ไขข้อสงสัย กรดอะมิโน จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร?

ในร่างกายของคนเราจะมีทั้งกรดอะมิโนที่จำเป็นและกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น ซึ่งกรดอะมิโนไม่จำเป็นนั้นร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่ในทางกลับกันจะมีกรดอะมิโนเพียง 9 ชนิดเท่านั้นที่ถือว่าเป็นกรดอะมิโนจำเป็น เพราะร่างกายจะไม่สามารถขึ้นเองได้ จะมี กรดอะมิโน อะไรบ้างตามไปดูกันเลยค่ะ

กรดอะมิโน คืออะไร

กรดอะมิโนมีชื่อทางการในภาษาอังกฤษคือ Amino acid มีลักษณะเป็นหน่วยเล็ก ๆ ของ โปรตีน ถ้าหากร่างกายไม่มีกรดอะมิโนก็จะไม่มีโปรตีน กรดอะมิโนมาตรฐานที่เรารู้จักคุ้นเคยกันจะมีอยู่ด้วยกันประมาณ 20 ชนิด ซึ่งความเป็นจริงแล้วกรดอะมิโนจะมีมากกว่านั้น โดยกรดอะมิโนจะแบ่งออกเป็นกรดอะมิโนจำเป็นและกรดอะมิโนไม่จำเป็น เมื่อเรารับประทานโปรตีนเข้าไป ร่างกายก็จะย่อยโปรตีนเหล่านั้นให้เป็นกรดอะมิโนก่อนที่จะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้วนำไปใช้ประโยชน์ แต่ถ้าร่างกายได้รับกรดอะมิโนมากเกินไป ก็จะขับออกมาทางเหงื่อหรือปัสสาวะจนหมด

กรดอะมิโน สำคัญอย่างไรต่อร่างกาย

หากเราได้รับ กรดอะมิโน น้อยเกินไป จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะในเรื่องของการเจริญเติบโต เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว อาจเกิดอาการเบื่ออาหาร มีภูมิต้านทานต่ำ ติดเชื้อง่ายและก่อให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้น โดยปกติเรามักจะนึกถึงการได้รับโปรตีนจากสัตว์  แต่สำหรับโปรตีนจากพืชก็มีข้อดีเช่นกัน เนื่องจากแหล่งโปรตีนจากพืชมีไขมันชนิดอิ่มตัวต่ำ ไม่มีโคเลสเตอรอล มีใยอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ อีกทั้งให้พลังงานต่ำกว่าเนื้อสัตว์ จึงมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักส่วนเกินและเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ รวมทั้งผู้ที่กินมังสวิรัติหรือกินเจ ซึ่งต้องอาศัยแหล่งโปรตีนจากพืชเป็นหลัก

โครงสร้างของกรดอะมิโน

โมเลกุลขอกรดอะมิโนประกอบด้วยหมู่ฟังชั่นก์ 2 หมู่ หมู่อะมิโน (-NH2) และหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) ถ้าเป็นชนิดแอลฟา-กรดอะมิโน (α-amino acid) หมู่–NH2 และ –COOH จะเกาะที่อะตอมของคาร์บอนตัวเดียวกัน และเรียกคาร์บอนตำแหน่งนั้นว่า α-carbon atom แต่อะตอมคาร์บอน (C) ที่อยู่ในตำแหน่งอัลฟา (α-carbon) จะเป็นอะตอมคาร์บอนที่ไม่สมมาตร (asymmetric carbon atom) ดังนั้น กรดอะมิโนทุกชนิด (ยกเว้น glycine ที่มีหมู่ R เป็นไฮโดรเจน) จะมี stereo isomer 2 ชนิด คือ ชนิดดี (D-) และชนิดแอล (L-) โดยกรดอะมิโนในธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นชนิดแอล และที่พบทั้งในพืช และสัตว์มีทั้งหมด 20 ชนิด เท่านั้น ซึ่งมีโครงสร้างต่างกันที่หมู่ R ทำให้กรดอะมิโนมีความแตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ขนาด ความมีขั้ว และประจุ เช่น ถ้าหมู่ R มีจำนวนคาร์บอน (C) มากจะทำให้กรดอะมิโนมีขนาดใหญ่ หรือถ้าหมู่ R มีขั้ว และมีประจุจะทำให้กรดอะมิโนแสดงคุณสมบัติละลายน้ำได้

ประโยชน์ของกรดอะมิโน มีอะไรบ้าง

1. ด้านอาหาร
กรดอะมิโน และโปรตีนที่ถูกย่อย ส่วนใหญ่จะใช้เป็นสารปรุงแต่งในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น MSG (monosodium glutamate) ใช้เป็นสารปรุงรส ไกลซีนใช้เป็นสารให้ความหวาน เป็นสารยับยั้งแบคทีเรีย (bacteriostatic) ในอาหาร และสามารถใช้เป็นแอนตีออกซิแดนในสาร emulsifiers แอล-ซีสเตอีน ใช้ในการทำสินค้าประเภทอบ และพาสต้า นอกจากนั้น ยังมีประสิทธิภาพในการเป็นสารป้องกันการเกิดสีน้ำตาล (anti-browning agent) ของอาหาร

2. ด้านอาหารสัตว์
ในอาหารสัตว์ที่ได้จาก ปลา ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด มักจะขาดกรดอะมิโนจำพวกเมธไทโอนีน ไลซีน และทรีโอนีน จึงต้องมีการเติมกรดอะมิโนเหล่านี้ในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีนให้สูงขึ้น

3. ด้านทางการแพทย์
แอล-อาร์จีนีน แอล-กรดแอสปาติก และแอล-กรดกลูตามิค มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค Hyperammonemia และโรคตับ (Hepatic disorder) โปแตสเซียม หรือแมกนีเซียม แอล-แอสปาเตต ช่วยลดการเกิดหัวใจล้มเหลว และโรคตับ ซีสเตอีน ใช้ป้องกันเนื้อเยื่อจากการ oxidation หรือ inactivation และช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากรังสี

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

กรดอะมิโน-2021-2

กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Non-essential amino acid)

  • กรดกลูตามิก (Glutamic acid) หน้าที่หลักคือเป็นเชื้อเพลิงให้แก่สมอง ช่วยจัดการกับแอมโมเนียส่วนเกิน
  • กรดแอสพาร์ติก (Aspartic acid) ช่วยในการขับแอมโนเมียซึ่งเป็นสารอันตรายออกจากร่างกาย ช่วยปกป้องระบบประสาทส่วนกลาง และยังช่วยเพิ่มความทนทานต่อการเหนื่อยล้าได้ด้วย จึงเหมาะกับนักกีฬาเป็นอย่างมาก
  • กลูตามีน (Glutamine) เป็นส่วนหนึ่งของกลูต้าไธโอน มีส่วนช่วยให้ฉลาดขึ้น และช่วยเพิ่มระดับของโกรทฮอร์โมน
  • ไกลซีน (Glycine) ช่วยรักษาภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย รักษาโรคกล้ามเนื้อฝ่อลีบ รักษาภาวะน้ำตาลต่ำ
  • ซิสเทอีน (Cysteine) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีความจำเป็นสำหรับทารกและผู้สูงอายุ
  • เซรีน (Serine) ช่วยเผาผลาญไขมัน เพิ่มการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ไทโรซีน (Tyrosine) ช่วยส่งเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ และช่วยรักษาอาการซึมเศร้า
  • โพรลีน (Proline) ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยปรับโครงสร้างผิว
  • อะลานีน (Alanine) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดอาการต่อมลูกหมากโต
  • อาร์จินีน (Arginine) ไวอากราจากธรรมชาติ กระตุ้นการหลังโกรทฮอร์โมน เพิ่มจำนวนอสุจิ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายและลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี
  • แอสพาราจีน (Asparagine) กรดอะมิโน ไม่จำเป็นซึ่งร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

กรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acid)

  • ทริปโตเฟน (Tryptophan) ลดความเครียด บรรเทาอาการไมเกรน ช่วยส่งเสริมการนอนหลับอย่างเป็นธรรมชาติ
  • ทรีโอนีน (Threonine) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยเผาผลาญไขมัน และมีส่วนสำคัญในการสร้างกรดอะมิโนอย่างไกลซีนและเซรีน
  • ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) เพิ่มความตื่นตัว เสริมความจำ บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดความอยากอาหาร และช่วยเพิ่มความสนใจในเรื่องเพศ
  • เมไธโอนีน (Methionine) เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลัง และช่วยในการย่อยสลายไขมัน
  • ลิวซีน (Leucine) ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง เพิ่มพลังให้กล้ามเนื้อ และช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรงขึ้น
  • ไลซีน (Lysine) ช่วยเสริมสมาธิ ช่วยป้องกันโรคเริมและโรคกระดูกพรุน บรรเทาปัญหาด้านการสืบพันธุ์
  • วาลีน (Valine) ช่วยกระตุ้นสมรรถนะของสมองและช่วยการประสานกันของกล้ามเนื้อ
  • ไอโซลิวซีน (Isoleucine) ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ช่วยพัฒนาการเรียนรู้
  • ฮิสทิดีน (Histidine) เป็น กรดอะมิโน จำเป็น สำหรับทารกและเด็กเท่านั้น

กรดอะมิโนจำเป็นเป็นสิ่งที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ต้องรับจากอาหารที่กินเข้าไปเท่านั้น แต่เราไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นทุกมื้อ โดยอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิดในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย เรียกว่า โปรตีนสมบูรณ์ (Complete protein) ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ปีก ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลือง คีนัว (Quinoa) บักวีต (Buckwheat) นอกจากอาหารซึ่งเป็นโปรตีนสมบูรณ์ข้างต้นแล้ว อาหารพืช (Plant-based food) อื่นๆ ที่เป็นแหล่งโปรตีน เช่น ถั่วที่โตบนดิน หรือถั่วเปลือกแข็ง (อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น) ถั่วฝัก (ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา เป็นต้น) 


หากใครกำลังหาตัวช่วยลดน้ำหนัก เราขอแนะนำบทความที่เคยลงไปแล้วเกี่ยวกับ Plant based diet คืออาหารที่มี ส่วนประกอบแทบจะทั้งหมด มาจากพืช เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว โดยแทบจะไม่มีเนื้อสัตว์เลย การเปลี่ยนมาบริโภค plant based เป็นหนึ่งในวิธี ที่สามารถดูแลสุขภาพ เพิ่มพลังให้กับชีวิต และป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ ได้อีกด้วย เป็นไงบ้างคะทุกคน ทีนี้ก็ทราบแล้วนะคะว่า กรดอะมิโนจำเป็นอย่างไรในร่างกาย สามารถติดตามบทความอื่นๆได้ที่นี่


ขอบคุณข้อมูลจาก
MedThai / หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์) / Siamchemi