ถุงที่ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศ มีแบบไหนบ้าง เลือกอย่างไรให้เหมาะ?

อัปเดตเมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2025

ถุงที่ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศ มีแบบไหนบ้าง เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน?

คัดลอกลิงก์

ถุงที่ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศ มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องซีลสูญญากาศและคุณภาพของอาหารที่เก็บรักษาไว้ บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่า ทำไมต้องเลือกถุงที่ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศโดยเฉพาะ ถุงซีลแต่ละแบบต่างกันยังไง แล้วต้องใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศประเภทไหนบ้าง เรามีคำตอบมาให้แล้ว

ทำไมต้องเลือก ถุงที่ใช้กับเครื่องซีล โดยเฉพาะ?

ถุงพลาสติกทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศได้ เพราะไม่มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อแรงดูดอากาศและอาจเกิดการฉีกขาดหรือรั่วซึมได้ง่าย ทำให้สูญเสียสูญญากาศและอาหารเสื่อมสภาพ ดังนั้นจึงควรใช้ถุงสำหรับเครื่องซีลสูญญากาศโดยเฉพาะ ซึ่ง ถุงที่ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศ ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติพิเศษดังนี้

    • ทนทานต่อแรงดูดอากาศสูง ถุงที่ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศ ผลิตจากวัสดุที่มีความหนาและเหนียวเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการฉีกขาดเมื่อเครื่องดูดอากาศออก
    • ป้องกันอากาศเข้าได้ดีเยี่ยม มีโครงสร้างหลายชั้น ช่วยป้องกันออกซิเจนและความชื้นจากภายนอกเข้าสู่ถุง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเน่าเสียของอาหาร
    • ทนทานต่ออุณหภูมิ สามารถนำเข้าช่องแช่แข็งหรืออุ่นในไมโครเวฟได้ (สำหรับถุงบางประเภท) โดยไม่เป็นอันตรายต่ออาหาร
    • Food Grade ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัยสำหรับการสัมผัสอาหาร ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน

ถุงที่ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศ มีกี่แบบ?

ไม่ใช่ถุงทุกแบบจะเข้ากับเครื่องซีลสูญญากาศทุกประเภทได้ ควรตรวจสอบ ประเภทของ ถุงที่ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศ ให้เหมาะกับอาหารหรือวัตถุดิบ และตรวจสอบว่า ประเภทของเครื่องซีลสูญญากาศ แต่ละประเภทเหมาะกับถุงซีลสูญญากาศแบบไหน

  • เป็นถุงซีลชนิดที่ราคาถูก และเป็นที่นิยมที่สุด ผลิตจากพลาสติก PE/PET ความหนา 170-180 ไมครอน มีความเหนียว ทนทาน ลักษณะเป็นถุงเนื้อเรียบ โปร่งใส ไม่มีลาย ใช้งานได้ตั้งแต่อุณภูมิ 0-80 องศา
  • เหมาะสำหรับบรรจุ อาหารทั่วไป เช่น เนื้อสัตว์, ผัก, ผลไม้, อาหารแปรรูป, น้ำจิ้ม
  • ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศแบบลิ้นดูด, เครื่องซีลแบบห้องสูญญากาศ
ถุงซีลแบบเรียบ
  • ผลิตจากพลาสติก PA/PE ความหนา 180 ไมครอน ลักษณะถุงซีล มีปุ่มนูนด้านหลังของถุง เพื่อช่วยให้อากาศไหลออกมาขณะทำการดูดสูญญากาศ โดดเด่นเรื่องทนต่ออุณหภูมิ และการป้องกันการรั่วซึมได้ดี ใช้งานได้ตั้งแต่อุณภูมิ -20 ถึง 100 องศา
  • เหมาะสำหรับบรรจุอาหารทั่วไป เช่น เนื้อสัตว์, อาหารทะเล, ผัก, ผลไม้ หรืออาหารแปรรูปที่ต้องการกำจัดของเหลวออกจากบรรจุภัณฑ์
  • ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศจากภายนอก, เครื่องซีลแบบห้องสูญญากาศ
ถุงซีลแบบลายนูน
  • ถุงไนล่อน ผลิตจากพลาสติก PA/PE เนื้อแบบเรียบผสมไนล่อน เป็นถุงซีลที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการนำไปแช่แข็งโดยเฉพาะ มีลักษณะเด่นคือ ความเหนียว และทนทาน มากกว่าถุงซีลชนิดอื่น ๆ เพราะสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ตั้งแต่ -30 องศา ถึง 100 องศา ทำให้หมดปัญหาถุงซีลกรอบ แตก รั่วจากความเย็นในห้องแช่แข็ง
  • เหมาะกับการบรรจุเพื่อนำไปแช่แข็งโดยเฉพาะ
  • ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศแบบลิ้นดูด, เครื่องซีลแบบห้องสูญญากาศ
ถุงซีลไนลอน
  • ผลิตจากพลาสติก PA/PE มีความหนาสูงถึง 200 ไมครอน เป็นถุงซีลพับข้างแบบเรียบ มาพร้อมแถบลายนูน สำหรับดูดสูญญากาศ นิยมใช้ซีลข้าวสาร คู่กับ บล็อกข้าว เพื่อให้ได้ทรงตั้งวางได้ นอกจากนี้ยังทำให้บรรจุภัณฑ์มีความสวยงาม ช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ และยังง่ายต่อการจัดเก็บ การขนส่งอีกด้วย
  • เหมาะกับการบรรจุข้าวสาร ธัญพืช ใบชา หรือวัตถุดิบประเภทบล็อก
  • ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศแบบลิ้นดูด, เครื่องซีลแบบห้องสูญญากาศ
ถุงซีลแบบจีบข้าง
  • เป็นถุงชนิดเดียวกับถุงลายนูน แต่มาในรูปแบบม้วน สามารถตัดแบ่งซีลตามขนาดของสินค้าที่ต้องการได้
  • เหมาะสำหรับบรรจุอาหารทั่วไป และบรรจุสินค้าที่ขนาดไม่เท่ากัน
  • ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศจากภายนอก, เครื่องซีลแบบห้องสูญญากาศ
ถุงซีลแบบม้วน

การเลือก ถุงที่ใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศ อย่างเหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยยืดอายุอาหาร แต่ยังช่วยให้คุณสามารถถนอมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลต่อความสะดวกในการใช้งานและความปลอดภัยของผู้บริโภค

หากคุณกำลังมองหาวิธีเก็บอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ บอกเลยว่าการลงทุนใน ถุงซีลสูญญากาศที่มีมาตรฐาน Food Grade และ เครื่องซีลสูญญากาศคุณภาพดี คือทางเลือกที่คุ้มค่าในระยะยาว🥰

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น (Comments)

0 0 โหวต
Article Rating
guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด