fbpx

เครื่องซีลถุงแบบไหนดี มือกด เท้าเหยียบ หรือสายพาน

อัปเดตเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 2024

เครื่องซีลถุงแบบไหนดี เทคนิคเลือก เครื่องซีลปิดปากถุง

คัดลอกลิงก์

เครื่องซีลถุงแต่ละประเภท มีลักษณะและฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกันไป ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าจะเลือก เครื่องซีลถุงแบบไหนดี เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณา ทั้งเรื่องชนิดอาหาร ชนิดถุง กำลังผลิตที่ต้องการ รวมถึงงบประมาณที่อาจจะมีจำกัด วันนี้เราจะมาอธิบายหลักการทำงานของเครื่องซีลถุงแต่ละแบบว่าดียังไง เหมาะกับใคร และเหมาะกับการใช้งานแบบไหน เพื่อให้ทุกคนเลือกซื้อเครื่องซีลถุงได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพคุ้มค่าที่สุด

1. เครื่องซีลถุงแบบมือกด

เครื่องซีลถุงมือกด (Hand Sealing Machine) หรือ เครื่องซีลปิดปากถุงพลาสติก เป็นเครื่องซีลปิดปากถุงขนาดกะทัดรัด ราคาถูก ใช้งานง่าย ปิดปากถุงขนาดเล็กได้สบาย เหมาะสำหรับใช้งานในบ้าน หรือ ใช้งานทั่วไป เช่น ปิดปากถุงอาหาร ซองขนม ซองเครื่องปรุง ซองครีม ฯลฯ รองรับทั้งถุงบาง ถุงหนา ถุงซื้อแกง ถุงคราฟท์ ถุงอลูมิเนียม และถุงฟอยด์ (ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการผลิตและการออกแบบ) แต่เนื่องจากเครื่องซีลประเภทนี้เป็น เครื่องซีลปิดปากถุงขนาดพกพา จึงรองรับปากถุงกว้างสูงสุดประมาณ 40 ซม.

ข้อดี

  • ราคาถูก ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
  • เบา พกพาสะดวก ปิดปากถุงเล็กสบาย
  • ปรับเวลาซีล ให้เหมาะกับถุงแต่ละชนิดได้
  • แถบซีลหนา ปิดถุงพลาสติกแน่น ไม่รั่ว

2. เครื่องซีลถุงแบบเท้าเหยียบ

เครื่องซีลถุงแบบเท้าเหยียบ (Foot Sealer) คือ เครื่องซีลปิดปากถุงที่ใช้เท้าช่วยในการซีล ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ ให้นั่งทำงานได้ ช่วยลดความเมื่อย ทำงานไวกว่าแบบมือกด รองรับปากถุงกว้างขึ้นและทำงานไวขึ้น แต่ทำงานช้ากว่า เครื่องซีลสายพาน 

ข้อดี 

  • ออกแบบคล้ายโต๊ะ ขาตั้งปรับได้
  • นั่งซีลสบาย ทำงานไวกว่ามือกด 
  • ฟังก์ชัน ปรับเวลาซีลได้ทั้งถุงหนาบาง
  • แถบซีลหนา ปิดถุงได้แน่นหนา
  • ซีลถุงใหญ่ หน้ากว้างจุใจ มีหลายขนาด

3. เครื่องซีลแบบสายพาน

เครื่องซีลสายพาน เรียกอีกอย่างว่า เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง (Continuous Sealing Machine) เป็น เครื่องซีลปิดปากถุงอัตโนมัติ ทำงานรวดเร็ว นิยมในอุตสาหกรรมการผลิต ใช้บรรจุหีบห่อ บางรุ่นรองรับการเติมแก๊สไนโตรเจน ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา ขนมกรอบนานขึ้น ใช้งานได้ต่อเนื่องหลายชั่วโมง ราคาสูงกว่าเครื่องซีลปิดปากถุงแบบมือกดและเท้าเหยียบ

ข้อดี

  • ทำงานไวที่สุด ปรับความเร็วสายพานได้ 
  • ปรับขนาดแถบซีลได้ตั้งแต่ 5 – 12 มม.
  • ปรับความร้อนแถบซีลสูงสุด 300 องศา
  • รองรับถุงทุกชนิด ทั้งหนาและบาง
  • มีให้เลือกทั้ง แนวตั้ง – แนวนอน  
  • ปั๊มวันที่ลงถุงได้ ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์
  • ทนทาน ใช้งานยาวนาน ลงทุนครั้งเดียวคุ้มค่า

4. เครื่องซีลสูญญากาศ

เครื่องซีลสูญญากาศ (Vacuum Sealer) อีกหนึ่งเครื่องซีลที่เป็นมากกว่าการซีลปิดปากถุง เพราะสามารถดูดอากาศออกจากบรรจุภัณฑ์ได้ ช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยยืดอายุอาหาร เก็บได้นานขึ้น 3 – 5 เท่า แถมซีลปิดปากได้ในตัว สามารถใช้งานคู่กับอุปกรณ์เสริม เพื่อซีลบล็อกข้าวสาร ปิดจุกคอร์กไวน์ หรือซีลกระปุกสูญญากาศได้ แต่มีข้อจำกัด คือ บางรุ่นต้องใช้ร่วมกับ ถุงซีลสูญญากาศ  เท่านั้น เพื่อประสิทธิภาพการจัดเก็บขั้นสูงสุด 

ข้อดี

  • 2in1 ดูดสูญญากาศ + ปิดปากถุง
  • เก็บอาหารนานขึ้น 3-5 เท่า
  • ปิดแน่น ไร้ฝุ่น แมลงรบกวน
  • ช่วยเพิ่มมูลค่า Packaging 
  • เก็บง่าย ประหยัดพื้นที่ในตู้เย็น

เทคนิคเลือก เครื่องซีลถุงแบบไหนดี ? 

หากเป็นการใช้งานในครัวเรือน และ ต้องการซีลปิดปากถุงขนาดเล็ก ไม่เกิน 30 ซม. แนะนำให้เลือก เครื่องซีลปิดปากถุงแบบมือกด แต่หากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก – กลาง ต้องการกำลังผลิตที่มากขึ้น แนะนำ เครื่องซีลถุงแบบเท้าเหยียบ เพื่อลดความเมื่อย เพิ่มความรวดเร็วให้กับขั้นตอนการผลิต ส่วนอุตสาหกรรมขนาดกลาง – ใหญ่ แนะนำให้ใช้ เครื่องซีลสายพาน ที่กำลังผลิตสูง รองรับถุงขนาดใหญ่ มีฟังก์ชันที่มากขึ้น สามารถปรับและการตั้งค่าให้เหมาะกับบรรจุภัณฑ์ได้ แต่หากต้องการยืดอายุการจัดเก็บอาหารแนะนำ เครื่องซีลสูญญากาศ ที่ดูดอากาศออกจากถุง + ซีลปิดปากได้ในตัว

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ ตัดสินใจได้ว่าต้องเลือก เครื่องซีลถุงแบบไหนดี ตลอดจนรู้ข้อดีและข้อจำกัดของ เครื่องซีลปิดปากถุง แต่ละประเภทมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บทความนี้เป็นเพียงการแนะนำในเบื้องต้นเท่านั้น เพื่อน ๆ ควรพิจารณาเรื่องมาตรฐานการผลิต ขนาด รุ่น ฟังก์ชัน การรับประกัน และความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด