FAQs ตู้อบลมร้อน ตู้อบแห้งผลไม้ รวมคำถามที่พบบ่อย

โพสต์เมื่อ วันที่ 26 มีนาคม 2024

FAQs เครื่องอบลมร้อน เครื่องอบแห้งผลไม้ คำถามที่พบบ่อย

รวมคำถามที่พบบ่อย “ตู้อบลมร้อน ตู้อบแห้งผลไม้”

ตู้อบลมร้อน หรือ ตู้อบแห้ง (Hot Air Oven) คือเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกชนิด ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนการตากแดด ผึ่งลมตามธรรมชาติ ซึ่งภายในเครื่องจะมีส่วนประกอบของตัวนำความร้อนอย่าง ฮีตเตอร์+พัดลม ที่จะเข้ามาช่วยกระจายความร้อน ในอุณภูมิประมาณ 40-90°C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่พอเหมาะ สำหรับกระบวนการอบแห้งไล่ความชื้นให้กับวัตถุดิบ

โดย ตู้อบลมร้อน จะเข้ามาตอบโจทย์สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการยกระดับการตากแห้งวัตถุดิบ เพราะตู้อบลมร้อน สามารถใช้งานได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ อีกทั้งยังสามารถควบคุมอุณหภูมิและระยะเวลาที่ใช้ได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน เหมือนตอนนำวัตถุดิบไปตากแดด แถมหมดปัญหาเรื่องสุขอนามัย เพราะตู้อบลมร้อนสามารถป้องกัน ฝุ่นละออง มด แมลง ได้อย่างดีเยี่ยม

ตู้อบแห้ง หรือ ตู้อบลมร้อน (Hot Air Oven) เป็นนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนการตากแดดแบบเดิม ๆ จุดประสงค์เพื่อใช้แปรรูปอาหารหรือทำให้วัตถุดิบแห้ง จากความชื้นหรือน้ำมัน โดยที่ผู้ใช้งานจะสามารถควบคุมการผลิต ให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่ต้องการได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณแสงแดด ความชื้นในอากาศ ละอองสิ่งสกปรก และการจำกัดของพื้นที่ เหมือนกับการตากแดดแบบดั้งเดิมนั่นเอง

  1. ใช้สำหรับ อบแห้งวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืช สมุนไพร และขนม โดยเป็นวิธีการแปรรูปอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา
  2. ใช้สำหรับ อบไล่น้ำมัน เพื่อป้องกันการเหม็นหืน ให้กับอาหารที่ผ่านการทอดได้ทุกชนิด
  3. ช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราในอาหาร เนื่องจากวัตถุดิบที่ผ่านการอบลมร้อน จะมีความแห้งเท่ากันทุกชิ้น ทำให้หมดปัญหาเรื่องเชื้อราจากวัตถุดิบที่แห้งไม่สนิท
  4. วัตถุดิบแห้งเท่ากันทั้งชิ้น ไม่ต้องคอยพลิก เนื่องจากลมร้อนจากตู้อบลมร้อน จะหมุนเวียนกระจายทั่วทั้งตู้ จึงไม่จำเป็นต้องพลิกกลับด้านวัตถุดิบเหมือนกับการตากแดดแบบเดิม
  5. ช่วยคงรสชาติและสีสันของวัตถุดิบให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติได้มากกว่า การนำไปตากแดดแบบดั้งเดิมอย่างเห็นได้ชัด
  6. ประหยัดเวลามากเดิม 3-5 เท่า เพราะการตากแห้งวัตถุดิบด้วยแดดแบบเดิม จะใช้เวลา 1-3 วัน แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้งานตู้อบลมร้อน จะร่นระยะเวลาการอบแห้งเหลือเพียง 4-12 ชั่วโมงเท่านั้น
  7. อบได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ง้อแดด เพราะตู้อบลมร้อนใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่า นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมการใช้งานได้ง่าย ๆ เพียงเปิดใช้งานเครื่องตามเวลาที่ต้องการ
  8. กระบวนการผลิตสะอาด ทำให้ขอ อย. ง่ายขึ้น เนื่องจากมีการควบคุมการผลิตให้อยู่ภายใน “ระบบปิด” ของตู้อบลมร้อน จึงทำให้ไม่มี ฝุ่นละออง มด แมลง หรือสิ่งสกปรก มาเป็นปัญหากวนใจ ทำให้การผลิตเป็นไปตามมาตรฐาน และง่ายต่อการตรวจสอบวัดคุณภาพ
  9. เพิ่มความน่าซื้อให้กับผลิตภัณฑ์ เพราะวัตถุดิบมีสีสันและลักษณะที่สวยงาม น่ารับประทาน มากกว่าการตากแดดแบบทั่วไป โดยสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ด้วยการแพ็กแบบสูญญากาศอีกทางหนึ่ง
  1. ใช้อบแห้งเนื้อสัตว์แทนการตากแดด เช่น หมูแดดเดียว เนื้อแดดเดียว ปลาสลิดแดดเดียว ปลาหมึกแดดเดียว
  2. ใช้อบแห้งผลไม้เพื่อการแปรรูป เช่น ลำไยอบแห้ง กล้วยตาก มะม่วงอบแห้ง ลิ้นจี่อบแห้ง
  3. ใช้อบแห้งสมุนไพร และธัญพืช เพื่อไล่ความชื้น เช่น ใบชาอบแห้ง พริกไทยอบแห้ง ขมิ้นชันอบแห้ง
  4. ใช้อบแห้งขนมไทย เพื่อเพิ่มความกรอบ เช่น ขนมอาลัว วุ้นกรอบ และข้าวเกรียบดิบ

ดยปกติแล้ว การอบแห้งจะใช้ไฟอยู่ที่ประมาณ 40-90°C โดยขึ้นอยู่กับ ประเภทวัตถุดิบ ขนาด ความหนาบาง และเวลาที่ใช้ในกระบวนการอบแห้ง

 
วัตถุดิบ อุณหภูมิที่ใช้ เวลาในการอบ
เนื้อสัตว์
  • เนื้อไก่
  • เนื้อหมู
  • เนื้อวัว
  • อาหารทะเล
50-60°C 2-4 ชั่วโมง
ผลไม้
  • มะพร้าว
  • แก้วมังกร
  • ลำไย
  • กล้วย
  • สับปะรด
  • อินทผาลัม
40-60°C

40-60°C

50-60°C

50-60°C

50-60°C

60-390°C

3-4 ชั่วโมง

6-8 ชั่วโมง

8-10 ชั่วโมง

8-12 ชั่วโมง

8-12 ชั่วโมง

8-12 ชั่วโมง

เห็ดต่าง ๆ 60 – 70°C 4 – 6 ชั่วโมง
ผักและดอกไม้ต่าง ๆ 70 – 80°C 1 – 2 ชั่วโมง
ธัญพืช (อัลมอนด์ และถั่ว) 60 – 70°C 2 – 3 ชั่วโมง
พืชสมุนไพร 65°C 2 ชั่วโมง
ใบชา 80°C 10 ชั่วโมง
อบของทอด เพื่อไล่น้ำมัน 60 – 80°C 1 – 2 ชั่วโมง

การใช้งานตู้อบลมร้อนในอุณหภูมิไม่เกิน 100°C จะสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องนาน 10 – 12 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง หลังจากการใช้งานติดต่อกันหลายชั่วโมง ควรทำการพักเครื่องอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง ถึงจะกลับมาใช้งานเครื่องอีกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเครื่อง และขดลวดนำความร้อน สะสมความร้อนจัดจนเกิดความเสียหาย

ตู้อบลมร้อน มีปริมาณการใช้ไฟไม่เหมือนกันในแต่ละรุ่น ซึ่งกำลังไฟที่ถูกใช้งานจะแตกต่างกันไปตามจำนวนถาดและฟังก์ชันของรุ่นนั้น ๆ โดย SGE จะขอยกตัวอย่างปริมาณการใช้ไฟ โดยคิดเป็นจำนวนเงินต่อการใช้งานเครื่องประมาณ 10 ชั่วโมงดังนี้

รุ่น GE-BLACK (รุ่นกึ่งอุตสาหกรรม)

  • ขนาด 6 ถาด : 12.96 บาท/วัน
  • ขนาด 12 ถาด : 32.4 บาท/วัน
  • ขนาด 16 ถาด : 32.4 บาท/วัน
  • ขนาด 32 ถาด : 65 บาท/วัน

รุ่น GE-ECO (รุ่นอุตสาหกรรม)

  • ขนาด 15 ถาดหมุน : 58.32 บาท/วัน
  • ขนาด 32 ถาด 2 ประตู : 102.06 บาท/วัน
  • ขนาด 88 ถาด 4 ประตู : 239.76บาท/วัน

เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment