ยางอินเดีย

282 Views

คัดลอกลิงก์

รู้จักต้น ยางอินเดีย ประโยชน์ ความเชื่อ พร้อมวิธีปลูกต้นยางอินเดียแบบง่าย ๆ

ยางอินเดีย ประโยชน์ มีอะไรบ้าง เป็นต้นไม้มงคล ต้นไม้ฟอกอากาศ จริงไหม SGE มีคำตอบ
พร้อมบอกวิธีปลูก ต้นยางอินเดีย แบบง่าย ๆ ที่บ้าน ใครอยากปลูกต้นไม้ชนิดนี้ สำหรับตกแต่งบ้าน แล้วละก็ ไม่ควรพลาด

ยางอินเดีย

ลักษณะทั่วไปของต้นยางอินเดีย

ต้นยางอินเดีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus elastica จัดอยู่ในวงศ์ Moraceae เช่นเดียวกับ โพ มะเดื่อ กร่าง และ ต้นไทร ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งแผ่กว้าง สูง 15 – 25 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อโตเต็มที่ จะแตกรากอากาศออกมาห้อยย้อยตามลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ไม่ผลัดใบ รูปวงรีหรือรูปไข่  ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม โคนสอบ แผ่นใบหนาแข็งเป็นมัน เมื่อแตกยอดอ่อนจะมีสีแดงระเรื่อ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ดอกมีสีขาวขนาดเล็ก เมื่อดอกแก่จะมีสีเหลือง ผลเป็นรูปทรงกลมรี รู้จักกันในหลายชื่อ เช่น Decora Tree, Indian Rubber, Rubber Plant

ต้นยางอินเดีย มีกี่ขนิด

ความจริงแล้ว ต้นยางอินเดียสามารถแบ่งแยกย่อยได้มากกว่า 16 ชนิด แต่ถ้าแบ่งตามชนิดที่คนไทยนิยมปลูก จะมีอยู่ 5 ชนิดด้วยกัน คือ

  • ยางอินเดียดำ : ลักษณะใบมีสีเขียวดำเข้ม หรือ น้ำตาลดำเข้ม
  • ยางอินเดียด่างขาว : กลางใบมีสีเขียวอ่อน ขอบใบมีสีขาวแซม
  • ยางอินเดียด่างชมพู : กลางใบมีสีเขียวอ่อน ขอบใบมีสีชมพูแซม
  • ยางอินเดียด่างสามสี : มีสีเขียว สีขาว สีชมพู 3 สี แซมกันอยู่ที่ใบและต้น
  • ยางอินเดียด่างกระ : ใบมีสีเขียว แต่ตลอดทั้งใบจะมีลายกระเป็นจุด ๆ ขึ้นแทรกอยู่

ต้นยางอินเดีย ความเชื่อ

คนไทยมีความเชื่อว่า ต้นยางอินเดีย เป็นต้นไม้มงคล เนื่องจากมีใบกลมมน สื่อถึงความมั่งคั่ง หากปลูกไว้ในบ้าน จะช่วยเสริมฮวงจุ้ย เรียกเงินเรียกทอง ช่วยให้เจ้าของบ้านค้าขายร่ำรวย ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า ช่วยเยียวยาจิตใจให้มีพลัง และ ช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย

ยางอินเดีย ราคา

ต้นยางอินเดีย มีมูลค่ามาก จะขายเฉพาะ ใบ หรือ ทั้งต้น เลยก็ได้ หากขายเฉพาะใบ ราคาใบละ 15 – 19 บาท ถ้าขายทั้งต้น ต้นเล็ก เริ่มต้น 49 บาท ต้นใหญ่ ราคา 190 – 550 บาท แต่ถ้าหากเป็น ต้นยางอินเดียด่างขาว หรือ ยางอินเดียด่างชมพู ที่ขอบใบมีสีแซมเสมอกันแล้วละก็ จะมีราคาแพงที่สุด ซื้อขายกันอยู่ที่ 2,000 บาท เลยทีเดียว

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ต้นยางอินเดีย ประโยชน์

ยางอินเดีย

1. ตกแต่งบ้านให้สวยงาม

ใบของต้นยางอินเดีย มีสีสันสวยงาม หากเป็นยางอินเดียดำ จะมีสีเขียวเข้มสวย ตัดกับโทนสีสว่างของห้อง ทำให้ห้องดูไม่เรียบจนเกินไป ถ้าเป็นยางอินเดียด่างขาว ด่างชมพู หรือ ด่างสามสี ก็จะช่วยเพิ่มสีสัน ทำให้ห้องดูสว่างสบายตา เหมาะสำหรับนำมาตกแต่งภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น หรือ ห้องนอน

2. เป็น ต้นไม้ฟอกอากาศ

นอกจากใบของต้นยางอินเดียจะมีสีสันสวยงาม ช่วยตกแต่งบ้านให้ดูน่าสนใจขึ้นแล้ว ยังปล่อยก๊าซออกซิเจน ช่วยให้อากาศสดชื่น เหมาะสำหรับปลูกเป็น ต้นไม้ฟอกอากาศ ภายในบ้าน

3. นำใบมาทำพวงหรีดในงานศพ

คนในสมัยก่อนนิยมนำใบยางอินเดีย มาทำพวงหรีดสำหรับใช้ในงานศพ เพราะใบหนา ผิวมีความมันวาว สวยงาม ไม่เหี่ยวง่าย ไม่ร่วงง่าย เหมือนใบของต้นไม้ชนิดอื่น ๆ จึงทำให้พวงหรีดมีความแข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับใช้ในพิธีงานศพ ซึ่งใช้ระยะเวลาหลายวัน

4. กรีดเอาน้ำยางมาทำยางลบ

เนื่องจากทุกส่วนของของต้นยางอินเดีย มีน้ำยางสีขาวอยู่ข้างใน คนโบราณจึงนิยมกรีดเอาน้ำยางออกมา ตากไว้ให้แห้ง แล้วนำมาปั้นก้อน ใช้ลบข้อความที่เขียนโดยดินสอ ในอดีต จึงมีชื่อเรียกเล่นอีกอย่างว่า ต้นยางลบ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีปลูกต้นยางอินเดีย แบบง่าย ๆ

ต้นยางอินเดีย

วิธีปลูกต้นยางอินเดีย แบบง่าย ๆ แนะนำการปักชำจะดีที่สุด เพราะแค่มีใบยางอินเดีย 1 ใบ ก็สามารถปลูกได้แล้ว โดยใบของยางอินเดียนั้น จะต้องมีข้อหรือลำต้นติดมาด้วย ถึงจะทำให้รากงอกโตไวขึ้น สำหรับการปลูกต้นยางอินเดียในบ้านให้สวยงาม ควรหาซื้อกระถางขนาด 8, 10, 12 นิ้ว มาใช้ เพราะจะช่วยให้รากของต้นยางอินเดียซึ่งแผ่ขยายได้ไกล ขยายรากได้ง่ายขึ้น รวมถึงควรหา ขาตั้งกระถาง มายกกระถางขึ้นสูง เพื่อเสริมความโดดเด่น และ ลดมุมอับ ป้องกันฝุ่นไม่ให้สะสมที่ใต้กระถาง ที่สำคัญ เนื่องจากต้นยางอินเดียต้องการน้ำปานกลาง จึงควรหาหินโรยหน้า มาคลุมหน้าดินเอาไว้ด้วย เพื่อรักษาหน้าดินให้ชุ่มชื้นตลอดทั้งวัน โดยจะใช้หินสีดำหรือสีขาวก็ได้

อุปกรณ์และวัสดุ

  • ใบยางอินเดีย 1 ใบ
  • น้ำยาเร่งราก 1 ฝา
  • น้ำเปล่า
  • ดินร่วน
  • ปุ๋ยคอก
  • ขุยมะพร้าว
  • กระถางขนาด 8 นิ้ว

วิธีปลูกต้นยางอินเดีย

  1. เทน้ำยาเร่งรากผสมกับน้ำเปล่า คนให้ละลายเข้ากัน
  2. นำใบยางอินเดีย แช่น้ำเอาไว้ รอประมาณ 3 – 5 วัน หรือ จนกว่ารากจะงอกออกมา
  3. นำขุยมะพร้าวใส่กระถาง รองก้นเอาไว้ จากนั้น นำดินร่วนผสมปุ๋ยคอก ใส่ลงไปจนเกือบเต็มกระถาง
  4. ขุดหลุมเล็ก ๆ แล้วนำใบยางอินเดียปักชำลงไป กลบให้มิด
  5. รดน้ำให้ดินชุ่ม เป็นอันเสร็จ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ต้นยางอินเดีย วิธีดูแล

ยางอินเดีย

แสงแดด

หากปลูกไว้ในบ้าน ควรวางต้นไม้ใกล้หน้าต่าง เพื่อรับแสงแดดระหว่างวันให้มากที่สุด หากลำต้นยืดเข้าหาแสง จนลำต้นเอียงหรือเสียทรง ให้แก้ไขโดยตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสม แล้วนำกิ่งที่ได้ไปปักชำ ขยายพันธุ์ต่อ

น้ำ

ต้นยางอินเดียต้องการน้ำปานกลาง ควรหมั่นรดน้ำให้ดินชุ่ม อย่างน้อย 3 – 5 วันต่อ 1 ครั้ง หรือ พิจารณาตามสภาพของดิน เพื่อควบคุมความชื้นให้เหมาะสม

การให้ปุ๋ย

หลังจากปลูกได้สักระยะหนึ่ง จนรากและลำต้นของต้นยางอินเดียแข็งแรงดีแล้ว ทำการให้ปุ๋ย โดยใช้ปุ๋ยเคมีละลายช้าสูตร 3 – 6 เดือน อย่างน้อย 1 ครั้ง

การบำรุงใบ

ควรหมั่นเช็ดใบยางอินเดีย โดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาด บิดให้แห้ง แล้วเช็ดผิวใบให้ทั่ว เพียงแค่นี้ ก็จะทำให้ใบมันเงาสวยงามได้แล้ว

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ เรื่องราวของต้น ยางอินเดีย ที่ SGE นำมาฝาก คงจะทำให้ทุกคนรู้จักทุกแง่มุมของเจ้าต้นไม้ชนิดนี้ได้ไม่มากก็น้อย หากใครอยากปลูก ต้นยางอินเดีย สำหรับเป็นต้นไม้มงคล ต้นไม้ฟอกอากาศแล้วละก็ ลองปลูกตามได้เลย รับรองว่า ต้นยางอินเดียของคุณจะเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง ใบมันเงาสวยงาม ช่วยให้บ้านของคุณน่าอยู่มากขึ้น ได้อย่างแน่นอน

สำหรับใครที่อยากปลูกต้นยางอินเดียในกระถาง แล้วอยากได้กระถางต้นไม้คุณภาพดี ขอแนะนำ กระถางต้นไม้ Air Pot ของ SGE ทำจากพลาสติก HDPE ไม่แตกหักง่าย ช่วยให้ดินระบายน้ำและอากาศได้ดี มีขนาดใหญ่สุด 20 แกลลอน ช่วยให้รากเดินหาอาหารได้ง่าย เติบโตสมบูรณ์แข็งแรง สนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.sgethai.com/product/air-pot-planter/ หรือ สอบถามเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ Line ของเราได้เลย


บทความที่น่าสนใจ

1 พฤศจิกายน 2023

โดย

Pres

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment