เปิดร้านเบเกอรี่ ต้องเริ่มยังไง ลงทุนเท่าไร?

อัปเดตเมื่อ วันที่ 15 กรกฎาคม 2025

เปิดร้านเบเกอรี่ ต้องเริ่มยังไง ลงทุนเท่าไร?
Table Of Contents

การเปิดร้านเบเกอรี่คือความฝันของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นคนรักการอบขนมเป็นชีวิตจิตใจ หรือผู้ที่มองเห็นโอกาสในตลาดอาหารหวานที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่การจะเปลี่ยนจาก “งานอดิเรก” ให้กลายเป็น “ธุรกิจที่ยั่งยืน” นั้น ไม่ได้อาศัยแค่ฝีมืออย่างเดียว เพราะยังมีเรื่องของการวางแผนต้นทุน ทำเล กลุ่มเป้าหมาย อุปกรณ์ และกลยุทธ์การตลาดที่ต้องคิดให้รอบด้าน
ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักขั้นตอนสำคัญในการเปิดร้านเบเกอรี่ ตั้งแต่การเริ่มต้นวางแนวคิด ไปจนถึงเคล็ดลับการขายให้ปังในยุคออนไลน์ พร้อมคำนวณเงินทุนเริ่มต้นในการเปิดร้านเบเกอรี่ให้

ขั้นตอนการเปิดร้านเบเกอรี่

ขั้นตอนการเปิดร้านเบเกอรี่ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด แค่มีแผนที่ชัดเจน รู้ขั้นตอน และเตรียมตัวให้พร้อม ก็สามารถเริ่มธุรกิจได้อย่างมั่นใจ

1. เลือกชนิดของเบเกอรี่ที่จะทำขาย

ช็อกโกแลตครีม ครัวซองต์ ครัวซองต์วิปครีม ขนมปัง ขนมอบ บลูเบอร์รี่เบเกิล วอลนัทเมเปิ้ล

โดยอาจจะเลือกจากความชอบเป็นหลัก หรือความนิยมของขนมในช่วงนั้นๆ เราจึงแนะนำเบเกอรี่ 6 ประเภทต่างๆ เป็นไอเดียให้กับคุณ

  • ขนมปัง เช่น ขนมปังฝรั่งเศส, ขนมปังโฮชวีต, เพรทเซล, สโคน เป็นต้น
  • เค้ก เช่น สปันจ์เค้ก, บัตเตอร์เค้ก, ชิฟฟ่อนเค้ก เป็นต้น
  • พายชั้น เช่น พายไก่, พายสับปะรด, พายมะพร้าว เป็นต้น
  • ขนมอบที่มีแป้งร่วนกรอบ เช่น คุกกี้, พายร่วน, ทาร์ต เป็นต้น
  • ขนมอบที่ใช้การประยุกต์ของพายชั้นกับขนมปังเข้าด้วยกัน เช่น เดนนิส, ครัวซองต์ เป็นต้น
  • ขนมอบที่เป็นโพรงด้านในสำหรับใส่ไส้รสชาติต่างๆ เช่น ชูเพรสทรี, เอแคลร์ เป็นต้น

2. เตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำเบเกอรี่ให้พร้อม

มุมมองด้านบนของอุปกรณ์เบเกอรี่บนพื้นหลังสีชมพู

สิ่งสำคัญในการทำเบเกอรี่คือ เตาอบ การเลือกเตาอบขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับเงินทุน อุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่าง เครื่องตีส่วนผสม รวมถึงเครื่องตวงชั่ง และอุปกรณ์ครัวต่างๆ หากรู้ชนิดของเบเกอรี่แล้วก็จะช่วยให้คุณสามารถเลือกอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่ายขึ้น

3. วางแผนเงินทุนให้ชัดเจน

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจทุกรูปแบบคือ เงินทุน การทำเบเกอรี่ต้องวางแผนเงินทุนให้ดี ต้องแจกแจงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ดำเนินกิจการให้ครบถ้วน ทั้งต้นทุนคงที่ เช่น ค่าอุปกรณ์ สถานที่(ถ้ามี) และต้นทุนแฝง เช่น ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบ ค่าเบ็ดเตล็ด ซึ่งจะส่งผลต่อการตั้งราคาขนมแต่ละชิ้นด้วย

4. การบริหารจัดการระบบ

เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น การวางระบบการทำงานต่างๆจึงสำคัญ เช่น
ระบบการจัดการในครัว : เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำเบเกอรี่ การจัดสรรวัตถุดิบในแต่ละวัน ปริมาณที่ต้องการ การจัดเก็บสต็อกต่างๆ
ระบบการตลาด : การผลักดันยอดขายให้เพิ่มขึ้น โดยการวางแผนการตลาด เช่น เบเกอรี่แบบพิเศษในแต่ละสัปดาห์หรือเดือนนั้นๆ ขนมตามเทศกาล รวมถึงการโปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์ โซเชียลมีเดียต่างๆ

5. เลือกช่องทางขายที่เหมาะสมกับร้าน

สำหรับร้านโฮมเมดเบเกอรี่ สามารถเลือกช่องทางการขายได้หลายแบบให้เหมาะสมกับร้านของคุณได้ โดยแบ่งออกเป็น

  • ลูกค้ามาซื้อเองถึงที่บ้านแล้วนำกลับ
  • ขายให้กับร้านคาเฟ่หรือร้านค้าที่รับไปขายต่อ
  • ขายผ่านช่องทางออนไลน์แล้วจัดส่งไปยังลูกค้า

6. รูปแบบของบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์เบเกอรี่

สิ่งที่ทำให้ลูกค้าจดจำร้านเบเกอรี่ของเราได้คือ บรรจุภัณฑ์ ที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากออกแบบให้สวยงามแล้ว ก็สามารถป้องกันเบเกอรี่ไม่ให้เกิดความเสียหายขณะเดินทางเช่นกัน เมื่อลูกค้าเปิดกล่องออกมาแล้ว ขนมยังคงอยู่ในสภาพดี น่ารับประทานเหมือนเพิ่งออกมาจากเตาใหม่ๆ

เงินทุนเริ่มต้นโดยประมาณ (กรณีโฮมเมด ขายจากบ้าน/ออนไลน์)

ประมาณการ : 30,000 – 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่าใช้อุปกรณ์ใหม่ทั้งหมดหรือใช้ของที่มีอยู่แล้วบ้าง

1. อุปกรณ์เบเกอรี่พื้นฐาน

รายการ ราคาประมาณ (บาท)
เตาอบ 8,000 – 40,000
เครื่องตีแป้ง/ตีไข่ 2,000 – 10,000
ตู้เย็น/ตู้แช่ 6,000 – 15,000
เครื่องชั่ง, ถ้วยตวง, ที่ร่อนแป้ง ฯลฯ 1,000 – 3,000
ถาดอบ/พิมพ์ขนม 1,000 – 3,000
รวมอุปกรณ์ ประมาณ 18,000 – 71,000

2. วัตถุดิบเริ่มต้น (ใช้ได้ 1–2 สัปดาห์)

รายการ ราคาประมาณ (บาท)
แป้ง, น้ำตาล, ไข่, เนย, นม 2,000 – 5,000
ช็อกโกแลต, ผลไม้, ครีม ฯลฯ 1,000 – 3,000
บรรจุภัณฑ์ (กล่อง/ถุง/สติ๊กเกอร์) 1,000 – 3,000
รวมวัตถุดิบเบื้องต้น ประมาณ 4,000 – 10,000

3. ค่าการตลาด/ออนไลน์

รายการ ราคาประมาณ (บาท)
สร้างโลโก้/แบรนด์เบื้องต้น 500 – 2,000
ถ่ายรูป/โปรโมท (อุปกรณ์, กล้องมือถือได้) ฟรี – 1,000
ลงโฆษณาเบื้องต้น (Facebook/IG) 1,000 – 3,000
ทำเพจ/เว็บไซต์เล็กๆ ฟรี – 3,000
รวมค่าโปรโมทเบื้องต้น ประมาณ 1,500 – 6,000

4. ค่าเฟอร์นิเจอร์/ตกแต่ง (ถ้ามี)

รายการ ราคาประมาณ (บาท)
โต๊ะทำงาน, ชั้นวางของ, อุปกรณ์จัดเก็บ 3,000 – 10,000

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • ถ้าเริ่มแบบเล็กๆ ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ก่อน จะลดต้นทุนได้มาก
  • เน้นสินค้าขายดี 2–3 รายการก่อน แล้วค่อยขยายเมนู
  • ใช้การตลาดออนไลน์ เช่น Instagram, Facebook, Line OA
  • คิดต้นทุนต่อชิ้นอย่างละเอียด เพื่อกำไรที่เหมาะสม

สรุปสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การเลือกรูปแบบร้านที่เหมาะสมกับเงินทุนและความสามารถ การคำนวณต้นทุน ค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดรอบคอบ ให้ความสำคัญกับคุณภาพของวัตถุดิบ การสร้างภาพจำจากบรรจุภัณฑ์ การทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการและที่สำคัญที่สุดนอกจากเรื่องรสชาติอีกหนึ่งอย่างคือ การบริการเอาใจใส่ลูกค้าอย่างยอดเยี่ยม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย

ความคิดเห็น (Comments)

0 0 โหวต
Article Rating
guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด