บุก

8,958 Views

คัดลอกลิงก์

รู้จัก บุก สรรพคุณ และ ประโยชน์ ที่มีมากกว่าช่วยลดน้ำหนัก

บุก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ในป่าลึก แม้จะเป็นต้นไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ แต่หัวของบุกก็มีสรรพคุณทางยาอย่างคาดไม่ถึง ชนิดที่ถูกเรียกว่าเป็น King Of Fiber เลยทีเดียว แถมยังช่วยป้องกันโรคร้ายอื่น ๆ ได้อีก จนทำให้มีการนำ บุก มาแปรรูปเป็นอาหารเพื่อคนรักสุขภาพอย่างแพร่หลาย

อะไรทำให้ บุก มีสรรพคุณรักษาโรคได้ขนาดนั้น และ พืชชนิดหนึ่ง ที่น้อยคนจะรู้จักชนิดนี้ จะมีประโยชน์อีกมากแค่ไหน วันนี้ SGE จะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ บุก ให้มากขึ้น

บุก คือ อะไร

บุก

บุก เป็นพืชหัวล้มลุก พบได้ในป่าลึก มักขึ้นอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ มีชื่อสามัญว่า Konjac (คอนจัค) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และ ไทย โดยในประเทศไทยนั้น พบมากในแถบภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี โดยบุกที่พบนั้นมีมากถึง 46 ชนิด แต่ละชนิด ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเช่น มันซูรัน (ภาคกลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เมีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) บุกคางคก (กลาง เหนือ) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ (สกลนคร) กระบุก (บุรีรัมย์)ป บุกรอหัววุ้น หมอยวี จวี๋ ยั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หมอยื่น (จีนกลาง)

ลักษณะที่โดดเด่นที่สังเกตได้ของ บุก ก็คือ ดอกจะเป็นช่อทรงกระบอกใหญ่ มีสีม่วงแดงอมเขียว ผลจะมีลักษณะรียาวติดกันเป็นช่อ ลึกลงไปใต้ดิน จะมีหัวรูปร่างค่อนข้างกลมแบนหรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวขรุขระเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ เนื้อด้านในหัวจะมีสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือ ขาวเหลือง โดยหัวบุกลูกหนึ่งอาจหนักได้ถึง 20 กิโลกรัม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

สรรพคุณของ บุก

บุก

ส่วนที่มีสรรพคุณและนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ หัวบุก ที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งเมื่อผ่านขั้นตอนการล้าง และสกัดสารพิษต่าง ๆ ออกแล้ว ในเนื้อบุกจะมี สารกลูโคแมนแนน (glucomannan) อยู่ภายใน เป็นเส้นใยธรรมชาติ ที่มีน้ำหนักมวลโมเลกุลสูงมาก ซึ่งโมเลกุลของกลูโตแมนแนน ประกอบด้วยน้ำตาลสองชนิด คือ กลูโคส และแนมโนส มีฤทธิ์ช่วยดูดชึมน้ำในกระเพาะอาหาร ช่วยให้อิ่มเร็ว ให้พลังงานต่ำ เหมาะกับคนที่ต้องการกินอาหารน้อยลง เพื่อลดน้ำหนัก

นอกจากนี้ ยังช่วยยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคลสจากทางเดินอาหาร สามารถดูดซับไขมัน และ กรดน้ำดี (bile acid) แล้วขับถ่ายออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดระดับ cholesterol และ triglyceride ในหลอดเลือดได้ ปัจจุบัน จึงใช้เนื้อแป้งจาก บุก ทำเป็นวุ้น เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และโรคมีไขมันในเลือดสูง

ด้วยสรรพคุณที่มีประโยชน์มากมาย ทำให้สารใยอาหารกลูโคแมนแนนจากหัวบุก ถูกยกย่องว่าเป็น “King of Fiber”โดยสารกลูโคแมนแนน (Glucomannan) นั้น จะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันออกไปตามชนิดของบุก ปกติสามารถพบได้ถึง 90% สำหรับ หัวบุก นั้นยังพบสารอื่น ๆ อีก เช่น Konjacmannan, D-mannose, Takadiastase, แป้ง, โปรตีนบุก, วิตามินบี, วิตามินซี, คาร์โบไฮเดรตอยู่สูง และยังพบสารที่เป็นพิษ คือ Coniine, Cyanophoric glycoside ด้วย ก่อนนำมาใช้จึงควรทำความสะอาดและล้างพิษทุกครั้ง

ประโยชน์และการใช้รักษาโรค

เส้นบุก

เมื่อนำแป้งจากหัวบุกมารับประทาน จะมีประโยชน์ ช่วยป้องกันและรักษาโรคได้มากมาย เช่น

1, ช่วยลดน้ำหนัก

ในเนื้อแป้งที่ได้จาก หัวบุก มีสารกลูโคแมนแนน หากรับประทานก่อนทานอาหาร 1 ชั่วโมง จะช่วยดูดซึมน้ำในกระเพาะอาหาร แล้วพองตัว ทำให้รู้สึกอิ่มได้เร็ว จึงเหมาะกับคนที่ต้องการทานอาหารลดลง เพื่อคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ เนื้อแป้งบุกที่ปรุงสุก ยังสามารถรับประทานแทนอาหารมื้อหลักได้ด้วย เพราะให้พลังงานต่ำ เหมาะกับคนที่ต้องการลดความอ้วน

2. รักษาโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง

สารกลูโคแมนแนนในแป้งบุก สามารถดูดซับไขมัน และ กรดน้ำดี (bile acid) แล้วขับถ่ายออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดระดับ cholesterol และ triglyceride ในหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน และโรคมีไขมันในเลือดสูงได้

3. ช่วยลดน้ำตาลในหลอดเลือด

ด้วยมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคลสจากทางเดินอาหารให้ช้าลง จึงช่วยระดับน้ำตาลในหลอดเลือดหลังการกินอาหาร

4. ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

เมื่อสารกลูโคแมนแนนดูดซึมน้ำในกระเพาะอาหาร จะกระตุ้นทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้บีบตัวขับกากอาหารที่คั่งค้างออกมา จึงอาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้

5. รักษาแผลชนิดต่าง ๆ ได้

หากนำ เนื้อแป้งบุก มาตำ หรือ นำมาฝนกับน้ำส้มสายชู หรือ ต้มเอาน้ำจากเนื้อแป้ง จะใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นแผลต่าง ๆ ได้ เช่น แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวง แผลปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว รวมถึงฝีหนองต่าง ๆ ได้

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ประโยชน์ด้านอื่น ๆ

เส้นบุก

1. นำมาทำอาหารได้

คนไทยเรานิยมนำหัวบุกไปทำเป็นอาหารทั้งคาวและหวานเช่นเดียวกับเผือก เช่น แกงบวชมันบุก แกงอีสาน นำไปทอดหรือใส่ในแกงกะหรี่ หรือจะนำมาฝานเป็นแผ่นแล้วนำมานึ่งหรือย่างกินเป็นขนมบุก ส่วนต้นอ่อนที่ปอกเปลือกออกแล้ว ใบอ่อน และก้านใบอ่อนก็สามารถนำมาทำอาหารคล้าย ๆ กับบอนได้ เช่น แกงส้ม แกงเลียง ห่อหมก หรือนำมาต้มลวกจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ (ก่อนนำมาปรุงเป็นอาหารต้องเอาไปต้มก่อน โดยใส่ลงไปตอนที่น้ำกำลังเดือดเพื่อให้พิษหมดไป) แต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมรับประทานกันแล้ว เนื่องจากขั้นตอนก่อนนำมาปรุงเป็นอาหารนั้นยุ่งยากเกินไปนั่นเอง

2. แปรรูปเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

ด้วยสรรพคุณที่ช่วยป้องกันและรักษาโรคได้มากมาย ปัจจุบัน จึงมีการนำหัวบุกหรือแป้งบุกมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น วุ้นเส้นบุก, เส้นหมี่แป้งหัวบุก, วุ้นบุกก้อน, ขนมบุก รวมถึงเครื่องดื่มรูปแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่มบุกผง นอกจากนี้ ยังถูกนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน และลดไขมันในเลือดกันอย่างแพร่หลาย เช่น ผงบุก หรือ แคปซูลผงบุก อีกด้วย

3. ปลูกเพื่อเป็นพืชสวยงาม

ด้วยลักษณะช่อดอกที่มีความสวยงามโดดเด่น นักจัดสวนจึงนำต้นบุกมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวยงาม โดยนิยมนำมาปลูกประดับตามใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้น ปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับทั่วไป หรือปลูกไว้ขายเพื่อเพิ่มรายได้สำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุกชนิดที่มีหัวเล็กใบกว้าง ที่มีชื่อว่า “บุกเงินบุกทอง” ซึ่งเป็นที่นิยมของนักเล่นต้นไม้ และมีราคาสูงอยู่พอสมควร

4. ช่วยป้องกันไฟป่า

ต้นบุกนั้น มักขึ้นอยู่ในป่าลึก ด้วยคุณสมบัติที่เป็นพืชหัวมัน ทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวดิน ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดไฟป่าได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “มีบุก มีป่า” นั่นเอง

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ข้อควรระวังในการใช้ บุก

1. ไม่ใช่ บุก ทุกชนิดที่นำมาใช้ประโยชน์ได้

ในบ้านเรา พบบุกมากกว่า 46 ชนิด แต่ไม่ใช่ทุกชนิดที่นำมาใช้ได้ เพราะมีพิษอยู่ภายใน จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ดี โดยการเลือกว่าบุกชนิดใด สามารถนำมารับประทานได้หรือไม่นั้น มีวิธีการสังเกตที่ชาวบ้านนิยมใช้และบอกต่อ ๆ กันมา คือ หากกินใบ ให้ลังเกตลำต้นต้องมีผิวเรียบเกลี้ยง ไม่ขรุขระหรือเป็นหนาม หากกินลำต้นและดอกอ่อน ต้องมีลำต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 50 ซม. ส่วนบุกที่กินหัวใต้ดิน จะมีลำต้นที่ใหญ่สูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป ให้สังเกตดูสีของเนื้อในหัว ถ้าบุกที่กินได้ เนื้อจะมีสีขาวอมเหลือง สีขาวอมชมพู หรือ สีขาวอมม่วง

2. ต้องทำความสะอาดและล้างพิษก่อนทุกครั้ง

ในหัวบุกมีพิษอยู่ จึงต้องกำจัดพิษออกก่อน จึงจะนำมาใช้งานได้  โดยกรรมวิธีการกำจัดพิษจากหัวบุก ให้นำหัวบุกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตำพอแหลก คั้นเอาน้ำออกพักไว้ นำกากที่ได้ไปต้มน้ำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปผสมกับน้ำที่คั้นครั้งแรก แล้วนำไปต้มกับน้ำปูนใสเพื่อให้พิษหมดไป เมื่อเดือดก็พักไว้ให้เย็น จะจับตัวกันเป็นก้อน จึงสามารถใช้ก้อนดังกล่าวในการปรุงอาหารหรือนำไปตากแห้งเพื่อใช้เป็นยาได้

3. ต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญในการใช้บุก

ในเนื้อหัวบุกป่าจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) เป็นจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดอาการคัน ส่วนเหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดี แล้วรับประทานเข้าไป จะทำให้ลิ้นพองและคันปากได้ ถ้าไม่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญมากพอ จึงไม่ควรทำเพื่อใช้เป็นยาหรือทำเพื่อกินเอง ถ้าเกิดอาการเป็นพิษจากการรับประทานบุก ให้รับประทานน้ำส้มสายชูหรือชาแก่ ตามด้วยไข่ขาวสด แล้วรีบไปพบแพทย์

4. ต้องรู้หลักการในการบริโภค

หากกิน วุ้นบุก ซึ่งแปรรูปมาจาก เนื้อแป้งบุก ให้รับประทานก่อนอาหาร ไม่น้อยกว่า 30 นาที – 1 ชั่วโมง เท่านั้น เนื่องจากวุ้นบุกสามารถขยายตัวได้มาก (ไม่ต่ำกว่า 20 เท่าของเนื้อวุ้นแห้ง) จึงไม่ควรบริโภควุ้นบกภายหลังการรับประทาน ส่วนการบริโภคอาหารที่ผลิตจากวุ้น เช่น วุ้นก้อนและเส้นวุ้น สามารถบริโภคพร้อมอาหารหรือหลังอาหารได้ เพราะวุ้นดังกล่าวได้ผ่านกรรมวิธีและได้ขยายตัวมาก่อนแล้ว ทั้งนี้ ถึงวุ้นบุกจะช่วยให้อิ่มไว แต่ก็ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เนื่องจากไม่มีการย่อยสลายเป็นน้ำตาลในร่างกาย และไม่มีวิตามินและแร่ธาตุ หรือสารอาหารใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย

5. รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

การกินผงวุ้นบุกในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการท้องเดินหรือท้องอืด มีอาการหิวน้ำมากกว่าเดิม นอกจากนี้ หากกินในปริมาณสูงต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อาจมีผลทำให้การดูดซึมวิตามินและเกลือแร่ลดลง จนอาจมีอาการอ่อนเพลียได้

ใครอยากลดน้ำหนัก หรือ บำรุงสุขภาพ อาจพิจารณา บุก ไว้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะถือเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์และรักษาโรคได้หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาหลักการในการใช้งาน ตลอดจนปริมาณที่ควรบริโภค เพื่อความปลอดภัยและได้รับสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริง


บทความที่น่าสนใจ

11 สิงหาคม 2021

โดย

Pres

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment