สารฟอกขาว คืออะไร กินมาก ๆ เป็นอะไรไหม? อันตรายจริงหรือ?

สารฟอกขาว

เป็นสารเคมีกลุ่มซัลไฟต์ ซึ่งยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ และยังใช้เป็นสารกันหืน มีคุณสมบัติในการ ช่วยยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหาร ไม่ให้เป็นสีน้ำตาล เมื่ออาหารถูกความร้อนในกระบวนการผลิต ถูกหั่น หรือตัด แล้ววางทิ้งไว้ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ รา บักเตรี หากผู้บริโภครับประทานสารเคมีในกลุ่มนี้มากเกินไป ทำให้เกิดอันตราย ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล และอาจจะเกิดอาการช็อคหมดสติได้

201130-Content-สารฟอกขาว-คืออะไร-อันตรายจริงหรือ-2

สารเคมีดังกล่าว ที่นิยมใช้เป็นสารกลุ่มซัลไฟต์ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียม หรือโปแตสเซียมซัลไฟด์ โซเดียม หรือโปแตสเซียมไบซัลไฟต์ และโซเดียม หรือโปแตสเซียมแมตาไบซัลไฟต์ ซึ่งจะได้รับอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ใช้ได้ในอาหารทุกชนิด คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือ โซเดียมไดไทโอไนต์ เป็นสารเคมีที่ใช้ในการฟอกแห อวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก แต่มีผู้ลักลอบนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร สารนี้ มีคุณสมบัติในการสลายตัวได้เร็ว เมื่อทิ้งไว้จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารกลุ่มซัลไฟต์

ความเป็นพิษ ถ้าร่างกายได้รับสารฟอกขาวแล้ว กระบวนการในร่างกายจะเปลี่ยนสารไปอยู่ในรูปของซัลเฟต และขับออกได้ทางปัสสาวะ แต่ถ้าได้รับสารฟอกขาวกลุ่มโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือกลุ่มซัลไฟต์เกินกำหนด สารฟอกขาวจะไปทำลายไวตามินบี 1 ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง บางรายที่แพ้อาจเกิดลมพิษ ช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหอบหืด

ทั้งนี้ ระดับความรุนแรง ขึ้นอยู่กับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยเพียงใด นอกจากนั้น สารฟอกขาว ยังทำปฏิกิริยากับวิตามินบางชนิด เช่น ไทอามีน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดวิตามินนี้ได้ ถ้าได้รับสารฟอกขาวต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะสะสมทำให้รบกวนการทำงานของเอนไซม์ ทำให้มีผลเสียต่อระบบสมดุลของระบบเมตาบอลิซึมได้

การสังเกตการปนเปื้อน อาหารที่อาจมีสารปนเปื้อนสารฟอกขาว อาหารมีสีขาวเหมือนใหม่เสมอ ถั่วงอกขาวมากผิดปกติ ขิงหั่นฝอยสีสดไม่เป็นสีน้ำตาล

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่

สารฟอกขาวในอาหาร

นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารฟอกขาวบางตัวไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหาร เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ ได้แก่ สารไฮโดรซัลไฟต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ยาขัด” ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้ในการฟอกย้อมผ้า แต่พบว่า ผู้ผลิตหลายรายนำมาใช้ในการผลิตอาหารเพื่อฟอกสีอาหารให้ดูน่ากิน

201130-Content-สารฟอกขาว-คืออะไร-อันตรายจริงหรือ-3

ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภท โดยใช้เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืน เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหาร ที่จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย ซึ่งมักใช้ในอาหารประเภท ผัก ผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำหวานจากพืช และอาหารทะเล พวกกุ้ง ปู ปลา ปลาหมึก เป็นต้น ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้เอง ทำให้มีการนำสารนี้มาใช้อย่างกว้างขวางในผลิตอาหาร ต่าง ๆ เช่น

▸การผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

201130-Content-สารฟอกขาว-คืออะไร-อันตรายจริงหรือ-4

▸การผลิตน้ำตาล ทั้งน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ และน้ำตาลปึก

▸การฟอกสีผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งสาลี วุ้นเส้น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เป็นต้น

▸พืชผักผลไม้ที่ปอกเปลือก และต้องการเก็บไว้นาน ๆ โดยไม่เกิดสีน้ำตาล เช่น การผลิตมันฝรั่งอบแห้ง กล้วยอบแห้ง บางครั้งมีการนำไปแช่ถั่วงอก หน่อไม้ หรือใส่ในการผลิตผลไม้แห้ง ผลไม้ดอง และ แช่อิ่ม

▸การผลิตน้ำผลไม้

▸ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในการผลิตไวน์

201130-Content-สารฟอกขาว-คืออะไร-อันตรายจริงหรือ-5

ซึ่งโดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยน สารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทาง ปัสสาวะ

“อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้ เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล”

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้
กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารฟอกขาว

1. หลีกเลี่ยงการซื้อถั่วงอก หรือขิงซอยที่ผ่านการใช้สารฟอกขาวจนทำให้มีสีขาวอยู่เสมอ แม้ตากลมสีก็ยังไม่คล้ำ เป็นต้น

2. เลือกซื้ออาหารที่มีความสะอาด สีใกล้เคียงกับธรรมชาติ ไม่ขาวจนผิดปกติ เช่น ทุเรียนกวน ที่มีสีหมองคล้ำตามธรรมชาติ แทนที่จะซื้อทุเรียนกวนที่มีสีเหลืองใสจากการใส่สารฟอกขาว

3. เนื้อวัวโดยเฉพาะเครื่องใน มักตรวจพบสารฟอกขาว ซึ่งนิยมใช้มากในการฟอกเครื่องในวัว ที่เรียกว่า “ผ้าขี้ริ้ว” เป็นต้น ก็เสี่ยงกับการเป็นโรคได้อีกสารพัดชนิด ดังนั้นเราก็ควร เลือกในการบริโภคด้วยเช่นกัน

ดังนั้น ในการเลือกซื้ออาหาร ควรดูฉลากที่แสดงการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการระบุในฉลาก สำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืด ควรระวังการบริโภคอาหารที่มีการใช้สารฟอกขาวกลุ่มที่กล่าวมานี้ ในการผลิตไม่ควรบริโภคอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ส่วนในอาหารที่ไม่ต้องแสดงฉลาก ควรสังเกตลักษณะปรากฏของอาหารนั้นว่าโดยธรรมชาติของอาหารควรเป็นอย่างไร เช่น ผัก หรือผลไม้ที่ปอกเปลือก เมื่อวางทิ้งไว้จะมีสีคล้ำขึ้น ถั่วงอกเมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดนั้นจะมีสีคล้ำขึ้น น้ำตาลชนิดต่าง ๆ มักมีสีน้ำตาล ถ้าผลิตโดยไม่ใช้สารฟอกขาว น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึก เมื่อเก็บไว้ จะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ายังคงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนสี เมื่อเก็บไว้นาน ๆ ที่อุณหภูมิห้อง แสดงว่ามีการใช้สารฟอกขาวในการผลิต


ข้อมูลจาก : เว็บไซต์scimath