“สละ” ผลไม้เขตร้อน พร้อมคุณประโยชน์มากถึง 20 ข้อ
สารบัญ
สละ (Salak) ผลไม้รสหวานอมเปรี้ยว คล้ายระกำ แต่จะแยกออกได้อย่างไร แล้วมีวิธีการเก็บรักษายังไงให้ได้นาน พร้อมประโยชน์นับ 20 ข้อ มีอะไรบ้าง SGE มีคำตอบมาให้
ประโยชน์ของสละ
สละ มีประโยชน์มากกว่าที่คิด เรารวบรวมมาให้แล้ว 20 ข้อ
1.มีเบต้าแคโรทีน ช่วยในการบำรุงสายตา
2.มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
3.ช่วยป้องกันอาการหวัด บรรเทาอาการไอ
4.ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
5.สละมีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
6.มีโพแทสเซียม ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง
7.ช่วยในการระบาย ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น
8.สามารถนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ หรือขนมหวานต่าง ๆ ได้
9.ยอดอ่อนของสละ นำมาปรุงอาหาร หรือนำมารับประทานเป็นผักสดได้
10.ใบของสละ สามารถนำมาห่ออาหาร หรือมุงเป็นหลังคา ทำร่ม และรั้วบ้านได้
11.แก้อาการกระหายน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย
12. ป้องกันอาการตาบอดตอนกลางคืน
13.บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (แคลเซียมและฟอสฟอรัส)อ่านเพิ่มเติม
ข้อมูลโภชนาการของสละ
ข้อมูลโภชนาการ ปริมาณต่อ 100 กรัม
สารอาหาร | ปริมาณ | หน่วย |
---|---|---|
แคลอรี (kcal) | 67 | แคลอรี |
น้ำ | 80.6 | กรัม |
โปรตีน | 0.4 | กรัม |
ไขมันทั้งหมด | 0.10 | กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 14.70 | กรัม |
น้ำตาล | 13.40 | กรัม |
เส้นใยอาหาร | 3.2 | กรัม |
เถ้า | 1.00 | กรัม |
ไอโอดีน | 0.88 | มิลลิกรัม |
เบต้าแคโรทีน | 38 | มิลลิกรัม |
วิตามินเอทั้งหมด | 3 | มิลลิกรัม |
วิตามินบี | 0.03 | มิลลิกรัม |
แหล่งข้อมูลประกอบ: สำนักโภชนาการกรมอนามัย
สละ VS ระกำ ต่างกันอย่างไร?
สละ ผลจะมีสีคล้ำออกน้ำตาล หนามที่เปลือกไม่แข็งเท่าระกำ มีผลยาวกว่า เนื้อเยอะกว่า เนื้อเป็นสีเหลืองอ่อน ผลมี 1 – 2 กลีบ เมล็ดเล็กกว่าระกำ และมีรสชาติที่หวานกว่า การแกะรับประทานก็ค่อนข้างง่าย รวมถึงลักษณะของต้นสละทางใบจะสั้นกว่าต้นระกำ ลำต้นก็เตี้ยกว่า (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์)
ระกำ จะออกเป็นทะลาย ลูกป้อม ๆ กลม ๆอ้วน ๆ เปลือกหุ้มผลเป็นเกล็ดสีน้ำตาลหรือดำ ถ้าแก่ผลจะเป็นสีแดง หนึ่งผลจะมีกลีบ 2 – 3 กลีบ เนื้อน้อย มีสีเหลืองอมส้ม มีรสเปรี้ยวมาก เมล็ดใหญ่ หนามเยอะและยาวกว่าหนามกว่าสละ
สละที่แกะแล้วสามารถเก็บไว้ได้กี่วัน ?
• หากไม่ได้นำใส่ตู้เย็น ควรบรรจุใส่ภาชนะโปร่ง ระบายอากาศได้ดี แล้ววางไว้ในบริเวณที่อากาศถ่ายเท ไม่ร้อนอบอ้าว จะทำให้สละอยู่ได้นานยิ่งขึ้น
• เก็บแบบแช่เย็น ควรอยู่ในอุณหภูมิที่ประมาณ 15 องศาเซลเซียส จะสามารถอยู่ได้นานถึง 28 วัน และเมื่อนำออกมาจากตู้เย็นก็ยังคงคุณภาพได้อีกถึง 3 วัน
สละ (Salak)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Salacca zalacca
ชื่อสามัญ
Salak, Zalacca
วงศ์
Arecaceae
ถิ่นกำเนิด
ทวีปเอเชีย
สละ เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีมากกว่า 30 สายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่นิยมรับประทานมากที่สุด คือ สละอินโด หรือสละพันธุ์ปนโดะห์ (Salak pondoh) จากเมืองยอร์กยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากมีรสหวาน กลิ่นหอมน่ารับประทาน และสละพันธุ์บาหลี (Salak Bali) จากเกาะบาหลี ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว มีรสชาติอมเปรี้ยว เนื้อเยอะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสละ
ลำต้น
เป็นแกนที่หุ้มด้วยกาบใบ เป็นข้อๆ ลำต้นสูงประมาณ 3 – 7 เมตร
ใบ
ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยแตกออกจากก้านใบ ลักษณะคล้ายใบมะพร้าว
ดอก
สละออกผลเป็นทะลายเรียกว่า “คาน” ซึ่งในแต่ละคานจะมีทะลายย่อยเรียกว่า “กระปุก”
ผล
มีลักษณะเป็นรูปทรงยาวรี ผลอ่อนสีน้ำตาล ผลแก่มีสีแดงอมน้ำตาล เปลือกผลเป็นเกล็ดซ้อนกัน มีขนสั้นแข็งคล้ายหนาม
สายพันธุ์ของสละ
วันนี้ SGE คัดเลือกสายพันธุ์สละ ที่นิยมปลูกในไทยมาให้นักอ่านทุกท่านได้ดูกัน ดังนี้
1 สละเนินวง
1 สละเนินวง
ผลหัวท้ายของสละ เรียว สีส้มอมน้ำตาล มีหนามยาว ผลดิบรสฝาด ส่วนผลสุกมีรสหวานหอม
2 สละหม้อ
2 สละหม้อ
ผลสละ ค่อนข้างยาว ปลายแหลมเป็นจะงอย และเปลือกมีสีแดงเข้ม
3 สละสุมาลี
3 สละสุมาลี
เป็นอีกสายพันธุ์ของสละ ที่นิยมปลูกทั่วไป ผิวใบหยิกย่น เติบโตได้ดีในอากาศหนาวเย็น มีรสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นเฉพาะตัว
วิธีการปลูกต้นสละ
สละ โดยทั่วไปสามารถปลูกได้ดีเกือบทุกสภาพพื้นที่ แต่พื้นที่ที่เหมาะสมนั้น ความลาด เอียง ไม่ควรเกิน 15% ไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะดินควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนเหนียวที่ มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี มีชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
แหล่งข้อมูลประกอบ: การปลูกสละจากกรมวิชาการเกษตร
สละลอยแก้ว
ปิดท้ายบทความด้วยเมนูสุดฮิตจากสละ รับประทานคลายร้อน รับรองว่าชื่นใจสุด ๆ ♥
วัตถุดิบ
- สละ 1/2 กิโลกรัม
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
- น้ำเปล่า 2 ถ้วย
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- ใบเตยมัด 4 – 5 ใบ
วิธีทำ
- แกะเปลือกสละออก จากนั้น ใช้มีดแกะสลัก คว้านเอาเมล็ดออกมา
- ตั้งหม้อเปิดไฟอ่อน ใส่น้ำเปล่า น้ำตาลทราย เกลือ ใบเตยมัดลงไป คนให้น้ำตาลและเกลือละลาย
- ใส่สละลงไป คนให้เข้ากัน เมื่อเดือดแล้ว ปิดไฟ พักทิ้งไว้ให้เย็น
- ตักสละและน้ำเชื่อมใส่ถ้วย ตักน้ำแข็งโปะไว้ด้านบน เป็นอันเสร็จ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลังจากอ่านบทความนี้จบแล้ว หวังว่านักอ่านทุกท่านจะไม่ต้องเจ็บมือกับการแกะสละอีกต่อไป (อิอิ) รวมถึงประโยชน์ทั้ง 20 ข้อ อัดแน่นขนาดนี้มองข้ามไม่ได้แล้ว <3
23 พฤษภาคม 2024
โดย
จอมนอน