“ถั่วฝักยาว” ประโยชน์ โทษที่ต้องรู้ก่อนกิน พร้อมเมนูถั่วฝักยาวยอดฮิต

ถั่วฝักยาว (yard long bean) ประโยชน์ โทษที่ควรรู้ เมนูถั่วฝักยาว

851 Views

คัดลอกลิงก์

สารบัญ

ถั่วฝักยาว (Yard Long Bean) หนึ่งในผักยอดฮิตของคนไทย นิยมนำมาทำอาหารและเป็นผักเคียงในเกือบทุกเมนู  ผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างไร มีข้อควรระวังหรือไม่ และมีอะไรน่าสนใจอีกบ้าง ตามไปหาคำตอบกัน!

ประโยชน์ ถั่วฝักยาว ผักคู่ครัวคนไทย

ถั่วฝักยาว มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ดังนี้

ประโยชน์ สรรพคุณ ถั่วฝักยาว
  • บำรุงกระดูกและฟัน ถั่วฝักยาวมีแคลเซียมและวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน เสริมความแน่นให้มวลกระดูก
  • ป้องกันโรคโลหิตจาง ถั่วฝักยาวมีธาตุเหล็กสูง ส่วนประกอบสำคัญในฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ดีต่อระบบย่อยอาหาร ถั่วฝักยาวมีใยอาหารสูง ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ ป้องกันอาการท้องผูก ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น 
  • ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ถั่วฝักยาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเซลล์มะเร็ง ชะลอกระบวนการแก่ชรา ลดภาวะอัลไซเมอร์ได้
  • สริมสร้างภูมิคุ้มกัน ถั่วฝักยาวมีวิตามินซีสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัด ไม่ให้ร่างกายเจ็บป่วยง่าย
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ถั่วฝักยาวมีใยอาหารสูง ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน 
  • ลดความดันโลหิต ถั่วฝักยาวมีโพแทสเซียมสูง ช่วยลดความดันโลหิต ตลอดจนรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  • ดีต่อผิวพรรณ เส้นผม ถั่วฝักยาวมีวิตามินเอ วิตามินซี ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส เส้นผมดกดำ เงางาม
  • ดีต่อคนควบคุมน้ำหนัก ถั่วฝักยาวมีใยอาหารสูง แคลอรี่ต่ำ ช่วยให้อิ่มนาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

คำถามที่หลายคนสงสัย

  • ถั่วฝักยาวเป็นผักหรือผลไม้? 

ถั่วฝักยาว ตามหลักวิชาการเกษตร จัดเป็น “ผัก” เพราะเรานำมาเป็นส่วนประกอบอาหาร หรือนำมารับประทานเป็นผักคู่กับอาหารคาวต่าง ๆ

  • ถั่วฝักยาวมีกี่แคลอรี่? 

ถั่วฝักยาวปริมาณ 100 กรัม 45 กิโลแคลอรี

  • ถั่วฝักยาวกินดิบได้ไหม? 

สามารถถินถั่วฝักยาวดิบได้ แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก ๆ เพราะในถั่วฝักยาวมี “ไกลโคโปรตีน” และ  “เลคติน” สูง หากทานเยอะเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดอาการท้องเสียได้

  • กินถั่วฝักยาวยังไงให้สุขภาพดี?

ไม่ควรกินดิบ ควรลวก นึ่ง หรือทำให้สุกก่อนรับประทาน แต่หากต้องการกินดิบ ต้องล้างให้สะอาดมาก ๆ และต้องกินให้พอดี โดยทั่วไป แนะนำให้ทานไม่เกิน 100 กรัม/วัน (ประมาณ 1 ถ้วย) ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ กิจกรรม และสุขภาพโดยรวม

  • ถั่วฝักยาวราคาเท่าไหร่?  

ถั่วฝักยาว 1 กิโลกรัม ราคา 30 – 50 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ กลไกทางการตลาด และเศรษฐกิจขณะนั้น

  • ถั่วฝักยาวราคาแพงช่วงไหน?

 เนื่องจากถั่วฝักยาวเจริญเติบโตดีในช่วงฤดูร้อน ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวจึงเป็นช่วงที่ถั่วฝักยาวแพงที่สุด เพราะฝนตกชุกอาจทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย ส่วนหน้าหนาวถั่วฝักยาวจะเจริญเติบโตช้า ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย 

Back to top

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ข้อมูลโภชนาการถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว ปริมาณ 100 กรัม มีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ดังนี้

สารอาหาร ปริมาณ หน่วย
พลังงาน 47 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 8.35 กรัม
ไขมัน 0.4 กรัม
โปรตีน 2.8 กรัม
วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม (5%)
วิตามินบี 1 0.107 มิลลิกรัม (9%)
วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม (9%)
วิตามินบี 3 0.41 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี 5 0.55 มิลลิกรัม (11%)
วิตามินบี 6 0.024 มิลลิกรัม (2%)
วิตามินบี 9 62 ไมโครกรัม (16%)
วิตามินซี 18.8 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 50 มิลลิกรัม (5%)
ธาตุเหล็ก 0.47 มิลลิกรัม (4%)
ธาตุแมกนีเซียม 44 มิลลิกรัม (12%)
ธาตุแมงกานีส 0.205 มิลลิกรัม (10%)
ธาตุฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม (8%)
ธาตุโพแทสเซียม 240 มิลลิกรัม (5%)
ธาตุสังกะสี 0.37 มิลลิกรัม (4%)

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA)

Back to top

ถั่วฝักยาว (Long Bean)

ข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถั่วฝักยาว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถั่วฝักยาว ราก ลำต้น เมล็ด ฝัก

ชื่อวิทยาศาสตร์

vigna sesquipedalis. Koern.

ชื่อสามัญ

Yard long bean

วงศ์

Leguminosae

ถิ่นกำเนิด

ประเทศจีนและอินเดีย

ถั่วฝักยาว พืชตระกูลถั่วที่นิยมบริโภคทั้งในไทยและต่างประเทศ จะรับประทานเป็นผักสด นำมาประกอบอาหาร หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง แช่แข็งก็ได้ นอกจากจะเป็นพืชผักที่รสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้ว การปลูกถั่วฝักยาวยังช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น เพราะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาไว้ในดิน นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์หลายอย่าง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ถั่วฝักยาว

ราก

ระบบรากแก้ว ระดับตื้น ความลึกประมาณ 6 – 8 นิ้ว รอบรากแก้วมีรากแขนงแตกออกแผ่กระจายตามผิวดิน

ลำต้น

เถาเลื้อยไม่มีมือจับ ทิศทางการเลื้อยทวนเข็มนาฬิกา ต้องอาศัยไม้ค้างพันลําต้นให้ตั้งตรง

ใบ

ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ ปลายใบแหลม โคนใบกว้างมน ที่หูใบมีเส้นเล็กๆ 2 เส้นอยู่ตรงโคนของก้านใบและติดกับลําต้น ใบรวม มีใบอ่อน 6 – 12 ใบต่อกิ่ง ใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ลักษณะใบ คล้ายใบไม้ทั่วไป รูปร่างโค้งมน

ดอก 

ดอกสมบูรณ์เพศ เกิดเป็นช่อบนลําต้นระหว่างข้อ ดอกมีสีขาวม่วง

ผล / เมล็ด

ผลเป็นฝักยาวประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดคล้ายไตหรือออกกลมเล็กน้อย ส่วนเมล็ดถั่วฝักยาว ถ้ายังอ่อนจะมีสีเขียว เมล็ดแก่ สีขาว ดำ น้ำตาลแดงหรือสีแดงสลับขาวขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

Back to top

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

สายพันธุ์ถั่วฝักยาว

สายพันธุ์ถั่วฝักยาว หากแบ่งตามลักษณะ แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ ดังนี้

1 ถั่วเนื้อ

สายพันธุ์ ถั่วฝักยาว ถั่วเนื้อ

1 ถั่วเนื้อ

ลักษณะของถั่วเนื้อ จะมีสีเขียวสด เนื้อหนา แน่น กรอบอร่อย รสชาติดี ติดฝักมาก ลําต้นแข็งแรง ทนทานต่อโรค เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ดีในดินทั่ว ๆ ไป แตกต่างจากถั่วฝักยาวพันธุ์เส้นที่ความยาวของฝักจะสั้นกว่า ตัวอย่างถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ เช่น พันธุ์สุดสาคร พันธุ์เจ้าพระยา พันธุ์สายฟ้า พันธุ์ลุ่มน้ำโขง พันธุ์ลุ่มน้ำชี พันธุ์ Super SJ ฯลฯ 

2 ถั่วเส้น

2 ถั่วเส้น

ลักษณะของถั่วเส้น คือ มีสีเขียวสดและสีม่วงในบางสายพันธุ์ ติดฝักมาก ผักยาวตรงสวย กรอบอร่อย รสชาติดี ผักฝ่อช้า ลําต้นแข็งแรง ทนร้อนได้ดี ทนทานต่อโรค เจริญเติบโตเร็ว ยกตัวอย่าง คือ พันธุ์เยาวราช พันธุ์ไผ่ขวาง พันธุ์สินสมุทร พันธุ์เอเวอร์กรีน พันธุ์สายฟ้า พันธุ์สายฝน พันธุ์เขียวดก ฯลฯ

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมการเกษตร

Back to top

แนะนำเมนูถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว ทำได้หลากหลายเมนู ตามไปจดสูตร แล้วไปเข้าครัวพร้อม ๆ กันเลย

1 ผัดพริกแกงหมู

ผัดพริกแกง หมูใส่ถั่วฝักยาว วิธีทำ แจกสูตร

1 ผัดพริกแกงหมู 

ผัดพริกแกงหมู อีกหนึ่งเมนูยอดนิยมของคนไทย ด้วยรสชาติที่เข้มข้นจากพริกแกงรสเผ็ดที่ผัดกับเนื้อหมูและถั่วฝักยาว ปรุงรสจนเข้ากัน จนกลายเป็นเมนูตามสั่งยอดนิยม

วัตถุดิบ: หมูสามชั้น, พริกแกงเผ็ด, ถั่วฝักยาว, …

2 ผัดถั่วฝักยาว

ผัดถั่วฝักยาว วิธีทำ แจกสูตร

2 ผัดถั่วฝักยาว

ผัดถั่วฝักยาว เมนูสุดประหยัดทำกินได้ทุกวัน อร่อยแถมมีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย ทำกินก็ง่าย ทำขายก็ดีสุด ๆ

วัตถุดิบ: ถั่วฝักยาว, หมูสับ, กระเทียมสับ, …

3 กะเพราหมูสับ

กะเพราหมูสับ ใส่ถั่วฝักยาว วิธีทำ

3 กะเพราหมูสับ

กะเพราหมูสับ ใส่ถั่วฝักยาว อร่อยเด็ดสะใจ รสชาติของหมูสับที่ผ่านการปรุงรสผสมกับถั่วฝักยาว หอมใบกะเพรา อร่อยลงตัวมากกก

วัตถุดิบ: หมูสับ, ถั่วฝักยาว, ใบกะเพรา, …

4 ถั่วฝักยาวชุบแป้งทอด

ถั่วฝักยาวอบกรอบ วิธีทำ

4 ถั่วฝักยาวชุบแป้งทอด

ถั่วฝักยาวชุบแป้งทอด อีกหนึ่ง เมนูถั่วฝักยาว ที่ทำง่ายและอร่อยสุด ๆ เหมาะสำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่หัดทาน รวมถึงคนที่อยากได้ของทานเล่นที่มีประโยชน์

วัตถุดิบ: ถั่วฝักยาว, แป้งทอดกรอบ, ไข่ไก่, …

5 ไข่เจียวถั่วฝักยาว

ไข่เจียว ถั่วฝักยาว

5 ไข่เจียวถั่วฝักยาว

ไข่เจียวถั่วฝักยาว ไข่เจียวอีกหนึ่งรสชาติที่อร่อยไม่แพ้ใคร สำหรับใครที่ยังไม่เคยลอง ว่าง ๆ ลองทำดู รับรองติดใจ จนต้องมีรอบสองสามตามมาแน่นอน

วัตถุดิบ: ถั่วฝักยาว, แป้งทอดกรอบ, ไข่ไก่, …

Back to top

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีปลูกถั่วฝักยาวลงแปลงดิน

ถั่วฝักยาวเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ลักษณะดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกที่สุด คือ ดินร่วนทราย หรือ ดินร่วนปนทราย ความเป็นกรด – ด่างของดิน (pH) อยู่ที่ 5.5 – 6.8

ฝักถั่วฝักยาว วิธีการปลูก ถั่วฝักยาว
ฝักถั่วฝักยาว วิธีการปลูก ถั่วฝักยาว ลงแปลงดิน
  • ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมดิน + วัสดุปลูก

    เตรียมดินและกำจัดวัชพืชด้วยการไถดินตากไว้ประมาณ 7 วัน แล้วไถพรวนอีก 1 – 2 ครั้ง แล้วใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2 – 4 ตัน/ไร่ ยกร่องกว้างประมาณ 1 – 1.2 เมตร

  • ขั้นตอนที่ 2 เตรียมพันธุ์ปลูก

    การเตรียมพันธุ์ปลูก เลือกต้นที่สมบรูณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตดี ปกติการปลูกถั่วฝักยาวในเนื้อที่ 1 ไร่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 3 – 4 กิโลกรัม  ก่อนนําเมล็ดพันธุ์ไปปลูกควรนําเมล็ดพันธุ์ไปทดสอบความงอกและคัดเลือกเมล็ดที่มีตําหนิออกก่อน

  • ขั้นตอนที่ 3 เตรียมหลุมปลูก

    เมื่อยกร่องปลูกแล้ว ให้ใช้จอบขุดหลุม ระยะระหว่างแถว ประมาณ 80 ซม. ความลึกประมาณ 10 – 15 ซม. จากนั้นใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15, 13-13-21, 12-24-12 หรือ 6-12-12 ใส่หลุมละ 1 ช้อนแกง

  • ขั้นตอนที่ 4 การหยอดเมล็ด

    หยอดเมล็ดลงหลุมปลูก หลุมละ 3 – 4 เมล็ด แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว คลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งสะอาดบาง ๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นผิวหน้าดิน รดน้ำให้ชุ่มชื้นแต่ห้ามขัง วันละ 1 ครั้ง

  • ขั้นตอนที่ 5 การดูแล

    • ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อัตรา 1:2:1 ประมาณ 50 – 100 กก./ไร่ หากใช้ปุ๋ยคอกร่วมด้วยให้ลดปริมาณ เหลือ 30 – 50 กก./ไร่ ในพื้นที่ที่เกิดโรคเหี่ยวให้ปรับดินรองก้นปลูกด้วยปูนขาว
    • น้ำ ถั่วฝักยาวต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ หลังจากหยอดเมล็ด 1 – 7 วัน ให้รดน้ำวันละครั้ง และไม่ควรปล่อยให้น้ำขัง
    • ปักไม้ค้าง เมื่อถั่วฝักยาวอายุ 20 วันหลังปลูก มีใบจริง 4-5 ใบ จะเริ่มทอดยอด ให้หาไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้ว ความยาว 2 เมตร ปักใกล้หลุมปลูก
    • โรคพืช โรคเหี่ยว ให้ปรับดินด้วยปูนขาว, โรคราแป้ง ให้ใช้ผงกำมะถัน คาราเทน หรือซาพรอน, โรคราสนิม ใช้ผงกำมะถัน หรือสารเคมีแพลนท์แวกซ์
  • ขั้นตอนที่ 6 การเก็บเกี่ยว

    ระยะเก็บเกี่ยว คือ เมื่อถั่วฝักยาวมีอายุ 40 วัน หรือ หลังดอกบาน 4 – 8 บาน ให้ปลิดขั้ว ระวังดอกไม่ให้หลุด โดยทยอยเก็บทุก ๆ 2 วัน ไม่ปล่อยให้ฝักแก่ตกค้าง หลังเก็บเกี่ยว ให้นำเข้าร่มทันที

วิธีปลูกถั่วฝักยาวลงกระถาง

วิธีปลูกถั่วฝักยาว
Back to top

จะเห็นว่า ถั่วฝักยาว มีทั้งประโยชน์และโทษ เพื่อน ๆ ต้องรับประทานอย่างระมัดระวัง เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว ส่วนใครที่กำลังมองหา เมนูถั่วฝักยาว ยอดฮิต รสชาติอร่อย ๆ แล้วล่ะก็ ลองนำเมนูที่เราแนะนำไปลองทำทานกันดูน้าาา ☺

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ ถุงซีลสูญญากาศ ตู้อบลมร้อน เตาอบขนม
เครื่องซีลสูญญากาศ ถุงซีลสูญญากาศ ตู้อบลมร้อน เตาอบขนม

ฝากเยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานเราด้วยนะคะ 🥺🙏🏻

4 เมษายน 2024

โดย

Wishyouwell.

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด