Azolla pinnata รู้จัก "แหนแดง" พืชน้ำมหัศจรรย์ ผลิตปุ๋ยไนโตรเจน มีวิธีเลี้ยงอย่างไร?

1,059 Views

คัดลอกลิงก์

รู้จัก “แหนแดง” พืชน้ำมหัศจรรย์ ผลิตปุ๋ยไนโตรเจน มีวิธีเลี้ยงอย่างไร?

แหนแดง พืชที่อุดมด้วยธาตุอาหาร เป็นได้ทั้ง ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ และอาหารสัตว์ แถมยังบำบัดน้ำเสียได้ดี

พืชชนิดมีวิธีเลี้ยงอย่างไร? ควรค่าแก่การขายพันธุ์หรือไม่? ตาม SGE ไปดูกันเลย!

แหนแดง คืออะไร?

แหนแดง คืออะไร?

            แหนแดง เป็นพืชตระกูลเฟิร์นชนิดลอยน้ำ อาศัยอยู่บนผิวน้ำในเขตอบอุ่นและเขตร้อน มีทั้งหมด 7 ชนิดทั่วโลก ในประเทศไทยพบเพียงหนึ่งชนิด คือ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) พบในแหล่งน้ำนิ่ง เช่น บ่อน้ำ บึง พื้นที่ชุ่มน้ำ หรือแอ่งที่มีน้ำท่วมขังตลอดปี ต้นเล็กของแหนแดงมีสีเขียวคล้ายกับแหนเป็ด เมื่อโตเต็มที่หรือแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำหรือสีน้ำตาล แหนแดงเป็นพืชที่มีไนโตรเจนสูงมาก เพราะในโพรงใบของแหนแดงมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศได้

ธาตุไนโตรเจนเป็นหนึ่งในอาหารหลักของพืชที่ใช้ในการเจริญเติบโต แหนแดงมีไนโตรเจนสูงถึง 4-5% มากกว่าพืชตระกูลถั่วที่มีไนโตรเจนเพียง 2.5-3% เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ กรมวิชาการเกษตร จึงได้มีการนำพันธุ์จากต่างประเทศมาปรับปรุง จนได้สายพันธุ์ อะซอลล่า ไมโครฟิลล่า (Azolla Microphylla) ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า

ธาตุอาหารในแหนแดง

  • ไนโตรเจน : 24.0-30.0%
  • ฟอสฟอรัส : 4.5-5.0%
  • แคลเซียม : 0.4-1.0%
  • โพแทสเซียม : 2.0-4.5%
  • แมงกานีส : 0.5-0.6%
  • แมกนีเซียม : 0.11-0.16%
  • เหล็ก : 0.06-0.26%

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ประโยชน์ของแหนแดง

ประโยชน์ของแหนแดง

1) การเกษตร

แหนแดง มีประวัติการใช้เป็น ปุ๋ยพืชสด ในนาข้าวประเทศสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีนมานานหลายศตวรรษ แสดงให้เห็นว่าแหนแดงมีประโยชน์ต่อนาข้าวจริง สอดคล้องกับผลการวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ พบว่า

ข้าว

  • การเลี้ยงแหนแดง แล้วไถกลบก่อนปักดำ เพิ่มผลผลิตข้าวเทียบเท่ากับการใส่ปุ๋ยยูเรีย 4.8 กก./ไร่
  • การเลี้ยงขยายแหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว 1 ชุด หรือ 2 ชุด ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้เท่ากับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 6-12 กก./ไร่
  • สำหรับการเพาะกล้า เมื่อใส่แหนแดงลงไปในแปลงกล้า 1-2 วัน ช่วย ลดระยะกล้าจาก 40 วัน เหลือเพียง 30 วัน เท่านั้น

ช่วงที่หนึ่ง: หว่านก่อนตีเทือก ประมาณ 20 วัน แล้วไถกลบ (เมื่อย่อยสลายแล้วจะปล่อยไนโตรเจนออกมา)

ช่วงที่สอง: หว่านหลังดำนา (ช่วยบดบังแสงแดด ป้องกันวัชพืช)

เนื้อเยื่อพืช 

กรมวิชาการเกษตร ทดลองใช้แหนแดงผสมกับวัสดุปลูก เนื้อเยื่อกล้วยน้ำว้าสายพันธุ์ปากช่อง พบว่าช่วยลดต้นทุนและเวลาได้ โดย ลดระยะกล้าจาก 60 วัน เหลือเพียง 45 วัน และเมื่อเมื่อนำกล้าลงแปลงปลูก เจริญเติบโตเร็วกว่า ต้นกล้าที่ไม่ได้ใส่แหนแดง

ปุ๋ยหมัก

หากมีแหนแดงปริมาณมาก ให้เก็บมากองรวมกัน เพื่อทำปุ๋ยหมัก สำหรับใช้ในแปลงพืชผักหรือสวนผลไม้ ช่วยให้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น หรือไม่ก็ทำเป็น แหนแดงแห้ง โดยการเก็บรวบรวมแหนแดงมาตากแดดไว้ ประมาณ 2 วัน แล้วเก็บใส่กระสอบรวมไว้สำหรับใช้ “ปลูกพืช”

อัตราส่วนที่ใช้: แหนแดงแห้ง ประมาณ 20 ก. ต่อดินวัสดุเพาะ 1 กก. *เมื่อเทียบกับปุ๋ยยูเรีย แหนแดงแห้ง 6 กก. เท่ากับ ปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 10-12 กก. (เพียงพอสำหรับปลูกพืช)

ประโยชน์ของ แหนแดง เลี้ยงปลา

2) อาหารสัตว์

แหนแดงมีโปรตีน ไขมัน เซลลูโลส และแร่ธาตุจำนวนมาก เหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นเพียงพอต่อการเจริญเติบโต จึงเหมาะสมที่จะใช้เลี้ยง “ปลา” โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่มีแหนแดงอยู่ด้วย ทำให้น้ำหนักและขนาดของปลาเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังนิยมนำมาเลี้ยง “เป็ด” เหมือนกับแหนเป็ดชนิดอื่นๆ หรือปล่อยเลี้ยงในบ่อน้ำเพื่อปล่อยให้เป็ดลงกินตามธรรมชาติ ทำให้เกษตรลดต้นทุนด้านอาหารเลี้ยงเป็ดได้ รวมถึงสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่น  “ไก่” และ “หมู

3) บำบัดน้ำเสีย

แหนแดงเป็นพืชลอยน้ำ ช่วยบำบัดน้ำเสีย ลดความสกปรกของน้ำ จากผลวิจัย การบําบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรโดยใช้แหนแดง พบว่า การใช้แหนแดงในการบําบัดน้ำเสียมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำเสียแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งผลการใช้แหนแดงในการบําบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกร สามารถลดค่าความสกปรกในรูป BOD , TKN, NO, และ PO ได้ ประมาณ 6-98 % ในช่วงเวลา 3 สัปดาห์ 4

4) ประกอบอาหาร

แหนแดงอ่อน หรือ แหนแดงที่ยังเป็นสีเขียวอยู่ สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก ผัดใส่หมู/เนื้อ แกงเลียง แกงอ่อม *ควรทำให้สุกทุกครั้ง เพราะอาจมีพยาธิหรือไข่พยาธิติดมาด้วย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

 วิธีเลี้ยง แหนแดง พืชน้ำแหล่งไนโตรเจน

• วิธีเลี้ยง แหนแดง พืชน้ำแหล่งไนโตรเจน

การเลี้ยงแหนแดง ตามแบบฉบับของ  กรมวิชาการเกษตร ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

วิธีที่ 1 (บ่อคอนกรีต)

  1. เตรียมบ่อน้ำ
  2. ใส่ดินนา ให้สูงประมาณ 10 ซม.
  3. เติมปุ๋ยคอก 1 กก.
  4. เติมน้ำให้สูงจากระดับดิน  10 ซม.
  5. ใส่แหนแดงลงในบ่อแม่พันธุ์ 50 กรัม
  6. เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มบ่อ ให้ปล่อยน้ำออก หรือนำไปขยายต่อในที่ต้องการ

วิธีที่ 2 (ขุดบ่อเอง)

  1. เตรียมบ่อเลี้ยงแหนแดง ขุดบ่อให้มีลักษณะเหมือนท้องนาที่มีน้ำขัง ลึกประมาณ 4-5 เซนติเมตร หรือ “บ่อน้ำตื้น” ในพื้นที่ที่มีร่มรำไร หรืออาจจะใช้ “สแลน” ช่วยในการพลางแสง
  2. ปล่อยแหนแดงลงไป ประมาณ 10 กิโลกรัม (พื้นที่บ่อ 5 ตารางเมตร)รอแม่พันธุ์แหนแดงจะเจริญเติบโตเต็มบ่อ ใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน  แนะนำให้ปล่อยแหนแดงลงบ่อก่อนฤดูฝน ถ้าปล่อยลงบ่อในหน้าแล้ง ความชื้นในอากาศน้อย อาจจะใช้เวลานานถึง 3 สัปดาห์ แหนแดงจึงจะเต็มบ่อ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับแหนแดง

  • ระดับน้ำ ลึก 5 – 10 เซนติเมตร
  • อุณหภูมิ 20–30 องศาเซลเซียส
  • แสง ได้รับแสงประมาณ 50%–70%
  • ค่า PH ที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 4.0–5.5

ดร. ศิริลักษณ์ กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ถ้าเกษตรกรมีแม่พันธุ์ 10 กก. ก็จะเพียงพอสำหรับนา 1 ไร่ หลังจากนำไปปล่อยในนา ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะขยายแหนแดงได้ถึง 3,000 กก./ไร่ ถ้าหว่านแหนแดงลงไปในปริมาณมากจะขยายพันธุ์ได้เร็ว เพราะระบบขยายพันธุ์ของแหนแดงขยายให้น้ำหนักสดเป็น 2 เท่าตัว ทุก 3-5 วัน

จะเห็นว่า แหนแดง เป็นพืชที่มีประโยชน์มากมาย เหมาะกับการทำ ปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มผลิตให้ข้าว พืช ผัก ผลไม้ รวมถึงเป็นอาหารสัตว์ที่อุดมด้วยธาตุอาหารหลากหลายชนิด หากสนใจแหนแดงสายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร สามารถติดต่อผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ เรียนรู้การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดงได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา

ขอบคุณข้อมูลจาก: เทคโนโลยีชาวบ้าน , PuechKaset

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

Wishyouwell.

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด