เรื่องน่ารู้ “ถั่วลิสง” มีประโยชน์และโทษที่ใครยังไม่รู้

ถั่วลิสง ที่หลาย ๆ คนชอบรับประทานเป็นอาหารว่าง เพื่อแก้หิว หรือเพื่อแก้อาหารอ่อนล้าทางร่างกายได้แล้ว ยังมีประโยชน์มากมาย รวมถึงถั่วลิสงก็ยังมีอันตรายสำหรับคนบางกลุ่ม ถ้าหากใช้หรือรับประทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม บทความนี้ SGE จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “ถั่วลิสง” ให้มากขึ้นกัน

ถั่วลิสง คืออะไร?

ถั่วลิสง(Peanut) คือ พืชตระกูลถั่ว เมื่อนำมาปรุงสุก จะมีรสชาติหวานมัน และมีสรรพคุณต่อร่างกายช่วยบำรุงปอด กระเพาะอาหาร กระตุ้นน้ำนมในหญิงให้นมบุตร และช่วยสำหรับคนที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือแม้แต่ในหญิงที่มีอาการแพ้ท้อง รวมไปถึงช่วยชะลอวัย และบำรุงสมองอีกด้วย

220310-Content-ถั่วลิสง-ประโยชน์-02

ถั่วลิสงเป็นพืชล้มลุกเนื้ออ่อน เป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นราบไปตามพื้นดิน ใบประกอบด้วยใบย่อย ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง เมื่อผสมเกสรแล้ว ก้านรัง-ไข่แทงลงใต้ดิน ฝักเติบโตใต้ดิน แต่ละฝักมีเมล็ด 1-5 เมล็ด ฝักยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างหนา ขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาล หรือม่วง

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของถั่วลิสง อยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อน ปัจจุบันถูกนำไปปลูกในประเทศเขตร้อนทั่วโลก เป็นพืชตระกูลถั่วที่ปลูกกันมากที่สุดรองลงมาจากถั่วเหลืองเท่านั้น ในประเทศไทยสันนิษฐานว่า ถั่วลิสงเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลังจากมีการติดต่อกับชาวตะวันตกแล้ว ถั่วลิสงนับเป็นถั่วยอดนิยมของชาวไทยมาเนิ่นนานตราบจนปัจจุบัน

Sponsored (โฆษณา)

ประโยชน์ของถั่วลิสง มีอะไรบ้าง?

  1. ถั่วลิสงประโยชน์ทางโภชนาการสูง และเป็นแหล่งของโปรตีน และพลังงานสูง รวมถึงมีกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย
  2. ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารคาวหวานต่าง ๆ
  3. ถั่วลิสงสามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกได้เช่นเดียวกับถั่วเขียว
  4. น้ำมันจากถั่วลิสง สามารถนำมาใช้แทนน้ำมันมะกอกเพื่อปรุงอาหาร มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล และไม่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอนุมูลอิสระ
  5. สำหรับถั่วลิสงป่า ที่เป็นพืชยืนต้น สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
  6. ลำต้น และใบของถั่วลิสง นำมาใช้ทำปุ๋ย และเป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องได้
  7. ถั่วลิสงยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
  8. ถั่วลิสงมีน้ำมันประมาณ 47% จึงนิยมนำเมล็ดของถั่วของลิสง ไปใช้ในอุตสาหกรรมสกัดน้ำมัน

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ประโยชน์ของถั่วลิสงนี้ ยังใช้ในอุตสาหกรรมทำสบู่ หรือแชมพู อุตสาหกรรมปั่นด้าย ใช้ทำน้ำมันหล่อลื่น สำหรับเครื่องจักรได้อีกทางด้วย

สารอาหารในถั่วลิสง เป็นอย่างไร?

สารอาหารต่าง ๆ ทางโภชนาการของถั่วลิสง ในปริมาณ 100 กรัม

  • พลังงาน 570 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 21 กรัม
  • น้ำ 4.26 กรัม
  • น้ำตาล 0 กรัม
  • เส้นใย 9 กรัม
  • ไขมัน 48 กรัม
  • ไขมันอิ่มตัว 7 กรัม
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 24 กรัม
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 16 กรัม
  • โปรตีน 25 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.6 มิลลิกรัม 52%
  • วิตามินบี 3 12.9 มิลลิกรัม 86%
  • วิตามินบี 6 1.8 มิลลิกรัม 36%
  • วิตามินบี 9 246 ไมโครกรัม 62%
  • วิตามินซี 0 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 62 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุเหล็ก 2 มิลลิกรัม 15%
  • ธาตุแมกนีเซียม 184 มิลลิกรัม 52%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 336 มิลลิกรัม 48%
  • ธาตุโพแทสเซียม 332 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุสังกะสี 3.3 มิลลิกรัม 35%
Sponsored (โฆษณา)

ถั่วลิสงกินเยอะ แล้วอ้วนไหม?

  • ก่อนอื่นควรคำนึงว่าจะรับประทานถั่วลิสงกี่แคล จึงจะช่วยลดน้ำหนักและความอ้วนได้
  • ถั่วลิสงมีไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งทำให้อิ่มท้องนาน ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง
  • ยังช่วยยับยั้งไขมันเลว ที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย ด้วยการรับประทานแบบดิบ ๆ หรือนำมาต้มแล้ว
  • ไม่ควรรับประทานเกิน 1 กำมือ หรือจะรับประทานเป็นอาหารว่างไม่เกินครั้งละ 17 เม็ด หรือประมาณ 1 ฝ่ามือเล็ก ๆ ซึ่งจะให้พลังงานประมาณ 100 กิโลแคลอรี่
  • การรับประทานถั่วคั่ว ถั่วทอด ถั่วอบ ซึ่งผ่านความร้อน และน้ำมัน ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวที่มีในถั่วลิสงหายไป หากรับประทานในปริมาณมาก ๆ หรือตามใจปาก ก็ทำให้อ้วนได้
  • หากต้องการรู้ว่าควรรับประทานถั่วลิสงอย่างไรถึงจะไม่อ้วน ให้เทียบน้ำหนักของถั่วลิสงดิบที่ 100 กรัม จะให้พลังงาน 570 กิโลแคลอรี่ ต่อความต้องการพลังงานของแต่ละคน ซึ่งผู้ชาย ต้องการปริมาณแคลอรี่ที่ใช้เป็นพลังงานต่อวัน 1,800-2,500 กิโลแคลอรี่ ผู้หญิง ต้องการปริมาณแคลอรี่ที่ใช้เป็นพลังงานต่อวัน 1,500-2,000 กิโลแคลอรี่

ถั่วลิสงต้ม อันตรายอย่างไร?

ถ้าจะสังเกตว่า ถั่วลิสงต้มอันตรายได้อย่างไร ให้ดูที่บริเวณเปลือก ถ้าหากมีจุดสีดำ ๆ คล้ายลักษณะของเชื้อรา หรือมีสีผิดแปลกออกไป ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน เนื่องจาก เสี่ยงปนเปื้อนจาก อะฟลาทอกซิน สารพิษก่อมะเร็งร้ายแรง โดยผู้ที่ได้รับอะฟลาทอกซิน ส่วนใหญ่จะยังไม่แสดงอาการในระยะแรก ๆ จนเมื่อมีอาการเรื้อรังแล้ว คือ กินอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา แล้วเชื้อรานั้น สร้างสารอะฟลาทอกซิน ทำให้เกิดการอักเสบของตับเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง ก่อเกิดมะเร็งตับ และอาจมีผลต่อระบบไต หัวใจ

220310-Content-ถั่วลิสง-ประโยชน์-03

หากต้องการจะใช้ประโยชน์ของถั่วลิสง ก็ควรจะซื้อแค่เพียงพอต่อการใช้ ไม่ควรซื้อมาเก็บไว้นาน ๆ เพราะคิดว่าเป็นประเภทอาหารแห้ง และควรหลีกเลี่ยงถั่วลิสงที่ดูเก่า มีความชื้น หรือมีกลิ่นหืน เพราะอาจจะมีโอกาสปนเปื้อนอะฟลาทอกซินสูงมาก รวมถึงควรเลือกซื้อจากร้านที่มีบรรจุห่อปิดสนิท มีวันผลิต และวันหมดอายุชัดเจน หรือร้านที่มีการทำแบบสดใหม่ เพื่อป้องกันการได้รับสารอันตรายเข้าร่างกายแบบที่ไม่รู้ตัว

Sponsored (โฆษณา)

ส่งท้ายสักนิด ทานถั่วอย่างไรให้ได้ประโยชน์

  1. สำหรับผู้ที่พึ่งหัดกินถั่วใหม่ ๆ หรือปกติไม่ได้กินถั่วเป็นประจำนั้น ให้เริ่มกินแต่น้อย ๆ เช่น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จากนั้น จึงค่อยเพิ่มความถี่ให้มากขึ้น เพื่อให้ระบบย่อยอาหารของร่างกายปรับตัว
  2. ควรแช่เมล็ดถั่วในน้ำเปล่า เป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง ก่อนนำไปปรุงอาหาร จะช่วยให้แป้ง หรือ oligo-saccharide บางส่วนที่ย่อยยากนั้น สามารถย่อยได้มากขึ้น
  3. เลือกชนิดของถั่วที่จะนำมากิน ทั้งนี้ถั่วแต่ละชนิดนั้น ทำให้เกิดแก๊สไม่เท่ากัน เช่น ถั่วขาว และถั่วเหลืองจะมีแก๊สมาก ส่วนถั่วดำ ถั่วแดง และถั่วเขียว จะมีแก๊สน้อยกว่า นอกจากนี้ ถั่วเมล็ดแห้ง ก็จะทำให้เกิดแก๊สในท้องมากกว่าถั่วสำเร็จรูปที่บรรจุกระป๋อง
  4. เวลากินถั่ว ควรเคี้ยวให้ละเอียดมากที่สุด เพราะเอนไซม์ในน้ำลายนั้น จะทำหน้าที่ช่วยย่อยแป้งได้ดี
  5. เนื่องจากในถั่วมีสารประเภทกรดไฟติก หรือไฟเทต ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่น เหล็ก สังกะสี และแคลเซียม ดังนั้น จึงควรกินถั่วที่ปรุงสุกแล้ว ถั่วที่ผ่านการงอก หรือกระบวนการหมักมาแล้ว เพื่อลดปริมาณสารไฟเทต
  6. ปริมาณที่แนะนำในการกินถั่ว คือ ครึ่งถ้วย หรือ 64 กรัม และใน 1 สัปดาห์ ควรกินให้ได้ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์
  7. การเลือกซื้อถั่ว ให้เลือกถั่วที่ผลิตใหม่ๆ เมล็ดสมบูรณ์ ไม่ลีบ ไม่ฝ่อ หรือการกัดแทะของแมลง โดยเฉพาะถั่วลิสงจะมีเชื้อรา อะฟลาทอกซิน จะขึ้นได้ง่าย หากเมล็ดของถั่วมีการแตกหัก หรือมีความชื้นสูง ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อถั่วเก็บไว้เป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อรา หรือสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินได้
  8. สำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรืออาการไม่พึงประสงค์หลังกินถั่วเมล็ดแห้ง ถ้าปฏิบัติตามข้อ 1, 2 และ 3 แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น อาจเลือกกินถั่วในรูปแบบที่ผ่านกระบวนการงอก หรือถั่วที่ผ่านกระบวนการหมักมาแล้ว จะทำให้อาการดีขึ้น

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่องถั่วลิสง ที่เรานำมาฝากกัน อย่างไรก็ตามถั่วลิสง มีทั้งประโยชน์ และโทษควรทานแต่พอดี เพื่อสุขภาพที่ดีของเรานั่นเอง

สามารถติดตาม บทความอื่นๆ ได้ที่นี่

สามารถเก็บถั่วลิสงไว้ได้นานขึ้น เมื่อยังไม่ได้นำมาใช้งาน เราอยากแนะนำสินค้าจาก SGE ไม่ว่าจะเป็น เครื่องซีลสุญญากาศ ที่ใช้ร่วมกันกับ ถุงซีลสุญญากาศ เป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เก็บอาหารได้นานยิ่งขึ้น

แหล่งข้อมูล : Medthai, นิตยสารหมอชาวบ้าน