FAQs เครื่องซีลสูญญากาศ รวมคำถามที่หลายคนสงสัย

โพสต์เมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2024

คำถามที่พบบ่อย เครื่องซีลสูญญากาศ

รวมคำถามที่พบบ่อย “เครื่องซีลสูญญากาศ”

เครื่องซีล คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการปิดผนึกถุงบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาคุณภาพของวัตถุดิบหรือสินค้า ทั้งยังช่วยป้องกันฝุ่นละออง แมลง และสิ่งสกปรก ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องซีลระบบสุญญากาศขึ้นมา ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีสำหรับการดึงเอาอากาศภายในบรรจุภัณฑ์ออก แล้วซีลปิดผนึกปากถุงไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปได้

ส่วนมาก เครื่องซีลสุญญกาศ มักถูกใช้ประโยชน์ในด้านของการเก็บรักษาวัตถุดิบประกอบอาหาร เพราะสามารถกำจัดออกซิเจนออกจากบรรจุภัณฑ์ อันเป็นสาเหตุของการเน่าเสียได้ อีกทั้งยังสามารถคงคุณประโยชน์และคุณภาพ ลดกลิ่นเหม็นหืน ทั้งยังช่วยยืดอายุอาหารได้ถึง 3 เท่า แถมช่วยให้การหมักปรุงเข้าเนื้อเข้มข้นขึ้นและประหยัดพื้นที่จัดเก็บมากขึ้นด้วย!

การเลือกซื้อเครื่องซีลสุญญากาศสักเครื่องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งงบประมาณ ความต้องการเฉพาะ และคุณสมบัติของเครื่องซีลสุญญากาศที่เหมาะสม SGE จึงพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้วยเครื่องซีลสุญญากาศคุณภาพ ทนทาน ใช้งานง่าย และมีให้เลือกหลากหลายรุ่น ตั้งแต่รุ่นครัวเรือน ไปจนถึงรุ่นในงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

VC-ECO GEN2 VCS
รุ่นครัวเรือน รุ่นกึ่งอุตสาหกรรม รุ่นอุตสาหกรรม
VC01, VCX , VCZ ,VC77 VCECO , EVO , VC88 VCS, VCE , VC991, VCC02 , VCC03 , VCC05 , VC100
เหมาะสำหรับ การใช้งานภายในบ้าน มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้ ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก เหมาะสำหรับ การใช้งานในธุรกิจขนาดย่อม ช่วยประหยัดต้นทุน และเพิ่มกำลังผลิตจากรุ่นครัวเรือน เหมาะสำหรับ ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ต้องการความรวดเร็ว ปริมาณชิ้นงาน และรอบการทำงานต่อเนื่องที่ยาวนาน
สำหรับซีลสุญญากาศของแห้งเท่านั้น ไม่สามารถซีลของเหลวที่เป็นน้ำได้ สามารถใช้ซีลสุญญากาศของเหลวที่เป็นน้ำได้ รองรับการซีลสุญญากาศสินค้าทุกประเภท เช่น ของเหลวอย่างน้ำซุป หรือผงละเอียดอย่างแป้ง พริกไทยป่น เป็นต้น
สามารถใช้งานร่วมกับถุงลายนูน / ถุงจีบข้าง / บล็อคข้าวได้ สามารถใช้งานร่วมกับถุงสุญญากาศลายเรียบได้ทุกชนิด เช่น ถุงเรียบ / ถุงไนลอน / ถุงคราฟท์ / ถุงฟอยล์ ทำให้ช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่า สามารถรองรับการซีลสุญญากาศกับถุงทุกชนิด
มีกำลังผลิตประมาณ 30-50 ถุง/วัน มีกำลังผลิตสูงกว่า 100 ถุง/วัน มีกำลังการผลิตที่สูงถึง 200-1000 ถุง/วัน

เรียกได้ว่าในปัจจุบันนี้ สินค้าหลาย ๆ ประเภทหันมานิยมใช้ การซีลสูญญากาศ ในการบรรจุผลิตภัณฑ์กันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร ที่ได้รับการตอบโจทย์ในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

  1. ดีต่อการรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ เพราะช่วยคงความสด คุณภาพและคุณประโยชน์ของวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี
  2. ช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาวัตถุดิบได้นานขึ้นสูงถึง 5 เท่า!
  3. ภายในบรรจุภัณฑ์จะไร้ออกซิเจน เมื่อบรรจุภัณฑ์ถูกทำการสูญญากาศแล้ว อันเป็นหนึ่งในปัจจัยการเน่าเสียของอาหาร และเป็นสาเหตุการเจริญเติบโตของมอดแมลง
  4. ป้องกันสาเหตุมอดและแมลงทำลายเมล็ดข้าว เมล็ดธัญพืช หรือทำให้สินค้าเสียหาย
  5. ช่วยลดปัญหาการเกิดกลิ่นเหม็นหืน ที่พบบ่อยเมื่อสินค้าถูกเก็บไว้นาน
  6. ป้องกันสินค้าเกิดความชื้น สาเหตุที่ก่อให้เกิดการขึ้นรา
  7. มดปัญหาการขนส่งระยะไกล เพราะการซีลสูญญากาศจะช่วยคงคุณภาพ ยืดอายุวัตถุดิบ และป้องกันการรั่วซึมได้อย่างยอดเยี่ยม
  8. ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ เพราะสินค้าจะแลดูสดใหม่ และถูกบรรจุสูญญากาศมาอย่างเป็นระเบียบ

การเลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศสักเครื่อง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งงบประมาณ ความต้องการเฉพาะ และคุณสมบัติของเครื่องซีลสุญญากาศที่เหมาะสม ซึ่งตรงกับแนวคิดของ SGE ที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ใช้งานง่าย ทนทาน และมีหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้ พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการตั้งแต่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

เครื่องซีลสูญญากาศของ SGE สินค้าคุณภาพระดับมาตราฐานอุตสาหกรรม การันตีอันดับ 1 บน Google และยืนยันจากเสียงผู้ใช้จริงมากกว่า 100,000 รายทั่วประเทศ ที่นอกจากจะทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน พร้อมรับประกันคุณภาพสินค้า และบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม มั่นใจได้เลยว่าเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าแก่การเลือกซื้อและใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน

ขอแนะนำ เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGETHAI มีให้เลือกหลากหลายรุ่น เพื่อตอบทุกโจทย์การใช้งานในธุรกิจ SME ทั้งขนาดย่อม และขนาดกลาง ตั้งแต่รุ่นครัวเรือน ไปจนถึงรุ่นอุตสาหกรรมระดับใหญ่ พร้อมรับประกันหลังการขายครบวงจร ดูแลตลอดอายุการใช้งาน ทดลองฟรีด้วยตัวเองได้แล้ววันนี้!

พื้นที่เก็บรักษา อาหาร อุณหภูมิ การเก็บรักษาแบบปกติ การเก็บรักษาโดยใช้เครื่องสุญญากาศ
ตู้เย็น เนื้อสัตว์ 5±3°C 2~3 วัน 8~9 วัน
ปลา/อาหารทะเล 1~3 วัน 4~5 วัน
เนื้อสัตว์ปรุงสุก 4~6 วัน 10~14 วัน
ผัก 3~5 วัน 7~10 วัน
ผลไม้ 5~7 วัน 14~20 วัน
ไข่ 10~15 วัน 30~50 วัน
ช่องแช่แข็ง เนื้อสัตว์ -16~-20°C 3~5 เดือน > 1 ปี
ปลา
อาหารทะเล
อุณหภูมิห้อง ขนมปัง 25±2°C 1~2 วัน 6~8 วัน
บิสกิต 3~5 เดือน > 1 ปี
ข้าวสาร/แป้ง
เมล็ดถั่ว/ธัญพืช

สำหรับการเลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศนั้น นอกจากเรื่องคุณสมบัติของตัวเครื่อง และราคาแล้ว การเลือกซื้อให้เหมาะกับการใช้งานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์อย่างเครื่องซีลสุญญากาศได้ บทความนี้จึงขอชวนทุกท่านที่กำลังลังเลจะซื้อเครื่องซีลสูญญากาศ มาเช็กลิสต์วิธีการเลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศ ดังนี้

  1. เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญกาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยประเมินทั้งจากราคา และคุณสมบัติของตัวเครื่อง
  2. เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศอเนกประสงค์ ที่สามารถซีลได้ทั้งแบบแห้งและแบบเปียก
  3. เลือกซื้อโดยคำนึงถึงกำลังการผลิตต่อวัน หากใช้เครื่องซีลสูญญากาศสำหรับการทำงานระดับอุตสาหกรรม ควรเลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศที่ทำงานรวดเร็ว และสามารถใช้งานเครื่องได้ต่อเนื่อง
  4. เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศ ที่มีแถบซีลปิดผนึกปากถุงแน่นหนา ไร้ปัญหาการรั่วซึมของอากาศและของเหลว
  5. เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศ ที่สามารถทุ่นแรง ทุ่นเวลาได้ดี
  6. เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศที่มีการรับรองและรับประกันตัวเครื่อง เผื่อเกิดเหตุปัญหาขัดข้อง จะได้สามารถเปลี่ยนอะไหล่หรือเปลี่ยนเครื่องได้ทุกเมื่อ
  7. เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพดี จากร้านค้าหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ

วิธีทำความสะอาดตัวเครื่อง

  • ถอดปลั๊กเครื่องก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง
  • อย่าแช่น้ำหรือของเหลวอื่น ๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเพื่อทำความสะอาดตัวเครื่อง
  • ใช้สบู่ล้างจานสูตรอ่อนโยนและผ้าชุบน้ำหมาด เช็ดเศษอาหารและสารตกค้างรอบ ๆ ตัวเครื่อง
  • ใช้ผ้าแห้งที่สะอาดเช็ดเครื่องให้แห้งก่อนใช้งานอีกครั้ง

วิธีทำความสะอาดระบบแท็งก์สูญญกากาศ

เมื่อท่ออากาศอุดตัน และมีความสามารถในการสูบสูญญากาศลดลง การใช้น้ำเพื่อทำความสะอาดท่ออากาศ สามารถทำได้ดังนี้

  1. เตรียมน้ำอุ่นประมาณ 50cc
  2. จากนั้นให้ต่อท่อสุญญากาศกับตัวเครื่อง โดยให้ปลายอีกด้านอยู่ในน้ำอุ่นที่เตรียมไว้
  3. กดปุ่มเพื่อดูดสุญญากาศและชะล้าง น้ำจะถูกสูบลงไปในแท็งก์รองของเหลว
  4. คำเตือน: ระดับน้ำสูงสุดของแท็งก์รองของเหลว ไม่ควรเกินเส้นที่กำหนดไว้

วิธีการทำความสะอาดลิ้นดูดสุญญากาศ

  1. พลิกเครื่อง แล้วเลื่อนเปิดฝาที่ใต้เครื่องออก
  2. จากนั้นให้ถอดฝาซิลิโคนบนข้อต่อลิ้นดูดออก ใส่น้ำยาล้างเข้าไปในลิ้นดูด จากนั้นให้ดัน และดึงลิ้นดูดสุญญากาศไปมา เพื่อดันเศษสกปรกต่าง ๆ ไปที่ลิ้นดูด
  3. จากนั้นให้เทสิ่งสกปรกออก และทำความสะอาดลิ้นดูดสุญญกากาศให้เรียบร้อย
  4. หลังจากทำความสะอาดแล้ว ให้สวมฝาซิลิโคนบนลิ้นดูดสุญญากาศให้แน่น (ใช้นิ้วกดตามฝาซิลิโคน โดยกดให้รอบ) จนแน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหลระหว่างฝาซิลิโคน และลิ้นดูด
  5. จากนั้นปิดฝาครอบทำความสะอาดลิ้นดูด จึงจะสามารถเริ่มใช้งานได้

ในด้านของการดูแลรักษา นั้นเรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เครื่องซีลสูญญากาศมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอย่างแท้จริง โดยข้อแนะนำสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องซีลสูญญากาศ มีดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการใช้งานเครื่องซีลสูญญากาศเป็นระยะเวลายาวนาน ติดต่อกันหลายครั้ง
  2. ควรเว้นเวลาให้เครื่องซีลสูญญากาศได้พักเครื่องคลายความร้อนบ้าง
  3. เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานแล้ว ควรเปิดฝาเครื่องซีลสูญญากาศทิ้งไว้ให้คลายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิของตัวเครื่อง ก่อนเริ่มทำความสะอาดและจัดเก็บเครื่องซีลสูญญากาศให้เรียบร้อย
  4. เมื่อไม่ได้ใช้งาน ควรเก็บเครื่องซีลสูญญากาศให้อยู่ในสภาพที่ดี

เครื่องซีลถูกแบ่งประเภทออกตามระบบสุญญากาศหลัก ๆ ทั้งหมด 3 ระบบ ได้แก่ ระบบสุญญากาศจากภายนอก ระบบลิ้นดูดสุญญากาศ และระบบหลุมอากาศ โดยแต่ละระบบแตกต่างกันอย่างไร? SGE มีคำตอบมาให้แล้ว!

1. ระบบสุญญากาศจากภายนอก (External Vacuum Sealer)

มักเป็นระบบที่พบได้ในเครื่องซีลสุญญากาศขนาดเล็ก ลักษณะเป็นตัวปั๊มสุญญากาศขนาดเล็ก ไม่มีแท็งก์รองรับของเหลว เมื่อดูดอากาศออกจากถุงแล้วจะทำการซีลปิดปากถุงทันที จึงเหมาะกับใช้ในสินค้าแห้ง สินค้าที่มีขนาดเล็ก โดยเครื่องซีลสุญญากาศประเภทนี้จะรองรับเฉพาะถุงลายนูน และถุงจีบข้าง เท่านั้น เหมาะสำหรับใช้ในครัวเรือน หรือในธุรกิจขนาดย่อม

2. ระบบลิ้นดูดสุญญากาศ (Nozzle Vacuum Sealer)

เครื่องซีลสุญญากาศประเภทนี้จะมีลักษณะเด่น คือ แท่งเหล็กที่ยื่นออกมา หรือที่เรียกกันว่า “ลิ้นดูดสุญญากาศ” โดยมันจะมีหน้าที่ในการดูดอากาศและน้ำจากบรรจุภัณฑ์ออก โดยสามารถสังเกตเครื่องซีลสุญญากาศแต่ละเครื่องว่ามีฟังก์ชันรองรับการดูดของเหลวออกหรือไม่ ด้วยการสังเกตจากกล่องใสหรือแท็งก์รองรับของเหลวด้านหลังเครื่อง หากเครื่องมีแท็งก์รองรับของเหลวอยู่ แสดงว่าสามารถใช้ร่วมกับอาหารสด หรือสินค้าที่มีของเหลวได้ อย่างไม่ต้องกังวลปัญหาน้ำเข้าเครื่อง ซึ่งเครื่องซีลประเภทนี้รองรับถุงแบบเรียบได้ทุกชนิด แต่ไม่เหมาะในการใช้กับสินค้าประเภทน้ำจิ้ม หรือน้ำซุป

3. ระบบห้องสุญญากาศ (Chamber Vacuum Sealer)

เครื่องซีลสุญญากาศประเภทนี้จะมีลักษณะเด่นคือ เป็นตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในเป็นหลุม มีฝาใสครอบ รองรับการใช้งานถุงชนิด และรองรับการใช้งานสินค้าได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอาหารสด อาหารแห้ง ผงแป้ง น้ำซุป แกง หรือแม้แต่สินค้าที่มีความบอบบางสูง โดยเครื่องซีลประเภทนี้มีทั้งแบบตั้งพื้นและแบบตั้งโต๊ะ เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรม เพราะมีราคาสูง และสามารถรองรับการใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานกว่าเครื่องซีลประเภทอื่น ๆ

  • ถุงร้อนใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศได้ไหม?

คำตอบคือ ใช้ได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะว่าถุงร้อน-ถุงแกงทั่วไปที่ใช้กัน ถุงจะค่อนข้างบาง พลาสติกไม่เหนียว ทำให้ง่ายต่อการฉีกขาด ทะลุ หรือรั่วได้ ซึ่งเมื่อนำไปใช้กับการซีลสูญญากาศ แม้จะดูดอากาศออกได้เหมือนถุงชนิดอื่น แต่ก็อาจเกิดการรั่ว ฉีกขาดได้ในการขนส่ง จึงไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาบรรจุแบบสุญญากาศ แต่ก็สามารถนำมาใช้ในการซีลเพื่อปิดปากถุงได้

  • ถุงแก้วใช้กับเครื่องซีลสุญญากาศได้ไหม?

ถุงแก้วใช้กับเครื่องซีลสำหรับปิดผนึกปากถุงได้ แต่ไม่แนะนำให้ทำการซีลสุญญากาศ เพราะถุงแก้วมีลักษณะแข็ง คงรูป ไม่ยืดหยุ่น อาจทำให้เกิดการแตก รั่ว หรือทะลุได้

  • แล้วเครื่องซีลสุญญากาศควรใช้ถุงแบบไหน? ใช้กับถุงอะไรได้บ้าง?

1. ถุงเรียบแบบหนา (หนากว่าถุงร้อนทั่วไป)

ถุงนี้ไม่ใช่ถุงที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่องซีลโดยเฉพาะ แต่ก็สามารถนำมาใช้ทดแทนถุงซีลสุญญากาศได้ เพราะถุงชนิดนี้จะมีความหนาและความเหนียวมากกว่าถุงร้อนทั่วไป แต่ก็ยังมีความหนาและความเหนียวน้อยกว่าถุงสุญญากาศ โดยถุงชนิดนี้ได้แก่ ถุงเย็น PE (แบบหนา), ถุงฟอยด์, ถุงฟอยด์ซิปล็อก, ถุงคราฟท์ซิปล็อก

2. ถุงสุญญากาศ แบบเรียบ

ถุงชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อการบรรจุปิดปากถุงแบบสุญญากาศโดยเฉพาะ เนื่องจากถุงจะมีความเหนียวและหนาสูงถึง 80 ไมครอนขึ้นไป โดยจะผลิตออกเป็นไซส์มาตรฐานต่าง ๆ เช่น 6*6 นิ้ว, 7*11 นิ้ว, 8*12 นิ้ว และ 9*14 นิ้ว เป็นต้น

3. ถุงสุญญากาศ ลายนูน

ถุงชนิดนี้ก็ถูกออกแบบมาเพื่อการบรรจุปิดปากถุงสุญญากาศโดยเฉพาะเช่นกัน ซึ่งลักษณะเด่นคือด้านนึงของถุงจะมีลายนูน ไว้เพื่อทำให้อากาศไหลออกมาได้ง่ายในขณะที่ทำการสุญญากาศ โดยถุงชนิดนี้จะมีความเหนียวและหนาสูงถึง 80 ไมครอนขึ้นไป ในท้องตลาดมีขายทั้งแบบไซส์มาตรฐานสำเร็จรูป และแบบม้วนสำหรับตัดเองตามความต้องการ

ซึ่งความต่างของถุงสุญญากาศทั้งแบบเรียบและแบบลายนูน คือ การทนทานต่ออุณหภูมิการเก็บรักษา โดยถุงซีลสุญญากาศแบบเรียบสามารถแช่แข็งได้ถึง -17 องศา และทนความร้อนได้ถึง 80 องศา ส่วนถุงซีลสุญญากาศลายนูนสามารถแช่แข็งได้ถึง -20 องศา และทนความร้อนได้ถึง 100 องศา นั่นเอง

รุ่น VCX VCZ VC-ECO Gen2 VCC05-S
กระแสไฟ 220V 110V/240V 220V 220V/380V
ความถี่ 50-60Hz 60Hz 50-60Hz 50Hz
วัตต์ 110W 220W 120W 500W
แรงดันอากาศ -0.6bar -0.7bar -0.8bar -1bar
ขนาดเครื่อง (L*W*H) 37.5*11.5*7 ซม. 40*20*8.7 ซม. 36.5*14.8*7.2 ซม. 103*53*95 ซม.
น้ำหนักเครื่อง 0.92 กก. 3 กก. 1.6 กก. 140 กก.
ความหนาแถบซีล 3 มม. 3 มม. 3 มม. 10 มม. (2 เส้น)
ขนาดถุงที่รองรับ หน้ากว้าง 29 ซม. หน้ากว้าง 30 ซม. หน้ากว้าง 27 ซม. หน้ากว้าง 40 ซม.

เครื่องซีลสุญญากาศของ SGE มีให้เลือกซื้อหลายรุ่นหลายฟังก์ชัน ตามความชอบและความเหมาะสมของลูกค้าทุกท่าน โดยรุ่นครัวเรือนราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 690-2,290 บาท รุ่นกึ่งอุตสาหกรรมราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 3,200 – 4,990 บาท รุ่นอุตสาหกรรมราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 9,900 – 125,000 บาท

ขั้นตอนการใช้งานเครื่องซีลสุญญากาศ VC-ECO

  1. ปลดล็อกปุ่มทั้งสองข้างของตัวเครื่องออก เพื่อยกฝาครอบขึ้น
  2. กดปุ่ม Nozzle In/Out เพื่อยืดลิ้นดูดสุญญากาศออกมา จากนั้นให้สวมถุงซีลครอบลงไปบนลิ้นดูด วางปากถุงให้แนยกับแถบเทฟล่อน
  3. ปิดฝาครอบลงแล้วกดล็อกปุ่มทั้งสองข้างของตัวเครื่อง จากนั้นกดปุ่ม Start เพื่อเริ่มการดูดสูญญากาศ และเมื่ออากาศออกจากถุงจนหมด ให้กดปุ่ม Nozzle In/Out อีกครั้ง เพื่อหดลิ้นดูดกลับไป
  4. เครื่องจะเริ่มทำการซีลปากถุงให้โดยอัตโนมัติตามเวลาที่ตั้งไว้ รอจนมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้น แสดงว่าการซีลสุญญากาศเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  5. ปลดล็อกปุ่มทั้งสองข้างของตัวเครื่อง ยกฝาครอบขึ้นมา แล้วนำถุงสุญญากาศที่เสร็จเรียบร้อยแล้วออกมา เรียบร้อย!

สามารถอ่านวิธีการใช้งานเครื่องซีลสุญญากาศทุกประเภทได้ที่ วิธีใช้งานเครื่องซีลสูญญากาศ

ปัญหาที่พบ การวิเคราะห์สาเหตุ การแก้ไข
ระบบสุญญากาศของเครื่อง

ไม่ทำงาน

ตรวจสอบว่าหัวฉีดอุดตันหรือไม่ ทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างหัวฉีด ทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างหัวฉีด
ตรวจสอบว่าระบบอากาศรั่วหรือถูกปิดกั้นหรือไม่ เสียบข้อต่อท่อและตรวจสอบแถบฟองน้ำว่ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์
ฝาของแท็งก์รองของเหลวไม่ได้ถูกปิดให้แน่น ปิดฝาแท็งก์รองของเหลวให้แน่น เช็กให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหล
ถุงซีลอยู่ห่างจากลิ้นดูดมากเกินไป กดปุ่มหยุด แล้วขยับถุงซีลให้เข้าใกล้กับลิ้นดูดมากที่สุด
หลังจากถอดมาทำความสะอาด แล้ว ปิดฝาซิลิโคนบนข้อต่อหัวฉีดไม่แน่น ใช้นิ้วกดโดยรอบของฝาซิลิโคนบนข้อต่อหัวฉีดให้แน่น
แท็งก์รองของเหลวไม่ได้ประกอบเข้ากับตัวเครื่อง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เสียบท่อของแท็งก์รองของเหลวเข้ากับตัวเครื่องแล้ว
ตัวล็อคฝาครอบ ไม่ได้ล็อคสนิทดี เครื่องจะทำงานหลังจากตัวล็อคฝาครอบทั้งสองข้างปิดสนิทดีแล้วเท่านั้น

เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment