ต้นไทรใบสัก (Fiddle Leaf Fig)

255 Views

คัดลอกลิงก์

วิธีปลูก ต้นไทรใบสัก ดูแลยังไงให้ต้นสวย ใบเขียวสด ฟอกอากาศดี!

ต้นไทรใบสัก ต้นไม้ฟอกอากาศ สไตล์มินิมอล โดดเด่นด้วยใบสีเขียวสดเป็นธรรมชาติ แต่ขึ้นชื่อเรื่องปลูกและดูแลยาก

วันนี้ SGE จะมาแชร์วิธีปลูกยังไงให้รอด พร้อมบอกเทคนิคดูแลยังไงให้สวยแบบไม่กั๊ก จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย!

ต้นไทรใบสัก (Fiddle Leaf Fig) หรือ ไทรใบยอ ไทรใบซอ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus lyrata Warb.

ชื่อสามัญ: Fiddle-leaf fig

ชื่ออื่น: ไทรใบซอ ไทรใบยอ

วงศ์: MORACEAE

ชนิด: ไม้ยืนต้นใบกว้างไม่ผลัดใบ

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนของแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง

ต้นไทรใบสัก (Fiddle Leaf Fig) หรือ ไทรใบยอ ไทรใบซอ

ต้นไทรใบสัก ไทรใบยอ ไทรใบซอ (Fiddle Leaf Fig) เป็นต้นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ฟอร์มสวย ใบใหญ่ เส้นใบชัด ลำต้นตั้งตรงสูง ช่วยในการดูดซับฝุ่นและฟอกอากาศได้ดี ธรรมชาติของพืชชนิดนี้เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด ทนสภาพอากาศร้อนและร้อนชื้นได้ เหมาะกับการปลูกในประเทศไทย ต้นขนาดใหญ่นิยมปลูกในสวน เพิ่มความร่มรื่นเป็นธรรมชาติ ส่วนต้นที่มีขนาดเล็ก นิยมปลูกลงกระถาง เพื่อประดับตกแต่งทั้งภายในและนอกบ้าน ต้นไทรใบสัก เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตช้าถึงปานกลาง ชอบอยู่ในที่ที่มีแสงแดดร่ำไร อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ค่อยชอบน้ำ และเซนซิทีฟกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน ไม่ควรย้ายบ่อย หากปลูกในอาคาร ควรเลือกสถานที่ที่แสงแดดส่องถึง อากาศโปร่งสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว เช่น  ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องทำงาน ฯลฯ

ไทรใบซอ ใบมีลักษณะเหมือน “ซอ” ตามชื่อ Fiddle-leaf fig

สายพันธุ์ต้นไทรใบสัก   

สายพันธุ์ของไทรใบสักที่นิยมปลูก มี 2 สายพันธุ์ คือ ไทรใบสักแคระ (Ficus Lyrata Bambino) และ ไทรใบสักด่าง (Ficus Lyrata Variegated)

การขยายพันธุ์ 

วิธีปลูกและการขยายพันธุ์ไทรใบสักที่ได้รับความนิยมจะเป็น การเพาะเมล็ด การชำใบ และการตอนกิ่ง

ราคาต้นไทรใบสัก 

ราคาต้นไทรใบสักขึ้นอยู่กับขนาด สายพันธุ์ และความสวยงาม ราคาเริ่มต้นประมาณ 150 – 3,000 บาท

การใช้ประโยชน์

ต้นไทรเป็นไม้ประดับ ปลูกประดับในอาคาร ปลูกประดับสวน ปลูกเป็นไม้กระถาง ฟอกอากาศ

ความเชื่อ

ต้นไทรใบสัก เป็นต้นไม้มงคลเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า หากปลูกไว้ในบ้าน จะเสริมฮวงจุ้ย เพิ่มความเป็นสิริมงคลให้เจ้าของค้าขายร่ำรวยขึ้น

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีปลูก ต้นไทรใบสัก ปลูกยังไงไม่ให้ตาย

วิธีปลูก ต้นไทรใบสัก : ตอนกิ่ง

ต้นไทรใบสัก (Fiddle Leaf Fig) หรือ ไทรใบยอ ไทรใบซอ

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • ต้นไทรใบสักแม่พันธุ์
  • ขุยมะพร้าวแช่น้ำ
  • น้ำยาเร่งราก
  • มีดขนาดเล็ก หรือ คัตเตอร์
  • ถุงพลาสติกขนาดเล็ก และ หนังยาง
  • เคเบิ้ลไทร์ 2 เส้น (หากไม่มีใช้ฟางแทนได้)

ขั้นตอนการตอนกิ่ง

  1. บีบน้ำออกจากขุยมะพร้าวให้หมาด กรอกลงในถุงพลาสติก ใช้หนังยางรัดให้แน่น เตรียมไว้ (ขั้นตอนนี้หากมีตุ้มตอนกิ่งอยู่แล้ว สามารถข้ามได้)
  2. คัดเลือกกิ่งต้นไทรใบสักที่มีความสมบูรณ์ สีน้ำตาลปนเขียว ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
  3. เคลียร์กิ่งด้วยการตัดใบที่อยู่บริเวณนั้นออก ใช้มีดควั่นกิ่ง ความกว้าง 1 นิ้วครึ่ง – 2 นิ้ว
  4. ขูดเนื้อออกให้ลึกพอประมาณ จากนั้นใช้น้ำยาเร่งรากทาทิ้งไว้บาง ๆ
  5. ใช้มีดกรีดถุงพลาสติกตรงกลาง ค่อย ๆ แหวก แล้วนำไปทาบกิ่ง
  6. เลือกตำแหน่งให้แผลอยู่ตรงกลางถุง ใช้เคเบิ้ลไทร์รัดให้แน่น
  7.  รอประมาณ 30 -45 วัน รากจะออก พร้อมสำหรับปลูกลงกระถาง

การปลูกลงกระถาง 

เมื่อรากงอกแล้ว ให้นำไปปลูกในกระถางที่มีเพียงขุยมะพร้าว เพราะต้นยังอ่อนอยู่ จากนั้นปิดหน้าดินด้วยดินปลูก รดน้ำให้ชุ่มชื้น

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีปลูก ต้นไทรใบสัก : ย้ายกระถาง

ต้นไทรใบสัก (Fiddle Leaf Fig) หรือ ไทรใบยอ ไทรใบซอ

ต้นไทรใบสักที่เราซื้อมา 7- 20 วัน ควรเปลี่ยนกระถางให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม เพื่อให้ไทรใบสักโตเต็มที่ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมขึ้น

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • ต้นไทรใบสักที่ต้องการย้ายกระถาง
  • ดินปลูก 1 ส่วน
  • กาบมะพร้าวสับ 2 ส่วน
  • กระถางปลูก
  • ปุ๋ยสูตรเสมอ / ปุ๋ย AB ผสมน้ำ / ปุ๋ยคอก (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)

ขั้นตอนการย้ายกระถาง

  1. เตรียย้ายต้นด้วยการเคลียร์วัสดุปลูกเก่าของไทรใบสักออกให้มากที่สุด เหลือไว้แค่ลำต้นและราก
  2. ผสมดินปลูก กาบมะพร้าวสับ และปุ๋ย ให้เข้ากัน จากนั้นนำไทรต้นสักลงปลูก
  3. จัดให้กึ่งกลาง กดดินลงให้แน่นพอประมาณ รดน้ำให้ชุ่มชื้น

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีดูแลต้นไทรใบสัก วิธีแก้ปัญหาที่พบบ่อย

ลักษณะดิน

ต้นไทรใบสักชอบดินที่มีความโปร่ง ไม่แน่น และไม่กักเก็บน้ำจนเกินไป หากเปลี่ยนออกจากกระถางเดิม ควรเติมดินให้เต็มด้วยดินที่ผสมปุ๋ยหมัก มูลสัตว์ เช่น มูลไส้เดือน มูลค้างคาว และกาบมะพร้าวสับด้วย  แนะนำให้ผสมดินประมาณ 70% และ กาบมะพร้าวสับ 30% ไม่ต้องกดดินแน่นเกินไป เพราะจะทำให้ระบายน้ำได้ลำบาก ควรพรวนดินบ้างเป็นบางครั้งเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้เป็นอย่างดี

ความเข้มแสงแดด

ต้นไทรใบสักเป็นพืชที่ชอบแสงรำไร หากโดนแดดแรง ๆ โดยตรงเป็นเวลานาน จะทำให้ใบไหม้เป็นจุดสีน้ำตาลได้ ควรวางกระถางไว้ในพื้นที่ร่มรำไร มีแสงฟุ้งกระจาย หรือ พื้นที่ร่มที่มีแดดส่องถึง หากไทรใบสักต้นนั้นเคยอยู่ในที่ร่มมาเป็นระยะเวลานาน หากต้องการให้แสง ต้องค่อย ๆ ขยับให้โดนแสงแดดทีละน้อย เริ่มจากแสงแดดอ่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับแสงขึ้น

ปริมาณน้ำ

ไทรใบสัก ชอบน้ำชุ่ม แต่ไม่แฉะจนเกินไป ควรให้น้ำประมาณ 3- 4 วัน / ครั้ง หรืออาจพิจารณาตามแสงแดด ขนาดต้น และความแห้งในกระถาง หากแห้งเกินไปอาจเพิ่มความถี่ได้ แต่ระวังอย่าให้น้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้รากเป็นเชื้อราและเน่าได้

การให้ปุ๋ย

ให้ปุ๋ยไทรใบสักโดยการใส่ปุ๋ยสูตรละลายช้าไว้ใต้ดินก่อนปลูก เพื่อให้ปุ๋ยได้ปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาอย่างช้า ๆ หรือ ใส่ปุ๋ยละลายเร็วสูตรเสมอ ทุก ๆ 3 สัปดาห์ จะทำให้ไทรใบสักเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

ปัญหาที่พบและวิธีแก้

  • ใบเหลือง หากใบสุดท้ายของไทรใบสัก มีสีเหลืองเพียงใบเดียว คือ การทิ้งใบ ซึ่งเป็นเรื่องเป็นปกติ

ใบเหลืองนิ่ม ให้น้ำเยอะเกินไป

ใบเหลืองกรอบ / น้ำตาล แสงแดดเยอะไป

  • จุดกระจายทั่วใบ ให้น้ำเยอะเกินไป
  • รากเน่า สังเกตอาการจากใบที่เริ่มมีสีเหลือง สาเหตุมาจากกดดินแน่นไป และ รดน้ำเยอะเกิน
  • โรคและแมลงศัตรูพืช ไม่ค่อยพบบ่อย แต่ถ้ามีให้ใช้ปูนใสผสมน้ำเปล่าฉีดให้ทั่ว

เป็นอย่างไรบ้างกับ วิธีปลูกและดูแลรักษาต้นไทรใบสก มีขั้นตอนและวิธีทำไม่ยากเลยใช่ไหมคะ เพียงแค่เราศึกษาธรรมชาติของเค้าให้เข้าใจ และปรับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะสม เท่านี้ก็จะได้ไทรใบสกที่มีพุ่มสวย ใบงาม พร้อมสำหรับวางประดับตกแต่งบ้าน สร้างบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติได้ง่าย ๆ แล้ว

ขอบคุณข้อมูล: KasetToday

9 พฤศจิกายน 2023

โดย

Wishyouwell.

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment