220422-Content-ถั่วแดง-ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร01

4,399 Views

คัดลอกลิงก์

“ถั่วแดง” ธัญพืชโปรตีนสูง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?

ถั่วแดง เป็นธัญพืชที่คนไทยเรารู้จักกันดี เรามักพบถั่วแดงอยู่ในอาหารประเภทของหวาน เช่น ถั่วแดงต้มน้ำตาล ขนมปังไส้ถั่วแดง ถั่วแดงกวน หรือไอศกรีมถั่วแดง แต่นอกจากความอร่อย หวาน มัน ละมุนลิ้นแล้ว ถั่วแดงยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วยนะ 👍

บทความนี้ ตาม SGE ไปรู้จักกับ ถั่วแดง และ ประโยชน์ของถั่วแดง ที่หลาย ๆ คน อาจจะยังไม่เคยรู้จักกัน จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

รู้จักกับถั่วแดง

ถั่วแดง(Kidney bean) เป็นถั่วพุ่มที่มีเมล็ดคล้ายไต เมล็ดมีหลายสี เช่น สีแดง สีแดงเข้ม หรือแดงม่วง และสีชมพู นิยมใช้ประกอบอาหารทั้งคาว และหวาน ในไทยพบปลูก 2 ชนิด คือ ถั่วแดงหลวง และถั่วนิ้วนางแดง

ชนิดถั่วแดงในประเทศไทย ที่นิยมปลูกใน มี 2 ชนิด ได้แก่ ถั่วนิ้วนางแดง และ ถั่วแดงหลวง (นิยมปลูกมากที่สุด)

ถั่วนิ้วนางแดง

มีลักษณะเด่น คือ ลำต้นกึ่งเลื้อย ทุกส่วนมีขนปกคลุม ดอกมีสีเหลือง ฝักมีขนาดเท่ากับถั่วเขียว แต่ยาวกว่าเล็กน้อย ฝักห้อยลงดินคล้ายนิ้วคน จึงเป็นชื่อเรียก ถั่วนิ้วนางแดง ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลอ่อน หรือมีสีดำ เมล็ดมีสีแดง เมล็ดมีขนาดเล็กกกว่าถั่วแดงหลวง ฝักที่มีสีน้ำตาลอ่อน จะมีเมล็ดเล็กกว่าฝักสีดำ

220422-Content-ถั่วแดงประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร02

ถั่วแดงหลวง

ถั่วแดงหลวงมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ต่อมามีการแพร่กระจายไปสู่อเมริกากลาง แอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย สำหรับประเทศไทย ถั่วแดงหลวงถูกนำเข้ามาปลูกครั้งแรกโดยโครงการหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2514 มีการปลูก 2 พันธุ์ตามสีเมล็ด คือ พันธุ์เมล็ดสีแดงเข้ม หรือแดงอมม่วง และพันธุ์เมล็ดสีแดงสด แต่พบว่า เกษตรกรไม่นิยมพันธุ์เมล็ดสีแดงเข้ม หรือแดงอมม่วง แต่นิยมปลูกพันธุ์สีแดงสดมากกว่า และกลายเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมาจนถึงทุกวันนี้ ลักษณะของถั่วแดงหลวง มีดังนี้

  • ลำต้น ถั่วแดงหลวง เป็นพืชล้มลุกอายุฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งแขนงออกเป็นทรงพุ่มเตี้ย ๆ คล้ายกับลำต้นถั่วเหลือง สูงประมาณ 40-65 เซนติเมตร
  • ใบ ใบถั่วแดงหลวงเป็นใบประกอบ ออกเรียงกันเป็นใบเดี่ยวตามข้อกิ่ง แต่ละใบมีก้านใบทรงกลม ก้านใบมีขอบโค้งงุ้ม และเป็นร่องตรงกลาง ถัดมาเป็นใบย่อย จำนวน 3 ใบ ใบย่อยคู่แรกอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนอีกใบอยู่ตรงกลาง ส่วนใบย่อยแต่ละใบมีรูปหอก มีขนาดไม่เท่ากัน กว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร โคนใบเป็นฐานกว้าง ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ สีเขียวสด และมีขนปกคลุม แผ่นใบมีเส้นใบหลัก 3 เส้น
  • ดอก ถั่วแดงหลวง ออกดอกเป็นช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีเกสรตัวผู้และตัวเมียในดอกเดียวกัน มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนใต้ฐานดอก 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ แผ่นกลีบดอกมีสีขาว หรือสีชมพู ขึ้นกับสายพันธุ์ แผ่นกลีบ และขอบกลีบย่น ปลายกลีบโค้งมน
  • ฝัก และเมล็ด ฝักถั่วแดงหลวง มีลักษณะคล้ายฝักถั่วเหลือง เป็นรูปทรงกระบอก เรียวยาว ฝักกว้างประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลอ่อน หรือสีดำ ภายในมีเมล็ด 3-6 เมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีเขียว และแก่เต็มที่เป็นสีแดง สีแดงเข้ม สีแดงชมพู ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร

พันธุ์ถั่วแดงหลวง พันธุ์ตามสีเมล็ด

  • พันธุ์สีแดง พันธุ์สีแดงเข้มมีหลายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ Monicalm Califonia ที่นำเข้ามาจากประเทศแคนยา และพันธุ์ Royal ที่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา ส่วนพันธุ์ชื่อไทย ได้แก่ หมอกจ๋าม ที่พัฒนาขึ้นจากโครงการหมอกจ๋าม จ.เชียงใหม่ ในปี 2528 เริ่มทดลองปลูกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ไม่ทราบชื่อพันธุ์ดั้งเดิมที่แน่ชัด จึงตั้งชื่อให้ว่า พันธุ์หมอกจ๋าม ตามสถานที่ปลูกพัฒนาพันธุ์ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูงสูดประมาณ 300 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้ พันธุ์สีแดงแต่ละพันธุ์ จะมีสีเมล็ดแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น แดงเข้ม และแดงสด

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
220422-Content-ถั่วแดงประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร03
  • พันธุ์สีชมพู พันธุ์สีชมพู ที่มีการปลูก ได้แก่ พันธุ์ Moniton 1 มีลักษณะเด่น คือ เมล็ดจะมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์สีแดงเข้ม และให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า แต่มีข้อเสีย คือ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะส่วนใหญ่นิยมเมล็ดสีแดงสดมากกว่า

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

สารอาหารในถั่วแดง

สารอาหารสำคัญในถั่วแดง คือ โปรตีน ถึงแม้ถั่วแดงจะเป็นธัญพืช แต่ก็ให้โปรตีนในปริมาณที่มากเพียงพอต่อความความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน โดยการรับประทานถั่วแดง 3.5 ออนซ์ หรือ 100 กรัม จะได้โปรตีนประมาณ 9 กรัม หรือคิดเป็น 27 เปอร์เซนต์ต่อปริมาณโปรตีนที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน

ถั่วแดงยังมีไฟเบอร์สูง โดยการรับประทานถั่วแดงประมาณครึ่งถ้วย ประมาณ 90 กรัม จะได้ไฟเบอร์สูงถึงประมาณ 6 กรัม และได้คาร์โบไฮเดรตประมาณ 20 กรัม มีวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี 6 วิตามินเค โฟเลต ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม ทองแดง เป็นต้น และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สำคัญอีกหลายชนิด เช่น ไอโซฟลาโวน (Isoflavone) แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) เป็นต้น

220422-Content-ถั่วแดงประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร04

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่

ประโยชน์ของถั่วแดง

  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล

ถั่วแดงมีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และมีไฟเบอร์สูง ซึ่งสารอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้ มีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคเบาหวานและโรคหัวใจ โดยไฟเบอร์ในถั่วแดง เป็นไฟเบอร์ที่สามารถละลายในน้ำได้ เมื่อรับประทานเข้าไปและเกิดการย่อย ไฟเบอร์ในถั่วแดง จะมีลักษณะคล้ายกับเจลที่เคลือบไว้ในกระเพาะอาหาร จะเข้าไปดักจับกับคอเลสเตอรอล และป้องกันไม่ให้ถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย จึงช่วยป้องกันไม่ให้ระดับของคอเลสเตอรอลพุ่งสูง

  • เสริมความจำ

ถั่วแดงมี วิตามินบี 1 ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และสมอง ซึ่งถ้าร่างกายได้รับวิตามินบี 1 ในปริมาณที่เพียงพอ ร่างกายจะสามารถสร้าง แอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ที่เป็นสารสื่อประสาทในสมอง และทำหน้าที่สำคัญ เพื่อช่วยเสริมสร้างสมาธิ เพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำ และลดความเสี่ยงของการเป็นอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) หรือภาวะความจำเสื่อม (Dementia)

  • เสริมพลังงานแก่ร่างกาย

เรามักจะพบโปรตีนได้ในเนื้อสัตว์ แต่ว่าถั่วแดงเป็นอีกหนึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนที่สูงไม่แพ้กัน สำหรับผู้ที่เป็นมังสวิรัติ หรือเป็นวีแกน และต้องการทดแทนโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ สามารถรับประทานถั่วแดง เพื่อรับโปรตีนได้เช่นกัน ซึ่งโปรตีนนี้ เป็นสารอาหารที่จะช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เสริมสร้างการสร้างมวลกล้ามเนื้อ และกระดูกให้แข็งแรง มากไปกว่านั้นถั่วแดง ยังมีแมงกานีส ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเผาผลาญอาหาร และไขมัน เพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานแก่ร่างกายอีกด้วย

  • ป้องกันความดันโลหิตสูง

เป็นอาการทางสุขภาพที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ แต่การรับประทานถั่วแดง สามารถลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงได้ เนื่องจากถั่วแดงอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่าง โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำหน้าที่ในการขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนได้อย่างเป็นปกติ ไม่เกิดการอุดตัน ที่จะก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง

  • ดีต่อการลดน้ำหนัก

อาหารกลุ่มธัญพืชประเภทถั่ว เป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารเพื่อการลดน้ำหนักเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะถั่วแดงที่มีไฟเบอร์สูง และไฟเบอร์ในถั่วแดงนั้น เป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งถือว่าดีต่อการลดน้ำหนักเป็นอย่างมาก โดยไฟเบอร์ จะทำให้ร่างกายอิ่มได้นานขึ้น ลดความอยากอาหารมื้อต่อไป มีไขมันต่ำ จึงไม่ลดความเสี่ยงที่จะมีภาวะแคลอรี่สูงเกินพิกัดอีกด้วย ใครที่กำลังอยู่ระหว่างควบคุมอาหาร หรือควบคุมแคลอรี่ ไม่ควรพลาดที่จะเพิ่มถั่วแดงลงในมื้ออาหาร

  • ขับสารพิษตามธรรมชาติ

อาหารในปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงของการปนเปื้อนสารพิษสูง โดยเฉพาะสารพิษจำพวกซัลไฟต์ (sulfites) ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ที่ระบบทางเดินหายใจ เสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ หรือบางคนอาจมีอาการแพ้สารในกลุ่มซัลไฟต์ อาจกระตุ้นให้อาการภูมิแพ้กำเริบได้

ถั่วแดงมีสารที่ชื่อ โมลิบดีนัม (Molybdenum) ซึ่งเมื่อรับประทานถั่วแดงเป็นประจำ สารนี้จะมีสรรพคุณช่วยขับสารพิษในกลุ่มซัลไฟต์ออกจากร่างกายได้ ช่วยทำความสะอาดลำไส้ และระบบทางเดินอาหาร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งที่ลำไส้ได้อีกด้วย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ข้อควรระวัง คำแนะนำในการทานถั่วแดง

  1. ถั่วแดงมีสารพิวรีน (Purine) ระดับปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด เพราะสารดังกล่าวอาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการของข้ออักเสบกำเริบขึ้นได้
  2. สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรระวังในการรับประทานถั่วแดง เพราะถั่วแดงเป็นอาหารที่โปรตีน และฟอสฟอรัสสูง ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
  3. การรับประทานถั่วสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว
  4. วิธีต้มถั่วแดง ให้นิ่มน่ารับประทาน ขั้นตอนแรกให้ล้างเมล็ดถั่วให้สะอาด หลังจากนั้นนำมาแช่ในน้ำร้อน หรือน้ำเย็นพอท่วม ทิ้งไว้ประมาณ 6-18 ชั่วโมง แล้วนำมาต้มพร้อมกับน้ำที่แช่เมล็ด เพราะการนำมาแช่น้ำ จะทำให้สารอาหารละลายออกมาในน้ำ เราจึงใช้น้ำที่แช่ถั่วมาประกอบอาหารด้วยนั่นเอง แล้วเยื่อหุ้มเมล็ดของถั่วแดงจะนิ่ม และสุกง่ายขึ้น
  5. แม้ถั่วแดง จะมีส่วนช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย แต่ธัญพืชตระกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วแดงที่อุดมไปด้วยสารที่ชื่อ ไฟโตฮีแมกกลูตินิน (Phytohaemagglutinin) ซึ่งนับว่าเป็นสารพิษชนิดหนึ่ง ที่ส่งผลให้เกิดอาการท้องร่วง อาเจียน หรือก่อให้เกิดอาการแพ้ อย่างไรก็ตาม สารพิษเหล่านี้จะสลายไปเมื่อถูกความร้อน ดังนั้น จึงไม่ควรกินถั่วแดงแบบดิบ ก่อนรับประทานถั่วแดงควรปรุงให้ถูกวิธี มีการแช่ถั่วแดงในน้ำอย่างน้อย 5 ชั่วโมง และปรุงด้วยความร้อน เพื่อช่วยสลายสารพิษออกไป
  6. ในถั่วแดง มีสารประกอบบางชนิดที่ทำหน้าที่ขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ เพียงแค่ต้องแช่ถั่วแดงก่อนนำมาปรุงเสมอ และต้องกินถั่วแดงที่ปรุงสุกด้วยความร้อน
  7. ถั่วแดงหากกินในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด หรือท้องเฟ้อ จึงควรรับประทานแต่พอเหมาะ อย่าให้มากจนเกินไป
  8. ถั่วแดงแบบกระป๋อง อาจมีโซเดียมสูง หากต้องการบริโภคถั่วแดงแบบกระป๋อง ควรเลือกแบบที่มีโซเดียมต่ำ เพื่อป้องกันภาวะโซเดียมสูง ซึ่งหากรับประทานบ่อย อาจมีความเสี่ยงของโรคไตได้

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

การปลูกถั่วแดง การดูแล เก็บเกี่ยว ทำได้อย่างไร?

ถั่วแดง หรือถั่วแดงหลวง สามารถเติบโตได้ดี ที่ระดับความสูง 800-1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และในช่วงอุณหภูมิ 19-23 ºC ชอบดินร่วน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี ดินไม่ชื้นแฉะ หรือไม่มีน้ำขัง และดินเป็นกรดเล็กน้อย

  • การเตรียมแปลง

แปลงปลูกถั่วแดง มีทั้งที่ราบเชิงเขา และที่แปลงบนเนินเขาที่มีความลาดชัน ก่อนปลูก เกษตรควรไถกลบหน้าดิน และกำจัดพืชก่อน 1 รอบ จากนั้น ไถพรวนหน้าดินเตรียมไว้อีกรอบก่อนหว่านเมล็ด

  • วิธีการปลูก

การปลูกถั่วแดง ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงเกือบปลายฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-กันยายน ซึ่งจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว

วิธีปลูกถั่วแดงหลวง หรือถั่วแดงอื่น ๆ เกษตรกรนิยมใช้การหว่านเป็นหลัก เพราะสะดวก และรวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าแรงได้มาก โดยหว่านเมล็ดลงแปลงหลังไถพรวนครั้งที่ 2 จากนั้น ไถคราดเกลี่ยหน้าดินให้กลบเมล็ด นอกจากนี้ อาจปลูกแบบหยอดเมล็ดเป็นแถว หยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างระหว่างหลุม และแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร

  • การดูแล

  1. การให้น้ำ หากปลูกในฤดูฝนจะปล่อยให้ต้นเติบโตโดยอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ แต่หากปลูกหน้าแล้งในพื้นที่ชลประทาน ให้น้ำอย่างน้อย 2 วัน/ครั้ง
  2. การใส่ปุ๋ย ใส่หลังปลูก 20 วันแรก ด้วยสูตร 15-15-15 และอีกครั้งประมาณ 30-35 วัน หลังปลูก ด้วยสูตร 12-12-24 ทั้งนี้ อาจใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ตั้งแต่ระยะเตรียมแปลง และใส่หลังปลูกเพียงครั้งเดียว ประมาณ 20-30 วันหลักปลูก ด้วยสูตร 12-12-24 ก็สามารถทำได้
  3. การกำจัดวัชพืช ให้เข้าถอนกำจัดด้วยมือเป็นประจำอย่างน้อย 15-20 วัน/ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง เริ่มตั้งแต่หลังปลูก หลังจากปล่อยให้ต้นเติบโตตามธรรมชาติ (อ่านบทความ : รู้จักกับ “วัชพืช” วิธีการกำจัดวัชพืช ทำได้อย่างไร?)
  • การเก็บเกี่ยวเมล็ด

ถั่วแดง เริ่มออกดอกประมาณ 28-42 วันหลังปลูก และเริ่มเก็บเกี่ยวฝักได้ประมาณ 80-90 วันหลังปลูก ด้วยการถอนทั้งต้น และใช้มือเด็ดฝักออกรวมกัน ก่อนนำฝักมาขยำให้เมล็ดแยกออกด้วยมือ หรือใช้เครื่องจักร

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เกี่ยวกับถั่วแดง ประโยชน์ของถั่วแดง ที่เรานำมาฝากกัน จะเห็นได้ว่ามีประโยชน์ไม่น้อยเลยจริง ๆ อย่างไรก็ตามควรทานอย่าพอดี เพื่อสุขภาพที่ดีของเราด้วย และอย่าลืมทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถูกหลักอนามัยกันด้วย บทความหน้าจะมีอะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยน้า 😊

สามารถติดตาม สูตรอาหารและบทความอื่นๆ ได้ที่นี่

ข้อมูลจาก :

  • Khongrit Somchai
  • ชีวจิต.  อ้างอิงใน: นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 208.  “มหัศจรรย์พลังของถั่ว“.,  นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 338.  “ถั่วแดง…ความลับลดอ้วน“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.cheewajit.com.  [25 ต.ค. 2013].
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th.  [25 ต.ค. 2013].

22 เมษายน 2022

โดย

ลำดวน

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment