เครื่องพ่นยา เครื่องพ่นปุ๋ย เลือกอย่างไรให้เหมาะสม!

อีกหนึ่งเครื่องมือการเกษตร ที่เราต่างคุ้นหน้าคุ้นตากันดี อย่าง เครื่องพ่นยา และ เครื่องพ่นปุ๋ย ตัวช่วยในการทำสวน งานเกษตรต่าง ๆ บทความนี้ SGE จะพาไปรู้จักกับ อุปกรณ์ชนิดนี้กันว่าคืออะไร มีกี่ประเภทบ้าง ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย

เครื่องพ่นยา เครื่องพ่นปุ๋ย คืออะไร?

เครื่องพ่นยาและเครื่องพ่นปุ๋ย เป็นอุปกรณ์การเกษตรในรูปแบบเครื่องจักรกล ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มแรงดันของเหลว เพื่อฉีดพ่นของเหลวจากถังเก็บ ผ่านระบบประปา และออกไปยังหัวฉีดพ่น โดยหัวฉีด จะทำการออกแบบ เพื่อให้มีลักษณะเป็นละอองฝอย

211027-Content-เครื่องพ่นยา-เครื่องพ่นปุ๋ย-02

อุปกรณ์เครื่องพ่นยา เครื่องพ่นปุ๋ย มีอะไรบ้าง?

  • ถัง

เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพ่นยา หรือเครื่องพ่นปุ๋ย ที่บรรจุสารเคมีเหลว เช่น ยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดวัชพืช เติมสารเคมีที่คุณเลือกลงในถังก่อนใช้เครื่องพ่นปุ๋ย สำหรับควบคุมศัตรูพืช ปริมาตรของถังจะแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น และโดยทั่วไป จะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 2-5.5 แกลลอน ความจุที่คุณเลือก จะขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของคุณ เช่น พื้นที่ ระยะทางที่คุณต้องใช้ เป็นต้น

Sponsored (โฆษณา)
211027-Content-เครื่องพ่นยา-เครื่องพ่นปุ๋ย-03

(ภาพจาก : https://toolmartonline.com)

  • ปั๊มบนเครื่องพ่นปุ๋ย

มักจะใช้มือโดยใช้คันโยก สิ่งนี้จะทำให้เกิดแรงกดดันต่อถัง ทำให้สารเคมีที่เป็นของเหลวภายในถูกขับออกมาอย่างแรงเป็นละอองละเอียด คุณจะต้องปั๊มที่จับอย่างต่อเนื่องในขณะที่ฉีดพ่น เพื่อรักษาแรงดัน และให้ยาฆ่าแมลงไหล

  • ด้ามพ่นปุ๋ย

เป็นท่อกลวงที่ยื่นออกมาจากถังของเครื่องพ่นปุ๋ย และใช้ในการจ่ายยาฆ่าแมลงภายใน สามารถติดหัวฉีดเข้ากับก้านฉีด เพื่อสร้างละออง และจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสารเคมี และปริมาณที่คุณต้องการจ่ายนั่นเอง

  • หัวฉีด

ติดอยู่ที่ปลายก้านฉีด และเปลี่ยนหัวฉีดของสารกำจัดศัตรูพืชให้เป็นละอองเมื่อฉีดพ่น หัวฉีด มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีที่คุณใช้ หัวฉีดทรงกรวยกลวง มักใช้สำหรับยาฆ่าแมลง ในขณะที่หัวฉีดแบบพัดลมมักใช้สำหรับสารกำจัดวัชพืช

  • สายรัดหรือสายรัดของเครื่องพ่นปุ๋ย

มีไว้เพื่อให้เข้าที่อย่างแน่นหนาระหว่างการใช้งาน สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีทั้งทนทานและสบาย โดยเฉพาะถ้าคุณมีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ต้องบำบัด และจะใช้เครื่องพ่นปุ๋ยเป็นเวลานาน

Sponsored (โฆษณา)

ประเภทเครื่องพ่นยา เครื่องพ่นปุ๋ย มีแบบไหนบ้าง?

เครื่องพ่นปุ๋ย หรือเครื่องพ่นยา แบ่งได้หลายรูปแบบตามการใช้งาน เครื่องพ่นแบบมือโยก (Accumulation type), เครื่องพ่นแบบแบตเตอรี่ (Battery Type),  เครื่องพ่นแบบใช้เครื่องยนต์ (Engine Type) และเครื่องพ่นแบบไฟฟ้า (Electric Type)

เครื่องพ่นปุ๋ยหรือเครื่องพ่นยา สามารถเลือกซื้อได้ โดยคำนึงจากเหตุผล ดังนี้

  1. รูปแบบการขับของเหลว : วิธีการขับของของน้ำ
  2. ประเภทแหล่งพลังงาน : วิธีที่ทำให้เครื่องจักรกลเดินเครื่อง
  3. อัตราการไหลของของไหล : ความต้องการปริมาณน้ำที่พ่นออกมา
  4. วัสดุตัวปั๊ม : วัสดุที่รองรับการกัดกร่อนของของเหลว
  5. วัสดุปะเก็น : ซีลโอริงของตัวปั๊ม

👉 เครื่องพ่นยามือโยก (Accumulation type)

เป็นเครื่องมือที่คนไทยนิยมใช้มากสุดในปัจจุบัน ลักษณะถังขนาดใหญ่สำหรับเก็บเก็บยา หรือปุ๋ยหมักชีวภาพ ขนาดถังมีให้เลือกตั้งแต่ 1ลิตร ขึ้นไป ถังเก็บสารเคมีทำจากพลาสติกที่ทนทาน ป้องกันสารเคมีได้ และมีขันโยกสำหรับโยกให้เกิดแรงดันอากาศภายในถัง และพ่นออกมาที่หัวฉีดพ่นยา เครื่องพ่นยามือโยก มีหลายแบบและหลายขนาดให้เลือกตามความเหมาะสม

การทำงานเบื้องต้นของเครื่องพ่นยา เป็นระบบที่ใช้แรงดันในการพ่น เช่น เครื่องพ่นยามือโยก คือ เครื่องที่ใช้การโยกสร้างรงดันภายในถังให้เกิดแรงดันและดันปุ๋ย หรือยาออกทางหัวฉีด แรงดันที่เกิดขึ้นมาก-น้อยขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานที่ได้มา โยกมือ มีข้อจำกัดในการโยกที่สร้างแรงดัน เครื่องพ่นยาแบตเตอรี่ จะได้แรงดันที่มากกว่าการโยกด้วยมือ

211027-Content-เครื่องพ่นยา-เครื่องพ่นปุ๋ย-04

เลือกขนาดถัง ให้เหมาะกับงาน ทั้งนี้ การเลือกขนาดถังขึ้นอยู่กับความต้องการ และความเหมาะสมของผู้ใช้งาน

  • เครื่องพ่นยา 5 ลิตร เหมาะกับการดูแลสวน ขนาดเล็ก-กลาง งานฉีดน้ำ รดน้ำต้นไม้และพืชผักได้
  • เครื่องพ่นยา 10 ลิตร เหมาะสำหรับการฉีดพ่นยา พ่นปุ๋ย พ่นน้ำให้กับพืชผลทางการเกษตร
  • เครื่องพ่นยา 12 ลิตร เป็นขนาดที่ผู้หญิงสามารถใช้ได้ สามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์
  • เครื่องพ่นยา 16 ลิตร เหมาะสำหรับฉีดพ่นปุ๋ย สารเคมี และน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือพ่นต่าง ๆ
  • เครื่องพ่นยา 18 ลิตร เหมาะสำหรับใช้ในการพ่นปุ๋ย  สารฆ่าแมลง ปลวก มด ในบริเวณบ้าน หรือสวนขนาดเล็ก
  • เครื่องพ่นยา 20 ลิตร เหมาะฉีดพ่นยาฆ่าแมลง พ่นปุ๋ย สารอาหาร หรือพ่นน้ำสะอาด
Sponsored (โฆษณา)

👉 เครื่องพ่นยาแบตเตอรี่ (Battery Type)

เป็นเครื่องที่ใช้แบตเตอรี่ หรือแบตเตอรี่ที่ได้จากการชาร์จไฟเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน ตัวเครื่องที่น้ำหนักเบา ไม่ต้องใช้มือโยก หรือน้ำมัน สามารถปรับแรงดันน้ำ ใช้งานง่าย เปิด-ปิดสวิตซ์ สามารถใช้งานได้เลย เหมาะกับงานสวน หรือไร่ผลไม้ ลักษณะของเครื่องพ่นยาแบตเตอรี่ มีถังเก็บยา หรือปุ๋ย บริเวณด้านหลังของผู้ใช้งาน สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง และขนาดถังมีให้เลือกหลายขนาดตามความเหมาะสม ตั้งแต่ 1 ลิตร ขึ้นไป และมีเครื่องพ่นยาแบตเตอรี่ ที่เป็นเครื่องพ่นยาที่มอเตอร์ปั๊มคู่ ช่วยเพิ่มความเร็วของการปั๊ม ทั้งนี้ยังมีเครื่องที่สามารถใช้งานทั้งแบตเตอรี่ และใช้มือโยกได้ เรียกว่า เครื่องพ่นยา 2 ระบบ เช่น เครื่องพ่นยาแบตเตอรี่ 2in1 ZAPP ZP-HS16M เป็นเครื่องพ่นยา 2 ระบบขนาดถัง 16 ลิตร แรงดันน้ำ 0.15-0.4Mpa สามารถปรับแรงดันได้ง่ายเพียงแค่หมุนปรับที่มือได้เลย ช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว พ่นได้ในระยะที่ไกล และยังสร้างแรงดันในการปั๊มได้ถึง 3.6ลิตร/นาที

211027-Content-เครื่องพ่นยา-เครื่องพ่นปุ๋ย-05

👉 เครื่องพ่นยาแบบเครื่องยนต์ (Engine Type)

ทำงานด้วยระบบเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อน (ออโตลูป) มีให้เลือกใช้งาน 3 แบบ เครื่องพ่นยาแบบพกพา เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง และเครื่องพ่นยา 3 สูบ เครื่องพ่นยาแบบเครื่องยนต์เมื่อเทียบกับเครื่องพ่นยาชนิดอื่น เครื่องพ่นยาแบบเครื่องยนต์โดดเด่นเรื่อง การฉีดที่ไกลและมีความแรงของการพ่น แต่ก็มีข้อเสีย คือ ราคาที่สูง เหมาะสำหรับเกษตรกร ชาวสวน หรือพื้นที่การเกษตรที่กว้าง

Sponsored (โฆษณา)

👉 เครื่องพ่นยาแบบพกพา

เป็นขนาดที่เหมาะพกพาไปทำงาน ยกหรือเคลื่อนย้ายได้สะดวก ความแรงของน้ำขึ้นอยู่กับหัวพ่นแล้วเครื่องยนต์ที่เลือกใช้งาน โดยหัวพ่นของเครื่องพ่นยาแบบพกพา มีขนาดที่เล็กที่ออกแบบให้สามารถพกพา ทำงานได้สะดวก ส่วนเครื่องยนต์ที่ใช้กับเครื่องพ่นยาแบบพกพา มีให้เลือกแบบเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ และ4 จังหวะ ให้เลือกแต่ความเหมาะสมของขนาดหัวพ่น โดยทั่วไปแล้วเครื่องพ่นยาแบบพกพา นิยมใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะ สำหรับใช้ร่วมกัน

211027-Content-เครื่องพ่นยา-เครื่องพ่นปุ๋ย-06

👉 เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง

ลักษณะเป็นถังขนาดใหญ่ทำจากพลาสติก แข็งแรง ด้านใต้ถังเป็นเครื่องยนต์ และมาพร้อมกับสายพ่น และด้ามพ่นยา เครื่องพ่นยาแบบสะพายหลัง ละอองที่ออกมามีปริมาณมาก และถังสามารถเก็บสาร หรือปุ๋ยได้เยอะ ใช้เครื่องยนต์เบนซินเป็นตัวขับเคลื่อน อัตราการไหลของน้ำสูงและระยะไกล มีขนาดถังให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งาน ในปัจจุบัน เครื่องพ่นยา 2 จังหวะ นิยมใช้กับเครื่องพ่นยาสะพายหลัง เพราะเครื่องยนต์มีน้ำหนักที่เบา มีปัญหาน้อยกว่า และสตาร์ทง่าย ให้อัตราการสูงที่พอดีกับเครื่องพ่นยา

เครื่องพ่นยา 3 สูบ เป็นเครื่องพ่นยาที่เหมาะกับการใช้งานในระยะไกล หรือพื้นที่กว้าง เช่น ไร่ สวนเป็นต้น โดยระบบหัวพ่นมีลูกสูบ 3 ลูกสูบ ช่วยเพิ่มแรงดันในการปั๊มที่สูงและรวดเร็ว

  • เครื่องพ่นยา 2 จังหวะ เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 2 จังหวะ ระบบทำงานเครื่องยนต์ 2 ช่วง คือ ดูด อัด และระเบิด คาย ใช้ลูกสูบเดียวทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เร็ว รอบจัดกว่า เครื่องยนต์ 4 จังหวะ  การใช้งานไม่ยุ่งยาก
  • เครื่องพ่นยา 4 จังหวะ เป็นเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ คือ ดูด อัด ระเบิด คาย จะทำงานภายใต้การหมุนของเครื่องยนต์ 2 รอบ ทำให้การเผาไหม้ดีกว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ใช้งานได้ต่อเนื่อง

👉 เครื่องพ่นยาไฟฟ้า (Electric Type)

เครื่องที่มอเตอร์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ เป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน สามารถใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าตามบ้านได้เลย เครื่องพ่นยาไฟฟ้ามีถังสำหรับเก็บสารเคมี หรือปุ๋ย ที่สามารถเลือกขนาดของถังได้ ผลิตจากพลาสติกโพลีเอทิลีน ทนทาน แข็งแรง เป็นขนาดที่พกพาได้สะดวก และใช้งานง่ายเพียงเปิด-ปิดสวิตซ์

👉 เครื่องพ่นยาติดท้ายรถแทรกเตอร์ (Air-blast)

เป็นเครื่องพ่นยาติดท้ายรถแทรกเตอร์ เป็นรถเครื่องจักรกลเกษตร ที่มีขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ที่คนสามารถขับทำงานได้ เหมาะสำหรับการพ่นพื้นที่ ไร่ สวน เครื่องพ่นยาติดท้ายรถแทรกเตอร์ มีความปลอดภัยสูง และทำงานได้ในปริมาณมาก รวดเร็ว สามารถใช้พ่นฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ หรือไร่นาข้าว

วิธีบำรุงรักษาเครื่องพ่นยา

  1. ล้างน้ำยาที่เหลืออยู่ออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด หลังการใช้งาน
  2. ชโลมน้ำมันหล่อลื่นที่ส่วนที่เป็นโลหะ และบริเวณที่ติดตั้งลูกสูบ

การเลือกซื้อเครื่องพ่นยา

เครื่องพ่นยาควรเลือกซื้อให้เหมาะกับงานว่าเราจะใช้ฉีดพ่นพื้นที่เยอะไหม ถ้าใช้กับพื้นที่มาก ๆ ควรเลือกใช้แบบใส่รถเข็น ช่วยผ่อนแรงได้มาก หรือเลือกใช้แบบเครื่องยนต์แล้วใช้สายยาว ๆ ต่อ แต่ถ้าเอาไว้ฉีดพ่นเฉพาะงาน ฉีดพ่นฮอร์โมนธรรมดาจำนวนไม่เยอะก็ใช้แบบมือโยก แบบสะพายหลังได้ มีขนาดถังบรรจุถังใหญ่บรรจุน้ำได้มาก แต่น้ำหนักย่อมมากตาม ถังเล็กใช้สะดวก น้ำหนักไม่มาก เหมาะกับพื้นที่น้อยแต่ถ้าใช้แบบแปลงใหญ่ ๆ นาข้าว ก็ควรใช้แบบแบตเตอรี่ หรือเครื่องยนต์ไปเลยจะได้คุ้มค่า เครื่องพ่นยาจะมีตั้งแต่ขนาด  1 ลิตรขึ้นไปถึงขนาดสูงสุด 50 ลิตร

รู้ไหม? อุปกรณ์เสริมสำหรับเครื่องพ่นยา อาจจะช่วยทุ่นแรงได้นะ

เครื่องพ่นยานอกจากเลือกยี่ห้อเครื่องพ่นยา ขนาดถัง หัวพ่น และแหล่งพลังงาน จึงต้องมีอุปกรณ์เสริมที่ดี ช่วยเครื่องพ่นยาให้ใช้งานได้เหมาะสม และเต็มกำลังของเครื่อง มีเครื่องพ่นยาและอุปกรณ์เสริมที่ดี ช่วยทุ่นแรงได้เป็นอย่างมาก และอุปกรณ์ที่สามารถหาซื้อเสริมได้

  • สายพ่นยา
  • ก้านพ่นยา
  • แท่นวางเครื่องพ่นยา
  • ข้อต่อสายพ่นยา
  • ตัวกรองสิ่งสกปรกสำหรับก้านพ่นยา