เชื้อรา ไมคอร์ไรซา คืออะไร? ช่วยการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างไร?

595 Views

คัดลอกลิงก์

เชื้อรา ไมคอร์ไรซา คืออะไร? ช่วยการเจริญเติบโตพืชอย่างไร?

ไมคอร์ไรซาร์ เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza) เชื้อราที่ช่วยดูดธาตุอาหาร เพิ่มความแข็งแรงให้ระบบราก และช่วยให้พืชเจริญเติบโด้ดีขึ้น

เชื้อราชนิดนี้คืออะไร? มีวิธีเพาะเชื้อแบบไหน? และมีประโยชน์ต่อการเกษตรอย่างไร?  ตาม SGE ไปดูกัน!

ไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza) คืออะไร?

ชนิดของ ไมคอร์ไรซา มีอะไรบ้าง?

ไมคอร์ไรซา (Mycorrhiza) คือ การอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย ระหว่าง ฟังไจ (รา) และ รากพืช โดยต่างฝ่ายต่างมอบประโยชน์ให้ซึ่งกันและกัน พืชได้รับน้ำและธาตุอาหารจากฟังไจ(ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน) ในขณะเดียวกันฟังไจก็ได้รับสารอาหารที่จำเป็นจากพืชผ่านระบบราก(น้ำตาล กรดอะมิโน และวิตามิน) เส้นใยของฟังไจหรือไฮฟา (hypha) ที่เจริญอยู่นอกรากและในรากของพืช ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมธาตุอาหารให้พืช ส่งผลให้ “พืชที่ไมคอร์ไรอาศัยอยู่ มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่า” นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้พืชรอดชีวิตเมื่อเจริญบนดินที่มีสภาพไม่เหมาะสม เช่น ดินที่มีกรดสูง ดินเค็ม และดินที่ขาดธาตุอาหาร ฯลฯ ทั้งยังช่วยป้องกันรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อโรคด้วย ไมคอร์ไรซาพบในพืชดิน ส่วนใหญ่เป็น พืชเกษตร โดยเฉพาะบริเวณรากของพืชประมาณ 80-90%  (ยกเว้นพืชตระกูล Brassicaceae และสมุนไพร)

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ชนิดของ ไมคอร์ไรซา มีอะไรบ้าง?

Harley และ Smith (1983) ได้จําแนกชนิดของ เชื้อราไมคอร์ไรซา ออกเป็น 7 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. เอคโตไมคอร์ไรซา (Ectomycorrhiza) ทําหน้าที่เคลื่อนย้ายน้ำและธาตุอาหารจากดินสู่รากพืช ดูดซับและสะสมสารประกอบ ได้แก่ กลูโคส ฟรุคโตส ทรีฮาโรส แมนนิโทส ลิปิด โปรตีน ฟีนอลลิก และสารกลุ่มโพลีฟอสเฟต ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของรากในการดูดซึมธาตุอาหารและน้ำ ช่วยให้พืชดูดซึมธาตุฟอสฟอรัสได้ดี และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในส่วนของใบ ลําต้น และรากของพืช
  2. อาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซา (Arbuscular Mycorrhiza) ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนธาตุอาหารจากรากสู่พืช และรับคาร์โบไฮเดรตจากพืชเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต สามารถอาศัยอยู่ร่วมกับพืชได้เกือบทุกชนิด พบในระบบนิเวศที่หลากหลาย เช่น ป่าเขตร้อน ป่าโกงกาง ทุ่งหญ้าและ ทะเลทราย นอกจากนี้ยังพบพืชหลายชนิดในพืชไร่ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด มะเขือเทศ และพบในพืชสวน เช่น ทุเรียน ลำไย และส้ม
  3. เอคเทนโดไมคอร์ไรซา (Ectendomycorrhiza) พบในพืชตระกลูสน 2 สกุล คือ สกุล Pinus และ Larix
  4. อีรีคอยด์ไมคอร์ไรซา ไมคอร์ไรซา (Ericoid mycorrhiza) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหาร พืชในอันดับ Ericales โดยเฉพาะพืชในวงศ์ Ericaceae, Epacridaceae และ Empetraceae มีประโยชน์สำหรับพืชที่ปลูกในดินที่มีความเป็นกรดสูง มีความสามารถในการดูดธาตุในโตรเจน สะสมไว้ในฤดูสืบพันธุ์ได้สูงกว่าพืชที่ไม่มีไมคอร์ไรซา
  5. โมโนโทรพอยด์ไมคอร์ไรซา (Monotropoid mycorrhiza) ส่วนใหญ่พบในพืชวงศ์ Monotropaceae สําหรับสกุล ที่พบในแถบเอเซีย ได้แก่ Cheilotheca, Monotropa และ Pleuricospora อยู่ร่วมกับไม้ป่าหลายชนิด เช่น บีช (beech) สน (pine) และ conifer ชนิดอื่น
  6. อาร์บูทอยด์ ไมคอร์ไรซา (Arbutoid mycorrhiza) มักพบในต้นไม้และไม้พุ่ม (shrub) ที่โตเต็มที่แล้ว
  7. ออร์คิด ไมคอร์ไรซา (Orchid mycorrhizas) เป็นไมคอร์ไรซาที่พบใกล้วยไม้ชนิดต่าง มีความสำคัญในการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพืช และให้สารอาหารที่ต้นกล้าพืชต้องการในการเจริญเติบโต

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ประโยชน์ของไมคอร์ไรซาร์

ประโยชน์ของไมคอร์ไรซาร์

ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของ เชื้อราไมคอร์ไรซา ในการปลูกป่า โดยเฉพาะในพื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ที่มีการตัดไม้หรือทําไร่เลื่อนลอย ซึ่งหน้าดินถูกชะล้างไปมาก การปลูกกล้าไม้ที่มีฟังไจไมคอร์ไรซาอาศัยอยู่ที่ราก มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้

  1. ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางระบบรากของกล้าไม้และพืช
  2.  เพิ่มความทนทานให้แก่ระบบราก เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
  3. พืชมีอัตราการรอดตายสูงและเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
  4. พืชทนต่อสภาพพื้นที่แห้งแล้ง ป้องกันโรคที่จะเกิด
  5. พืชซึมซับน้ำและแร่ธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัส (P) ไนโตรเจน (N) โปรแตสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และธาตุอื่น ๆ ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis)
  6. พืชทนต่อความเป็นพิษของดิน ปรับความเป็นกรด-ด่างของดินให้เหมาะกับการเจริญเติบโต
  7. ช่วยย่อยสลายและดูดซับธาตุอาหารจากหินแร่ในดินที่สลายตัวยาก และพวกอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่หมด
  8. ดอกเห็ดไมคอร์ไรซาสามารถนํามาประกอบอาหาร (บางชนิดมีพิษบ้างแต่น้อย) บางชนิดใช้เป็นเห็ดสมุนไพร ช่วยเสริมสร้างระบบนิเวศ ป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากขึ้น (Peterson et al., 2004)

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

การนําไปใช้สําหรับการเกษตร

เชื้อราไมคอร์ไรซา การนําไปใช้สําหรับการเกษตร

1. การทําหัวเชื้อรา AMF (VA inoculum)

การใช้ดินเชื้อ (Soil inoculum) คือ การใช้ดินที่มีเชื้อไมคอร์ไรซาร์มาผสมกับดินปลูก ขั้นตอนการทำ ให้นําดินเชื้อ AMF (Arbuscular Mycorrhiza)  ที่อยู่ห่างจากต้นแม่ไม่น้อยกว่า 50 ซม. ความลึกประมาณ 10 – 20 ซม. (เก็บให้มีรากเดิมติดมาด้วย) แล้วนำไปผสมกับดินปลูกในอัตรา 1:6 ถึง 1:10 ใช้เพาะเมล็ดและต้นกล้า ให้เลือกดินรากต้นแม่ที่สมบูรณ์ ปราศจากโรค และปัดกวาดซากพืชหน้าดินออกให้สะอาด ก่อนขุดดิน

ข้อดี :  ประหยัดเสียค่าใช้จ่ายน้อย ทำง่าย ขั้นตอนไม่เยอะ

ข้อเสีย : ถ้าดินมีปริมาณมาก ยากต่อการขนย้าย / ไม่สามารถทราบเชื้อเห็ดรา AMF ที่เหมาะสมกับต้นกล้าใหม่ได้/ ดินอาจมีเชื้อโรคติดมาระบาด

2. การทําปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาอัดเม็ด

เป็นการขยายเชื้อโดยใช้ Vermiculite: Peat Moss ในอัตราส่วน 28:1 แล้วผสมกับอาหารเทียม MMW ที่ปราศจาก Agar 50% เลี้ยงเชื้อได้ภายใน 3-4 เดือน ใช้คลุกดินเพาะกล้าในอัตราส่วน 1:8 ถึง 1:10

ข้อดี : ได้หัวเชื้อที่บริสุทธิ์ปราศจากเชื้อปนเปื้อน / ได้สายพันธุ์ที่เป็นพันธุ์ดี

ข้อเสีย : เทคนิคเครื่องมืออุปกรณ์ค่อนข้างซับซ้อน อาศัยความรู้และความชำนาญเป็นพิเศษ

3. การใส่ผงเชื้อให้แก่พืช

  • การใส่ผงเชื้อโดยโรยผงเป็นแถบ : โรยผงเชื้อเป็นแถบข้างแถวที่ปลูกพืช ได้ผลดีในกรณีที่มีผงเชื้อในปริมาณที่จํากัด
  • การผสมผงเชื้อกับดิน: คล้ายกับการใส่ผงเชื้อ แต่วิธีนี้จําเป็นต้องใช้ผงเชื้อเป็นปริมาณมากเพื่อให้เกิดการติดเชื้อ ได้เร็วและมีปริมาณการติดเชื้อสูง แต่ถ้าทำในเรือนกระจกหรือเรือนเพาะชํา สามารถผสมผงเชื้อกับดินปลูกได้เลย

4. การพอกเมล็ด คล้ายกับการพอกเมล็ดถั่วด้วยเชื้อไรโซเบียม นําเอาสปอร์หรือรากที่มีเชื้อราวีเอไมคอร์ไรซาที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในกระถางโดยวิธีร่อนผ่านตะแกรงแบบเปียก จํานวน 35 มล. ผสมเข้ากับสารละลาย 1 % (W/V) ของ 400 – centipoise methyl cellulose จํานวน 5 มล. แล้วผสมกับเมล็ดพืช

5. การเพาะเชื้อก่อนย้ายกล้า (Pre-inoculation of transplanted seedlings) ในพืชที่มีการย้ายกล้า การเพาะเชื้อก่อนย้ายกล้าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด มักใช้กับพืชจำพวกไม้ยืนต้น เช่น กล้าไม้ผล ไม้ป่า เป็นต้น

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีผลิตหัวเชื้อดิน เชื้อราไมคอร์ไรซา

สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แนะนำวิธีการผลิตหัวเชื้อดินไมคอร์ไรซาร์ไว้ได้อย่างน่าสนใจ มีส่วนผสมและขั้นตอนการทำไม่ยาก ดังนี้

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • สปอร์ ไมคอร์ไรซา 1 กก.
  • ทรายละเอียด 50 กก.
  • ดิน 50 กก.
  • เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
  • บ่อซีเมนต์
  • น้ำเปล่า 1 ถัง (ประมาณ 15-20ลิตร)

ขั้นตอนการทำ

  1. ผสมทรายละเอียด ดิน และสปอร์ หัวเชื้อราไมโคไรซาร์ (อาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา) ในบ่อซีเมนต์ ให้เข้ากัน
  2. รดน้ำให้ทั่ว เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดิน
  3. นำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลงปลูก เว้นระยะพอประมาณ
  4. เมื่อครบ 45 วัน ดึงต้นข้าวโพดออกให้หมด
  5. นำดินที่ได้มาร่อนให้มีความละเอียด ผึ่งแดดให้แห้ง
  6. เก็บไว้ในถุงพลาสติก เมื่อนำไปใช้งานให้นำผสมกับปุ๋ยหมัก

คลิกเพื่อดูวิดีโอ : การผลิตหัวเชื้อดินไมคอร์ไรซา

จะเห็นว่า เชื้อราไมคอร์ไรซาร์ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ระบบราก ช่วยสะสมธาตุอาหารให้แก่พืช โดยเฉพาะพืชเกษตรที่เน้นเรื่องผลผลิต ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาว่า พืชเกษตร ป่าไม้ชนิดต่าง ๆ นั้นเหมาะกับไมคอร์ไรซาร์ชนิดใด เพื่อเพาะขยายพันธุ์ปลูกกับกล้าไม้ ดำเนินการปลูกพืช สร้างสวนป่า ให้ได้ผลตามจุดมุ่งหมายนั่นเอง

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

Wishyouwell.

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด