หมากเม่า เบอร์รี่พันธุ์ไทย สุดยอดผลไม้พื้นบ้าน ประโยชน์เพียบ!

441 Views

คัดลอกลิงก์

รู้จัก หมากเม่า เบอร์รี่พันธุ์ไทย สุดยอดผลไม้พื้นบ้าน ประโยชน์เยอะ!

บทความนี้ SGE จะพาไปรู้จัก ผลไม้ขึ้นชื่อแดนอีสาน หมากเม่า ทองคำสีดำแห่งเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร มีประโยชน์ตั้งแต่รากจรดดอก หนึ่งในสุดยอดสมุนไพรของตำรับยาไทยที่ควรรู้จัก

พารู้จัก หมากเม่า ผลไม้ที่ได้ชื่อว่าทองคำสีดำแห่งเทือกเขาภูพาน

ชื่อท้องถิ่น : มะเม่า,ต้นเม่า (ภาคกลาง) หมากเม่า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) หมากเม้า,บ่าเหม้า (ภาคเหนือ) เม่า,หมากเม่าหลวง (พิษณุโลก) มัดเซ (ระนอง) เม่าเสี้ยน (ลำปาง) เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma thwaitesianum Muell.Arg

ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE (จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม)

ถิ่นกำเนิด : หมากเม่า มีด้วยกัน 170 กว่าชนิด โดยมีถิ่นกำเนิดและกระจายอยู่ในเขตร้อนของ อินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ในประเทศไทยสามารถพบหมากเม่าได้เพียงแค่ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ มะเม่าหลวง, มะเม่าสร้อย (มะเม่าขี้ตาควาย), มะเม่าไข่ปลา (มะเม่าทุ่ง, มะเม่าข้าวเบา), มะเม่าควาย (เม่าเขา, เม่าหิน, เม่าเหล็ก, ส้มเม่าขน), และมะเม่าดง ซึ่งพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

พารู้จัก หมากเม่า ผลไม้ที่ได้ชื่อว่าทองคำสีดำแห่งเทือกเขาภูพาน

ลักษณะของต้นหมากเม่า

  • ลักษณะต้น : ต้นมะเม่า เป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็งที่มีอายุยืนยาว สูงประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 4 คนโอบ มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
  • ลักษณะใบ : เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวสด ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ใบออกหนาแน่นเป็นร่มเงาได้เป็นอย่างดี
  • ลักษณะดอก : ต้นหมากเม่า มีลักษณะดอกเป็นดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น โดยมีดอกขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและซอกใบ ช่อดอกคล้ายพริกไทย โดยต้นหมากเม่าจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน และสุกในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน
  • ลักษณะผล : ผลมะเม่าเป็นทรงกลม ผลมีขนาดเล็กและเป็นพวง ในหนึ่งผลจะมีหนึ่งเมล็ด ผลดิบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม มีรสเปรี้ยว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วงดำในที่สุด โดยผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ประโยชน์ของหมากเม่าที่ดีต่อร่างกาย

หมากเม่า อดีตพืชท้องถิ่นหัวไร่ปลายนาไร้ค่า สู่เจ้าของฉายาทองคำสีดำแห่งเทือกเขาภูพาน หรือ ไทยบลูเบอร์รี่ ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ ตั้งแต่รากจรดใบ กินได้ทุกส่วน แถมมีสรรพคุณทางยาชั้นยอด

ประโยชน์ของหมากเม่าที่ดีต่อร่างกาย

สรรพคุณของหมากเม่า

  1. ผลหมากเม่าสุก มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยชะลอความแก่ชรา
  2. รสฝาดของผลหมากเม่าสุก จะมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่าย
  3. รสขมของหมากเม่าจะมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกันน้อยลง จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลว
  4. ห้าส่วนของหมากเม่า (ผล, ราก, ต้น, ใบ, ดอก) ใช้ต้มดื่มเป็นประจำเป็นยาอายุวัฒนะได้
  5. น้ำหมากเม่าสกัดเข้มข้นใช้เป็นอาหารบำรุงสุขภาพได้ดีเหมือนน้ำลูกพรุนสกัดเข้มข้น มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสายตา และขับโลหิต
  6. ใบหมากเม่านำไปอังไฟแล้วนำมาประคบใช้รักษาอาการฟกช้ำดำเขียวได้
  7. ใบหมากเม่าสดนำมาตำใช้พอกรักษาแผลฝีหนองได้
  8. หมาเม่ามีศักยภาพในการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันและยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV อีกด้วย (กัมมาลและคณะ, 2546)
  9. ผลหมากเม่าสุก มีสรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงสายตา ช่วยฟอกโลหิต ช่วยขับเสมหะ
  10. ต้นและราก ช่วยแก้กษัย ช่วยขับโลหิต ขับปัสสาวะ ช่วยแก้มดลูกพิการ มดลูกอักเสบช้ำบวม ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยบำรุงไต แก้เส้นเอ็นพิการ และช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. หากใช้สรรพคุณของหมากเม่าในการรักษาโรคในรูปแบบสารสกัด ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
  2. หากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย และปวดท้องได้

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

เทคนิคปลูก หมากเม่า ให้โตสวย

เทคนิคปลูก หมากเม่า ให้โตสวย

วิธีการขยายพันธุ์

1.การเพาะเมล็ด

  • การหว่านเมล็ดลงในแปลงโดยตรง เตรียมดินก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ หลังหว่านแล้วคลุมแปลงด้วยวัสดุกันความชื้นจากดินระเหยออกเร็วเกินไป เช่น ฟางแห้ง หญ้าแห้ง เป็นต้น
  • เพาะในตะกร้าโดยเตรียมวัสดุส่วนผสม เช่น ทราย ดินร่วน แกลบเผา ให้พร้อมแล้วหว่านเมล็ดเม่าและกลบด้วยวัสดุเพาะอีกชั้นหนึ่ง รดน้ำสม่ำเสมอ
  • เพาะในกระบะ คล้ายเพาะในตะกร้าแต่จะได้ปริมาณมากกว่าทุกวิธี อาจใช้ระบบน้ำแบบพ่นหมอก พ่นฝอยโดยตั้งเวลาปิด – เปิด หรือรดน้ำด้วยสายยาง

2.การขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง

การขยายพันธุ์แบบทาบกิ่ง เป็นการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศอีกวิธีหนึ่ง โดยนำต้นกล้าหมากเม่าที่ได้เพาะเมล็ดไว้จนได้ขนาดพอเหมาะต่อการทาบกิ่ง อายุประมาณ 6 เดือน – 12 เดือน มาทำให้เกิดแผล และให้ประกบกับกิ่งพันธุ์ดีที่ได้ทำแผลไว้แล้วเช่นกัน เพื่อให้เนื้อไม้ทั้งสองต้นประสานเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงตัดยอดของต้นกล้าทิ้งไปเหลือส่วนโคนเอาไว้ ตัดโคนกิ่งพันธุ์ดีออกจากต้นแม่ให้เหลือแต่ยอดต้นตอเอาไว้ ซึ่งจะได้หมากเม่าที่มีลักษณะดี 2 ประการหลักๆ คือ ระบบรากแบบมีรากแก้วแข็งแรง ได้ยอดเป็นเม่าพันธุ์ดี เหมือนต้นแม่ทุกประการไม่เป็นต้นตัวผู้

3.การขยายพันธุ์แบบเสียบยอด

การขยายพันธุ์แบบเสียบยอด เป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศอีกวิธีหนึ่งที่ให้ลักษณะของหมากเม่าที่ดี เหมือนต้นแม่ทุกประการและไม่เป็นต้นตัวผู้ มีระบบรากแข็งแรงเหมือนขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด วิธีการคือ ตัดกิ่งพันธุ์จากต้นเม่าพันธุ์ดีที่มีขนาดพอเหมาะ คือ กิ่งมีสีเขียวที่ปลายและมีสีเทาหรือน้ำตาลที่โคนกิ่งประมาณ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 2 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกิ่ง เท่ากับส่วนปลายของตะเกียบหรือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4 – 0.6 เซนติเมตร ความยาวกิ่งพันธุ์ดี 30 เซนติเมตร โดยประมาณ ตัดใบออกจากโคนกิ่งถึงครึ่งกิ่ง ส่วนที่เหลือให้ตัดใบออกครึ่งใบยกเว้นยอด นำกิ่งนั้นมาเฉือนทำแผลแบบปาดหรือแบบฝานบวบ และเฉือนต้นตอเม่าเป็นแบบฝานบวบเช่นกัน ความยาวของแผลให้เท่ากันกับแผลของกิ่งพันธุ์ดี ด้วยมีดคัตเตอร์หรือมีดที่คม แล้วนำมาประกบกันให้พอดี แล้วพันรอยต่อด้วยพลาสติกใส หรือเชือกฟางให้แผลประกบกันแน่นพอดีไม่เลื่อนหรือโยกคลอน จากนั้นนำไปเก็บในโรงพลาสติกกันการคายน้ำมากเกินไป หรือถ้าปริมาณน้อยจะเก็บในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ปิดปากถุงกันการคายน้ำมากเกินไป จนกว่าจะครบ 1 เดือนจึงทยอยเปิดพลาสติกคลุมออก

เทคนิคปลูก หมากเม่า ให้โตสวย

การปลูกหมากเม่า

หมากเม่าเป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย ทนแล้ง ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณปลายเดือนเมษายน – มิถุนายน แต่ต้นหมากเม่า เป็นพืชที่ไม่ชอบดินที่มีน้ำขัง ข้อควรระวังคืออย่าให้ต้นหมากเม่าขาดน้ำหรือน้ำมีมากเกินไป เพราะทำให้ต้นพันธุ์หมากเม่าเจริญเติบโตไม่ทันปรับสภาพตัวเองไม่ทัน จะทำให้ต้นพันธุ์ตายได้

วิธีการปลูกต้นกล้า

  1. โดยขุดหลุมกว้าง+ยาว+ลึก ประมาณ 30+30+30 เซนติเมตร
  2. ระยะห่างระหว่างต้นกับแถวปลูกประมาณ 6+6 เมตร แยกดินบนดินล่าง
  3. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 3-4 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 หรือปุ๋ยเกลือประมาณ 1-2 ช้อนแกง
  4. นำดินบนลงไปคลุกเคล้ากับปุ๋ยทั้งสองชนิดให้ได้ 2 ส่วนของหลุม
  5. จากนั้นนำต้นพันธุ์ลงปลูกโดยฉีกถุงดำออกตั้งตรงกึ่งกลางหลุม ปักยึดด้วยหลักไม้มัดให้แน่นกลบด้วยดินที่เหลือ รดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ
  6. ควรป้องกันศัตรูที่มาทางรากคือ ปลวก เสี้ยนดิน หนอนเจาะโคนต้น ด้วยสารฟูราดานเม็ดสีม่วงโรยบนหน้าดินแล้วพรวนดินกลบ หรือผสมน้ำลาดรอบโคนต้น ซึ่งสารเคมีชนิดนี้ป้อง กันศัตรูพืชได้ทั้งในดินและอากาศ

วิธีปลูกกิ่งพันธุ์

  1. กิ่งพันธุ์ทาบกิ่งหรือเปลี่ยนยอดปลูกแล้วประมาณ 1 เดือน ให้นำมีดมาตัดผ้าพลาสติกที่พันยึดกิ่งพันธุ์ออก ถ้าไม่นำออกจะทำให้รอยพันพลาสติกรัดกิ่งพันธุ์และหักได้ภายหลัง
  2. หลังจากนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกขี้ไก่ที่หรือปุ๋ยเคมีตามความจำเป็น
  3. ในช่วงฤดูแล้งควรหาเศษวัชพืชคลุมโคนต้นเพื่อป้องกันการคลายน้ำจากผิวดิน ส่วนในฤดูฝนควรกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียนอยู่เสมอ เพราะหมากเม่ามีเปลือกรสหวานศัตรูประเภทหนอนแทะเปลือกและเจาะลำต้นจะระบาดในช่วงนี้

เมื่อปลูกได้ประมาณปีที่ 2 จะติดผลให้ได้ชิม ถ้าดูแลรักษาให้ดีเมื่อต้นหมากเม่ามีอายุย่างเข้าปีที่ 3 แล้วควรเปลี่ยนปุ๋ยคอกผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 2-3 กำมือต่อต้นต่อปี และให้เพิ่มจำนวนปุ๋ยมากขึ้นตามอายุของต้นหมากเม่าด้วย ซึ่งพืชจะสามารถนำแร่ธาตุไปบำรุงทั้งดอกและผล นอกจากนี้เพื่อเตรียมอาหารที่จะให้ติดผลในอนาคต เมื่อเก็บผลผลิตแล้วควรแต่งกิ่งให้ต้นโปร่งปีละ 1 ครั้ง

เทคนิคปลูก หมากเม่า ให้โตสวย

โรคและศัตรูหมากเม่า

  • โรคโคนเน่าและรากเน่า ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรา ที่เกิดจากความชื้นแฉะของน้ำที่ท่วมขังในที่ราบลุ่ม ทำให้โคนหรือรากเน่า แก้ไขโดยระบายน้ำออกอย่าให้น้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะและพ่นด้วยสารเคมีจำพวกป้องกันเชื้อรา
  • หนอนเจาะลำต้นและกิ่ง ทำให้ท่อน้ำ ท่ออาหารขาด ต้นจะเหี่ยวและใบเหลือง แห้งตายกะทันหัน ลำต้นจะหักพับลง หนอนชนิดนี้ระบาดได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งหลังจากหมดฤดูฝน ป้องกันโดยตัดแต่งกิ่งให้โปร่งอยู่เสมอ ให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น ถ้าพบรอยแตกหรือมีรูเจาะบริเวนโคนต้นหรือลำต้นให้สารเคมีกำจัดหนอนและแมลงฉีดพ่นตรงบริเวณที่พบ จะทำให้ตัวหนอน และดักแด้ตาย ทาโคนต้นหรือลำต้นด้วยสารกำจัดแมลงที่มีกลิ่นฉุนเช่น น้ำมันเครื่องเก่า และใช้สารเคมีประเภทดูดซึมรวยรอบโคนต้นแล้วพรวนดินกลบเช่น ฟูราดาน

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับต้นหมากเม่าที่ SGE นำเสนอ พืชท้องถิ่นที่กำลังจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีแรงอุปสงค์มากกว่าอุปทานน่าจับตามอง แถมเจ้าต้นนี้นับได้ว่ามีประโยชน์สรรพคุณทางยาได้ทั้งต้น ปลูกง่ายทนแดดทนแล้ง แถมนำไปแปรรูปได้หลายอย่างทีเดียว!

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

9 ตุลาคม 2023

โดย

จันทร์เจ้า

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment