398 Views

คัดลอกลิงก์

ธาตุอาหารรอง มีกี่ชนิด ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างไร?

ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก รองลงมาจากธาตุอาหารหลัก เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์

ธาตุอาหารรองของพืช มีกี่ชนิด? แต่ละชนิดช่วยเรื่องอะไรบ้าง? ถ้าพืชขาดอาหารเหล่านี้จะเป็นอย่างไร? มีวิธีแก้หรือไม่? ตาม SGE ไปดูกัน!

ธาตุอาหาร ของพืช

ธาตุอาหาร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพืชเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ให้ผลผลิต และการขยายพันธุ์ หากพืชได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็จะมีลักษณะผิดปกติให้เราสังเกตได้คร่าว ๆ โดยสังเกตได้จากใบ กิ่ง ดอก ผล ลำต้น และส่วนอื่น ๆ ที่มีความผิดปกติไปจากธรรมชาติของพืชชนิดนั้น เช่น โตช้า สีซีด ต้นแคระเกร็น เป็นต้น ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีการตอบสนองต่อการขาดอาหารที่แตกต่างกัน หากจะพูดถึงธาตุอาหารที่จำเป็น หลายคนอาจนึกถึง ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งในความเป็นจริงยังมีธาตุอาหารอาหารอีกมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และออกซิเจนที่ได้รับจากธรรมชาติแล้ว ยังมีธาตุอาหารในดินอีกหลายชนิด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ซึ่งธาตุอาหารในแต่ละกลุ่มจะมีหน้าที่สำคัญแตกต่างกันออกไป

  • ธาตุอาหารหลัก คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก ส่วนใหญ่ในดินมักขาด ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
  • ธาตุอาหารรอง เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณรองลงมาจากธาตุอาหารหลัก มี 3 ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน
  • ธาตุอาหารเสริม หรือ ธาตุอาหารจุลธาตุ พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ ส่วนใหญ่มีในดิน หากขาดธาตุอาหารเหล่านี้ไป พืชไม่สามารถเจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิตของพืชได้ มี 8 ธาตุ ได้แก่ ธาตุเหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน และนิกเกิล

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ธาตุอาหารรอง ของพืช มีกี่ชนิด

ธาตุอาหารรอง ของพืช มีกี่ชนิด?

ธาตุอาหารรองของพืช (Secondary Macronutrients) มี 3 ชนิด ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และ กำมะถัน (S) ธาตุอาหารรองแต่ละชนิด มีส่วนทำให้พืชเจริญเติบโตได้ ดังนี้

1. แคลเซียม (Ca)

แคลเซียม หนึ่งในองค์ประกอบหลักของการเจริญเติบโตของพืช ช่วยในกระบวนการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด การเจริญของใบและราก ช่วยในการลำเลียงอาหาร และปรับสมดุลกรด-ด่างของพืช

2. แมกนีเซียม (Mg)

แมกนีเซียม องค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ช่วยให้สภาพกรดด่างในเซลล์เหมาะสม ส่งเสริมการงอกของเมล็ด การดูดซึม รวมถึงนำธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นธาตุอาหารหลักมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ

3. กำมะถัน (S)

กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ องค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามินในพืช มีส่วนในการสร้างคลอโรฟิลล์และการผลิตเมล็ด นอกจากนี้ กำมะถันยังเป็นองค์ประกอบของสารระเหยที่สร้างกลิ่นเฉพาะตัวในพืชบางชนิดอีกด้วย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ลักษณะของพืชที่ขาด ธาตุอาหารรอง

ลักษณะของพืชขาด ธาตุอาหารรอง

ความผิดปกติของพืช มักมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ มีสภาพแวดล้อมที่ไม่ปกติ เช่น แดดจัด อากาศหนาวจัด น้ำขังนานเกินไป ตลอดจนการเข้าทำลายของแมลง ศัตรูพืช และโรคพืชต่าง ๆ เราจึงควรดูแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิด อย่างที่สอง คือ พืชขาดธาตุอาหารที่จำเป็น เมื่อเราปลูกพืชโดยไม่เติมปุ๋ยหรือสารอินทรีย์วัตถุลงไปในดินเลยจะมีโอกาสทำให้พืชขาดธาตุอาหารมาก เพราะเป็นเรื่องยากที่เราจะรับรู้ได้ว่าดินที่ปลูกนั้นมีสารอาหารที่เพียงพอกับพืชหรือไม่ หากพืชขาดแคลนธาตุอาหารอย่างรุนแรง พืชจะแสดงอาการออกมาให้เห็นชัดเจน แต่ถ้าพืชขาดแคลนธาตุอาหารปานกลาง อาการที่แสดงออกมาอาจเห็นไม่ชัดเจน เราจึงจำเป็นต้องรู้เรื่องบทบาทของธาตุแต่ละชนิด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการประกอบพิจารณา เพื่อจะได้ตัดสินเบื้องต้นได้ว่าพืชขาดธาตุอะไร โดยสังเกตจากลักษณะของพืช ดังนี้

  • ขาดธาตุแคลเซียม การเจริญของใบใหม่ไม่สมบูรณ์ มีอาการใบหงิก ใบใหม้ มีจุดดำที่เส้นใบ ใบอ่อนสีมีเหลืองซีด พืชบางชนิดผลแตก ก้นผลเน่า ตายอดไม่เจริญ รากไม่ดี หรือรากหนาและสั้นเกินไป
  • ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบแก่จะเหลืองและร่วงหล่นเร็ว เนื้อใบซีด ถ้าพืชขาดธาตุแมกนีเซียมอย่างรุนแรงใบแก่ที่อยู่ตอนล่างของต้นจะตาย
  • ขาดธาตุกำมะถัน การเจริญเติบโตช้าลง ใบมีสีเหลืองซีดจนถึงสีขาว ยอดผลชะงักการเจริญเติบโต ใบและลำต้นไม่สมบูรณ์ หากขาดรุนแรงมาก อาจก่อให้เกิดอาการเหี่ยวและลำต้นเล็กลงได้ สภาพพื้นที่ที่มีความเสี่ยง คือ พื้นที่ที่มีอินทรียวัตถุน้อย เช่น พื้นที่แห้งแล้ง พื้นที่ที่มีฝนตกปานกลาง-หนักมาก

วิธีแยกระหว่าง พืชเป็นโรค กับ พืชขาดธาตุอาหาร

พืชเป็นโรค และ พืชขาดธาตุอาหาร มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่มีจุดสังเกตหลัก ๆ คือ ถ้าพืชขาดธาตุอาหารจะมีลักษณะที่ผิดปกติเหมือนกันในหมู่มาก ไม่แพร่กระจาย และอาการจะไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น ส่วนพืชที่เป็นโรค อาการของจะลุกลามและมีการแพร่ระบาดไปยังต้นที่อยู่ใกล้ ๆ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีแก้ พืชขาดธาตุอาหารรอง ทำได้อย่างไร?

วิธีแก้ พืชขาด ธาตุอาหารรอง ทำได้อย่างไร?

เมื่อเพาะปลูกพืชลงบนผืนดิน ปริมาณของธาตุอาหารในดินจะเปลี่ยนแปลงไปตามการดูดซึมและการนำไปใช้ประโยชน์ของพืช บางส่วนก็จะสูญสลายไปตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนสถานะของสสารบางชนิดจากของแข็งไปเป็นก๊าซ รวมไปถึงการถูกชะล้างไปพร้อมกับน้ำฝนและการพังทลายของหน้าดิน ซึ่งวิธีแก้พืชขาดธาตุอาหารรอง มีขั้นตอนการทำเหมือนวิธีแก้พืชขาดธาตุอาหารหลักและอาหารเสริม คือ การปรับปรุงดินในการเพาะปลูก เพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นลงไปในดิน การเพิ่มธาตุอาหารพืชในดิน ทําได้โดย “การใส่ปุ๋ย (Fertilizer)” เพราะปุ๋ยเป็นวัสดุที่มีธาตุอาหารของพืชเป็นองค์ประกอบ ช่วยสร้างธาตุอาหารให้แก่พืช นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดิน ปรับปรุงดินให้พืชดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ดีขึ้นอีกด้วย

  • ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่มาจากสารประกอบที่สังเคราะห์ขึ้น มีธาตุอาหารที่พืชสามารถดูดนําไปใช้ได้ทันที ปุ๋ยเคมีมีหลายชนิด แตกต่างกันไปตามลักษณะ สมบัติ และการใช้งาน
  • ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เช่น  ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเหล่านี้นอกจากจะมีธาตุอาหารที่เหลืออยู่ในซากแล้วยังช่วยปรับสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น เช่น ระบายน้ำได้ดี อากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยให้รากดูดธาตุอาหารได้ดีขึ้น
  • ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ จุลินทรีย์เหล่านี้มีสมบัติที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศหรือเปลี่ยนธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่พืชยังไม่สามารถนําไปใช้ได้ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การใช้สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำาเงินที่อาศัยอยู่ในโพรงใบแหนแดงมาช่วยในการเพิ่มปริมาณ ไนโตรเจน การใช้ไมคอร์ไรซาช่วยดึงฟอสฟอรัสที่อยู่ในดินออกมาอยู่ในรูปที่พืชนําไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น

แคลเซียม ปรับปรุงดินและปรับสมดุลความเป็นกรดด่างให้อยู่ในระดับ pH 6 -7 จะทำให้พืชสามารถดูดธาตุชนิดนี้ไปใช้งานได้ดี ส่วนการปรับสภาพดินให้ใช้ปูนที่มีส่วนผสมของแคลเซียม ปูนขาว ปูนมาล หรือเปลือกหอยเผาหรือป่นโรยผสมไปในดิน (เลือกใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง)

แมกนีเซียม ตรวจสอบดินในแปลงปลูก หลังจากนั้นให้เพิ่มปุ๋ยหรืออินทรียวัตถุอื่น ๆ ที่มีธาตุอาหารแมกนีเซียมเข้าไป

กำมะถัน พื้นที่ที่มีอินทรียวัตถุอยู่น้อยเสี่ยงทำให้เกิดการขาดธาตุตัวนี้ ดังนั้น ควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือการใช้สารปรับปรุงดินที่จะเข้าไปช่วยในการย่อยสลายของแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน

จะเห็นว่า ธาตุอาหารมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างมาก เราจึงไม่ควรมองข้ามทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม เพราะธาตุแต่ละกลุ่มต่างก็มีความสำคัญ ส่งผลต่อการเติบโตของพืชทั้งสิ้น เปรียบเสมือนมนุษย์ที่ต้องได้รับสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ก็ยังคงต้องการวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ที่สุดนั่นเอง

SGE ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร ทั้งสแสนกันแดด ผ้าคลุมดิน กระถางปลูกต้นไม้ ถาดเพาะกล้า ถังหมักเศษอาหาร และอีกมากมาย ในราคาที่เป็นมิตร คุ้มค่า มั่นใจได้ว่าจะได้สินค้าคุณภาพ ได้มาตรฐาน พร้อมบริการที่ประทับใจแน่นอน! (คลิกเลย)

11 กันยายน 2023

โดย

Wishyouwell.

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment