ประวัติความเป็นมาของ เฉาก๊วย
เฉาก๊วย มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีนตอนใต้ แถบมณฑลกวางตุ้ง กวางสี และยูนาน เฉาก๊วยเป็นพืชชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในวงศ์ Labiatae วงศ์เดียวกับสะระแหน่ โหระพา และแมงลัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mesona chinensis Bentham และเฉาก๊วย ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Grass Jelly
เฉาก๊วยมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นและเถาเป็นแบบกิ่งเลื้อย มีขนาดเล็ก เป็นเหลี่ยม มองแล้วคล้ายต้นสะระแหน่ ลำต้นเปราะ หักง่าย ส่วนกิ่งแตกแขนงออกตามข้อของลำต้น ทอดยาวคลุมตามดินได้ 50-120 เซนติเมตร ในส่วนของใบเฉาก๊วยจะมีความคล้ายคลึงกับใบสะระแหน่ มีปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื้อย ใบมีสีสดไปจนถึงเขียวเข้ม และมีขนขนาดเล็กปกคลุม
แต่หากขยี้ใบด้วยมือจะรู้สึกถึงความเป็นเมือกลื่นนอกจากนี้ต้นเฉาก๊วยยังมีดอกลักษณะคล้ายกับดอกแมงลักหรือดอกต้นโหระพา และมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำอมน้ำตาล ลักษณะเมล็ดเป็นทรงกลมรูปไข่ 👉 มีความนุ่มหนึบหนับที่เราเรียกกันว่า เฉาก๊วยทำมาจากต้นเฉาก๊วยตากแห้ง แล้วนำไปต้มให้ได้น้ำสีดำ มีลักษณะเป็นเมือกเล็ก ๆ มีกลิ่นหอมของไม้นิด ๆ และมีลักษณะเป็นเจลลี่เหนียวนุ่มเด้งดึ๋งให้เราได้กิน วันนี้ SGE ขอแชร์ความรู้สักหน่อย ไปดูกันค่ะ…

เฉาก๊วย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า เฉาก๊วยมีถิ่นกำเนิดครั้งแรกอยู่ในประเทศจีน โดยคนจีนทางตอนใต้นิยมนำน้ำต้มเฉาก๊วยมาต้มกับน้ำข้าวรับประทาน ต่อมาได้ถูกนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยโดยคนจีนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา และเป็นที่นิยมรับประทานของคนจีนในสมัยนั้น ต่อมาจึงเริ่มผลิตจำหน่าย และเป็นที่นิยมมาถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันเฉาก๊วย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด มีทั้ง วุ้นหรือเจลเฉาก๊วย และ เฉาก๊วยแข็ง
1. วุ้นหรือเจลเฉาก๊วย เป็นเฉาก๊วยชนิดอ่อนที่มีลักษณะเป็นวุ้นหรือเป็นเจล มักพบขายคู่กับเต้าหวย ทำได้จากการต้มเคี่ยวต้นเฉาก๊วยให้เหนียวข้น และตั้งทิ้งไว้ให้จนจนจับตัวเป็นวุ้น รับประทานด้วยการตัดเป็นก้อนหรือแผ่นเล็กๆร่วมกับน้ำเฉาก๊วยที่ใส่น้ำเชื่อม เฉาก๊วยชนิดนี้มีความนิยมมากในหมู่คนไทยเชื้อสายจีน
2. เฉาก๊วยแข็ง เป็นเฉาก๊วยที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็งมากกว่าเฉาก๊วยชนิดแรก ทำได้จากการผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือแป้งในปริมาณพอเหมาะจนเป็นก้อนวุ้นที่ค่อนข้างแข็ง และกรอบกว่าเฉาก๊วยชนิดแรก รับประทานด้วยการขูดเป็นเส้นหรือตัดเป็นชิ้นผสมกับน้ำเชื่อมหรือใช้ทำของหวานผสมกับเครื่องอื่นๆ เฉาก๊วยชนิดนี้ถือว่าเป็นที่นิยม และพบมากที่สุด หาซื้อได้ง่ายมากๆเลยค่ะ ใครที่ชอบกิน ไม่ต้องไปหาที่ไหน ไปร้านสะดวกซื้อก็มี
ประโยชน์ของ เฉาก๊วย มีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของเฉาก๊วย ของหวานสีดำๆ ที่เคี้ยวหนึบหนับ และมีรสหวานจากน้ำเชื่อม รวมถึงความเย็นฉ่ำจากน้ำแข็งที่ใส่ผสมลงไป ทำให้ “เฉาก๊วย” กลายเป็นหนึ่งในของหวานยอดฮิต แต่นอกจากความหวานเย็นที่กินแล้วสดชื่นขึ้นมาในทันใด เฉาก๊วยก็ยังมีสรรพคุณอื่นๆ ที่ช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย 👉👉
สรรพคุณของเฉาก๊วยที่เรารู้กันดีอยู่แล้วก็คือ ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ นอกจากนี้แล้วยังช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ช่วยลดไข้ แก้ตัวร้อน ร้อนใน ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการตับอักเสบ ลดอาการไขข้ออักเสบ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือหากว่านำเฉาก๊วยมาต้มให้เดือดแล้วนำน้ำเฉาก๊วยมาดื่มเป็นประจำจะช่วยลดอาการโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ❌❌ แต่ข้อควรระวังก็คือ น้ำตาลที่ใส่ผสมลงไปเพื่อให้มีรสชาติเพิ่มขึ้นนั้นต้องไม่มากเกินไปด้วย เพราะแทนที่จะได้ประโยชน์ อาจจะได้ผลเสียจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปได้ค่ะ

การเตรียมต้นเฉาก๊วย สำหรับการทำเฉาก๊วย
ต้นเฉาก๊วยหลังจากเก็บจากแปลงจะต้องนำมาล้างทำความสะอาดเสียก่อน แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนที่จะมัดรวมกันเป็นก้อนเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บ และการขนส่ง ต้นเฉาก๊วยที่จะนำมาต้มน้ำ โดยทั่วไปสามารถหักเป็นชิ้นใส่ในหม้อต้มได้เลย แต่หากต้องการให้ได้น้ำเฉาก๊วยที่เข้มข้นกว่าแนะนำให้สับเป็นชิ้นเล็กๆก่อนะคะ เพื่อเตรียมสำหรับการทำเฉาก๊วย เหนียวหนึบ สีดำ 👉👉 ไปดูขั้นตอนการทำกันเลยค่ะ
– หลังจากเตรียมต้นเฉาก๊วยเสร็จ ให้นำต้นเฉาก๊วยแห้งมาล้างทำความสะอาด
– นำต้นเฉาก๊วยลงต้มในน้ำ อัตราส่วนเฉาก๊วยกับน้ำที่ 1:25-50
– ต้มเคี่ยวน้ำเฉาก๊วยนาน 3-5 ชั่วโมง จนน้ำเฉาก๊วยมีลักษณะข้นเป็นเมือก และมีสีดำใส
– ทำตักต้นเฉาก๊วยขึ้นมา แล้วใช้มือขยำหรือนวดต้นเฉาก๊วย เพื่อให้เมือกหลุดออกลงหม้อต้ม
– แยกกากต้นเฉาก๊วยออกจากน้ำต้ม และตั้งทิ้งไว้สักพักเพื่อให้ตะกอน และดินตกลงด้านล่างหม้อ
– ทำการกรองน้ำต้มเฉาก๊วยด้วยผ้าขาวบาง 1-2 ครั้ง โดยค่อยๆเทเบาๆ เพื่อไม่ให้ตะกอนด้านล่างฟุ้งขึ้นมา
– นำน้ำต้มเฉาก๊วยที่มีลักษณะเหนียวข้นตั้งทิ้งไว้ให้เย็นจนได้เฉาก๊วยที่มีลักษณะก้อนอ่อนนุ่ม
– หากต้องการความเหนียว และแข็งที่มากขึ้น ให้เติมโซเดียมไบคาร์บอเนตก่อนนำไปต้มอีกครั้งหรือใส่ในขณะที่น้ำเฉาก๊วยยังร้อน
– หากต้องการเพิ่มความแข็ง และเหนียวขึ้นมาอีกให้นำแป้งท้าวยายหม่อมหรือแป้งอ่อน เช่น แป้งมันสำปะหลังลงต้มผสม โดยนำน้ำต้มที่กรองเสร็จแล้วลงต้มผสมกับแป้งนาน 15 นาที พร้อมกับกวนอย่างต่อเนื่อง จนได้เมือกเหนียวดำ และเป็นมันเงา ก่อนเทใส่แม่พิมพ์หรือตั้งให้จับตัวเป็นก้อนในหม้อ

เมนู เฉาก๋วยน้ำเชื่อม ยอดฮิต ทำเองง่ายๆ ที่บ้าน
อย่างที่รู้กันดีว่า เฉาก๊วย ทำมาจากต้นเฉาก๊วย ซึ่งไม่ต้องทำเองก็ได้เพราะมีขายแบบพร้อมกินทั้งเฉาก๊วยโบราณหรือเฉาก๊วยทรงเครื่อง แต่สำหรับคนที่อยากกินเมนูเฉาก๊วยอื่น ๆ ก็คงต้องไปซื้อก้อนเฉาก๊วยมาทำเองแล้วล่ะ วันนี้เราขอนำเสนอวิธีทำเฉาก๊วยน้ำเชื่อม หวานเย็น ชุ่มฉ่ำ มาให้ทุกคนได้ลองทำกัน
เมนูเฉาก๊วยน้ำเชื่อม สูตรจาก คุณเนินน้ำ อาหารบ้าน ๆ ที่บ้านเนินน้ำ สูตรนี้ใช้ผงเฉาก๊วยต้มกับน้ำเปล่าแล้วเทใส่พิมพ์และหั่นตามชอบ หรือหากใครมีเฉาก๊วยที่ทำเองไว้แล้ว ก็ใช้แทนกันได้ค่ะ จากนั้นก็แค่ราดน้ำเชื่อมและใส่น้ำแข็ง เรียกได้ว่าเป็นเมนูดั้งเดิม แต่ยังคงความอร่อย ไม่แพ้ใคร ไปดูส่วนผสมกันเลย
|
|
#ขั้นตอนการทำเฉาก๊วยน้ำเชื่อม
- เทผงเฉาก๊วยใส่ลงอ่างผสม เติมน้ำ 250 มล. ลงไป คนผสมให้เข้ากันดี เตรียมไว้
- ใส่น้ำที่เหลือ (750 มล.) ลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟจนเดือด
- พอน้ำเดือดแล้วปรับเป็นไฟอ่อนแล้วเทส่วนผสมเฉาก๊วยลงไปกวนผสมให้เข้ากันจนข้นและเนียน
- ปิดไฟแล้วเทใส่พิมพ์แล้วพักไว้ให้เย็นและเฉาก๊วยเซตตัว
- ทำน้ำเชื่อมโดยใส่น้ำตาลลงในหม้อ ตามด้วยน้ำ (อัตราส่วน หวานมาก-น้อยตามชอบ) นำขึ้นตั้งไฟเคี่ยวจนเดือด ปิดไฟ เตรียมไว้
- ตักเฉาก๊วยใส่ถ้วย ตามด้วยน้ำเชื่อม เติมน้ำแข็ง หรือจะหั่นซอยเป็นเส้นเล็ก ๆ ใส่แก้ว หรือเอาเข้าช่องฟรีซจะได้น้ำเชื่อมเป็นวุ้น ๆ อร่อยชื่นใจ
แนะนำเพื่อความอร่อยยิ่งขึ้น เครื่องทำบิงซู ในการปั่นน้ำแข็งให้ออกมามีลักษณะเบา เป็นปุยคล้ายเกล็ดหิมะ ช่วยให้การทานเฉาก๊วยอร่อยยิ่งขึ้น แนะให้ใช้เครื่องทำบิงซู SGE ที่สามารถเดินเครื่องได้ต่อเนื่อง มีกำลังการผลิตที่สูงถึง 90 กิโล/ชัวโมง
Credit : Samrong Hospital / Kapook