตาอบลมร้อนสามารถใช้ อบได้ต่อเนื่อง 4 ชม. และหลังจากการใช้งานควรพัก 1 ชม.
-เรามีฉนวนกันความร้อนได้ถึง 130 องศา

กลับสู่ด้านบน

บทความที่น่าสนใจ

  • คำถามที่พบบ่อย เครื่องซีลสูญญากาศ

FAQs เครื่องซีลสูญญากาศ รวมคำถามที่หลายคนสงสัย

กุมภาพันธ์ 28th, 2024|0 Comments

รวมคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับเครื่องซีลสูญญากาศ เครื่องซีลดียังไง ใช้กับถุงแบบไหน เก็บอาหารได้กี่วัน เครื่องซีลสูญญากาศยี่ห้อไหนดี หาคำตอบได้ที่นี่!

  • ทำไม เครื่องซีลสูญญากาศไม่ดูดอากาศ สาเหตุ วิธีแก้ไข

รวมสาเหตุ “เครื่องซีลสูญญากาศไม่ดูดอากาศ” พร้อมวิธีแก้ไข

กุมภาพันธ์ 22nd, 2024|0 Comments

เครื่องซีลสูญญากาศไม่ดูดอากาศ เกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรให้เครื่องกลับมาใช้งานได้ตามปกติ หาคำตอบได้ที่นี่!!

  • วิธีใช้เครื่องซีลสูญญากาศ วิธีซีลถุงสูญญากาศ-how-to-use-vacuum-sealer-banner

วิธีใช้เครื่องซีลสูญญากาศ

กุมภาพันธ์ 21st, 2024|10 Comments

เครื่องซีลสูญญากาศนั้น มีด้วยกันหลากหลายรุ่นมาก ๆ โดยทั่วไป จะมีตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ตามไปดู วิธีใช้งานเครื่องซีลสุญญากาศ วิธีซีลถุงสูญญากาศ ที่ถูกต้องกัน

กลับสู่ด้านบน