สรรพคุณน่ารู้ของ เห็ดหอม ที่มากกว่าความอร่อย!

ประโยชน์ของ เห็ดหอม สรรพคุณดีเน้น ๆ ที่คุณไม่ควรพลาด!

5,726 Views

คัดลอกลิงก์

สารบัญ

เห็ดหอม หนึ่งในเห็ดยอดนิยม ที่คนไทยนำมารับประทานทั้งแบบสดและแบบแห้ง โดยนำไปประประยุกต์ให้เข้ากับอาหารหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ SGE จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ เห็ดหอม รวมถึง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการทานเห็ดหอม ว่ามีอะไรบ้าง? ไปดูกัน!

เห็ดหอม (Shiitake Mushroom)

ข้อมูลทั่วไป ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดหอม
ข้อมูลทั่วไป ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lentinus edodes (Berk.) Sing.

ชื่อสามัญ

Shiitake Mushroom

กลุ่มพันธุ์ปลูก

Lentinula

ถิ่นกำเนิด

ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน

เห็ดหอม (Shiitake Mushroom) มีแหล่งกำเนิดที่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน เป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มฟังไจ (fungi) ประเภทเห็ด (mushroom) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus edodes (Berk.) Sing. ลักษณะเด่นของเห็ดชนิดนี้ คือกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม ชาวจีนนิยมนำมาใช้เป็นประโยชน์เป็นยาอายุวัฒนะ เนื่องจากในเห็ดหอมมี วิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด เช่น วิตามินบี กรดอะมิโน ซิลิเนียม กรดโฟลิค สังกะสี วิตามินดี อุดมอยู่เป็นจำนวนมาก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเห็ดหอม

ข้อมูลทั่วไป ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดหอม

ก้านดอก

ส่วนที่ชูหมวกดอกโดยมีส่วนโคนติดอยู่กับเปลือกไม้ เป็นส่วนที่มีเนื้อเยื่อแข็งแรงกว่าส่วนอื่น สีของก้านดอกบริเวณโคนจะมีสีนวลหรือน้ำตาลอ่อน ส่วนที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะเป็นสีขาว หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยก้านดอกนี้มักจะอยู่บริเวณกึ่งกลางของดอกเห็ด

วงแหวน

เป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ สีขาว ที่เมื่อดอกเห็ดยังอ่อนอยู่ เนื้อเยื่อส่วนนี้จะยึดติดกับก้านดอกและขอบหมวกดอก เพื่อปกป้องครีบดอกเห็ดให้เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเมื่อครีบดอกโตเต็มที่แล้ว เนื้อเยื่อส่วนนี้ก็จะถูกดึงขาดออกไป แต่จะมีส่วนหนึ่งที่ยังติดอยู่โดยรอบกับก้านดอกส่วนบน โดยรอบนั้นจะถูกเรียกว่า “วงแหวน” นั่นเอง

หมวกดอก

ส่วนที่เจริญเติบโตออกมาจากปลายก้านดอก โดยหมวกเห็ดหอมระยะแรกจะมีรูปทรงเป็นครึ่งวงกลมคล้ายร่มกาง และเมื่อโตเต็มที่แล้วดอกเห็ดจะกางแผ่กว้างหรือมีลักษณะป้านลง บริเวณด้านบนของหมวกดอกค่อนข้างแห้งผิวแตกเป็นลาย ถ้าปลูกบนพื้นที่ที่มีความชื้นสูงและได้รับแสงมาก หมวกดอกจะออกสีน้ำตาลเข้ม แต่ถ้าปลูกบนพื้นที่ที่มีความชื้นต่ำและอุณหภูมิต่ำ ก็จะได้เห็ดหอมที่มีสีขาวและผิวดอกแตกชัดจนเห็นเนื้อภายในสีขาว

ครีบ

เป็นส่วนที่เจริญเติบโตติดกับหมวกดอกด้านล่าง โดยจะเรียงตัวเป็นแนวยาวตามขอบหมวกเห็ด ซึ่งส่วนครีบจะแยกเป็นอิสระจากก้านดอก มีหน้าที่สร้างสปอร์สำหรับการสืบพันธุ์

Back to top

สายพันธุ์ของเห็ดหอม

เห็ดหอม ที่เรากินกันในปัจจุบัน สามารถนำมาแยกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

1 เห็ดหอมลาย

สายพันธุ์ เห็ดหอม เห็ดหอมลาย

1 เห็ดหอมลาย

  • หมวกดอกมีผิวแตกเป็นลายชัด สีซีด หมวกดอกมีเนื้อหนา ไม่แผ่กาง และมีก้านดอกสั้น
  • เจริญเติบโตในฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นจัด ความชื้นต่ำ สภาพอากาศแห้ง
  • นิยมนำมารับประทานทั้งแบบเห็ดหอมแห้งและเห็ดหอมสด
  • ถือเป็นเห็ดหอมที่มีคุณภาพดีและแพงที่สุด

2 เห็ดหอมหนา

สายพันธุ์ เห็ดหอม เห็ดหอมหนา

2 เห็ดหอมหนา

  • หมวกดอกเนื้อหนา สีเข้ม มีลายแตกไม่ชัดมากนัก ก้านดอกยาวกว่าเห็ดหอมลายเล็กน้อย
  • เจริญเติบโตในฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นจัด แต่มีความชื้นในอากาศสูง
  • นิยมนำมารับประทานทั้งแบบเห็ดหอมแห้งและเห็ดหอมสด

3 เห็ดหอมบาง

สายพันธุ์ เห็ดหอม เห็ดหอมบาง

3 เห็ดหอมบาง

  • ดอกเห็ดหอมมีลักษณะเป็นเนื้อแผ่นบาง สีเข้ม มีลายแตกไม่ชัดมากนัก ขอบหมวกดอกบาน ก้านดอกยาวกว่าชนิดอื่น
  • เจริญเติบโตก่อนหรือหลังฤดูหนาว
  • นิยมนำมารับประทานทั้งแบบเห็ดหอมแห้งและเห็ดหอมสด
  • สามารถเพาะปลูกได้ในภาคเหนือ หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของไทยได้
Back to top

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ข้อมูลโภชนาการของเห็ดหอม

ข้อมูลโภชนาการของเห็ดหอมสด ในปริมาณต่อ 100 กรัม

สารอาหาร เห็ดหอม
แคลอรี (kcal) 34 กิโลแคลอรี่
ไขมันทั้งหมด 0.5 กรัม 1 %
ไขมันอิ่มตัว 0 กรัม
คอเลสเตอรอล 0 %
โซเดียม 9 กรัม 1 %
โพแทสเซียม 304 กรัม 9 %
คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม  3%
เส้นใยอาหาร 2.5 กรัม  10%
น้ำตาล 2.4 กรัม
โปรตีน 2.2 กรัม 5%
แคลเซียม 0 %
เหล็ก 2 %
วิตามินดี 5 %
วิตามินบี 6 15 %
แมกนีเซียม 5 %
ไทอามิน 1 %
ไรโบพลาวิน 13 %
ไนอาซิน 19 %
ซิงค์ 7 %
ฟอสฟอรัส 11 %

แหล่งข้อมูลประกอบ: Calforlife

Back to top

ประโยชน์และสรรพคุณของเห็ดหอม

เห็ดหอมมีประโยชน์ต่อร่างกายและเต็มไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุมากมาย ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ ช่วยต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านการอักเสบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล และประโยชน์ของเห็ดหอมยังมีอีกมากมาย ดังต่อไปนี้

ประโยชน์ และสรรพคุณของ เห็ดหอม

ประโยชน์ของเห็ดหอมมีดังนี้

  1. ลดระดับคอเลสเตอรอล สารอิริตาดีนีนเป็นกรดอะมิโนที่มีในเห็ดหอม มีการศึกษาในหนูทดลอง พบว่าเห็ดหอมสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ และยังมีสารสเตอรอล ที่จะช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ได้ดี
  2. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เห็ดหอมมีสารเบต้ากลูแคน ที่จะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง โดยจากการศึกษาพบว่า การรับประทานวันละ 5-10 กรัม ติดต่อกันประมาณ 4 สัปดาห์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นจริง
  3. ช่วยบำรุงสมอง เห็ดหอมมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมองหลากหลายชนิด จึงช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง และเสริมสร้างความจำได้อย่างดีเยี่ยม
  4. เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เห็ดหอมถือเป็นแหล่ง Vitamin D ชั้นดีที่ได้รับมาจากธรรมชาติ เชื่อว่าหากทานแล้วช่วยรักษาสุขภาพของกระดูก โดยแหล่งวิตามินดีนี้ซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก
  5. รักษาโรคมะเร็ง มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหอมร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง และช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็งด้วยเช่นกัน โดยรายงานดังกล่าวยังอยู่ในช่วงทดลองกับอาสาสมัครทั่วไป
Back to top

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้
กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีเพาะเห็ดหอม

เห็ดหอมในธรรมชาติ จะเติบโตอยู่กับไม้ที่ตายแล้ว เช่น เซสทนัท ไม้โอ๊ค บีช และต้นShiia ซึ่งในไทยสามารถเพาะเลี้ยงเห็ดหอมได้ในภาคเหนือ โดยเพาะในไม้เนื้อแข็งอย่าง ไม้ก่อ ในปัจจุบันได้พัฒนามาเพาะในถุงพลาสติกได้แล้ว โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

วิธีเพาะเห็ดหอม
วิธีเพาะเห็ดหอม
  • ส่วนผสมวัสดุปลูก

    • หัวเชื้อเห็ดหอมในข้าวฟ่าง
    • ขี้เลื่อยไม้มะขาม 50 กิโลกรัม
    • รำข้าวละเอียด 2 – 4 กิโลกรัม
    • น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
    • ดีเกลือ 250 กรัม
    • ยิปซั่ม 250 กรัม
    • แคลเซียม 250 กรัม
    • น้ำ 40 ลิตร
  • อุปกรณ์อื่น

    • เตรียมถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6.5 x 12.5 หรือ 7 x 13 นิ้ว และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก เช่น คอขวด จุกประหยัดสำลี ยางรัด กระดาษไม่มีลาย
    • หม้อนึ่งหรือถังนึ่งไม้อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อน ในการนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเห็ดหอม โดยใช้อุณหภูมิที่สูงและใช้เวลานานกว่าเห็ดชนิดอื่น เพื่อลดการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อนในก้อนเชื้อเห็ด
    • โรงเรือนบ่มเส้นใยเห็ดและโรงเรือนเปิดดอก
  • ขั้นตอนที่ 1 ผสมก้อนเพาะ

    • ผสมวัสดุปลูกให้เข้ากัน ยกเว้นเชื้อเห็ดหอม ระวังอย่าให้วัสดุปลูกแห้งหรือแฉะเกินไป เอาแค่พอให้วัสดุจับตัวกันได้
    • ทดสอบได้โดยการลองบีบดู ถ้าบีบแล้วไม่มีหยดน้ำออกมา หรือเมื่อคลายมือออก ส่วนผสมไม่แตกร่อนอย่างรวดเร็ว เป็นอันใช้ได้
    • บรรจุส่วนผสมลงในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 6.5×12.5 นิ้ว น้ำหนัก 0.8-1 กิโลกรัม ให้แน่นดี จากนั้นใส่คอขวด และปิดจุกด้วยสำลี เป็นอันใช้ได้
  • ขั้นตอนที่ 2 การนึ่งฆ่าเชื้อ

    • นำไปนึ่งในความร้อน 98-100°C เริ่มจับเวลาเมื่อไอน้ำเดือดพุ่งตรงอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ระมัดระวังให้อุณหภูมิคงที่อยู่เสมอ
    • นึ่งก้อนเชื้อนาน 2-4 ชั่วโมง จากนั้นรอจนก้อนเชื้อเย็นก่อน ค่อยนำออกจากหม้อนึ่ง
    • พร้อมที่จะนำไปปลูกเชื้อในขั้นตอนต่อไป
  • ขั้นตอนที่ 3 การปลูกเชื้อเห็ด

    • ทำการปลูกเชื้อเห็ดในช่วงเช้าจะดีที่สุด เนื่องจากเป้นช่วงที่อากาศนิ่ง มีการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคน้อย
    • สามารถปลูกเชื้อได้โดยการแกะฝาครอบออก เปิดจุกสำลี ใส่เชื้อเห็ดที่ทำจากเมล็ดข้าวฟ่างลงไป แล้วปิดจุดสำลีและฝาครอบกลับลงไปดังเดิม
    • ควรทำในห้องปลูกเชื้อที่สะอาด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของโรค
    • นำก้อนเชื้อไปห้องบ่มเส้นใยต่อไป
  • ขั้นตอนที่ 4 การบ่มเส้นใย

    การบ่มเส้นใยสามารถทำได้ 2 รอบ ดังนี้

    • รอบในฤดูกาล โดยเก็บก้อนเชื้อเห็ดที่เพาะไว้ในห้องสำหรับบ่มเชื้อ นาน 4 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนพฤศจิกายน
    • รอบนอกฤดูกาล โดยเก็บก้อนเชื้อเห็ดที่เพาะไว้ในห้องสำหรับบ่มเชื้อ นาน 8 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม – เดือนกรกฎาคม
  • ขั้นตอนที่ 5 กระตุ้นให้เห็ดออกดอก

    • เมื่อก้อนเชื่ออายุครบ 120 วัน ให้ถอดสำลีปิดจุก และคอขวดออก จากนั้นเรียงเห็ดตั้งขึ้น แล้วแกะปากถุงออกให้เปิดกว้าง
    • เรียงทิ้งไว้ 15-30 วัน ให้ก้อนเห็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลให้มากที่สุด
    • จากนั้นตัดปากถุงให้เสมอไหล่ของก้อนเชื้อ และกรีดก้นถุงโดยรอบประมาณ 4 แผล ยาวแผลละ 1 นิ้ว
    • พ่นน้ำละอองหมอกบริเวณหน้าก้อน เป็นเวลา 3 วัน วันละ 5-6 รอบ
    • เมื่อครบเวลา ให้ทำการคว่ำหน้าก้อนเชื้อ แล้วจับเคาะกับพื้นเบา ๆ วางเรียงไว้ จากนั้นให้พ่นน้ำเป็นเวลา 3 วัน วันละ 3 รอบ
    • เมื่อครบเวลาให้จับก้อนเห็ดวางหงายขึ้นเหมือนเดิม จากนั้นให้พ่นละอองน้ำจนชุ่มที่สุด วันละ 1 ครั้ง นาน 1-2 วัน
  • ขั้นตอนที่ 6 การเก็บเกี่ยว

    • หลังจากนั้น 2- 3 วัน ก้อนเชื้อจะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดเกิดขึ้น และจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ใน 4-5 วันให้หลัง
    • โดยการเก็บเกี่ยวเห็ดหอมให้ได้คุณภาพดีที่สุด สังเกตจากตรงเนื้อเยื่อของหมวกดอก ถ้าเริ่มขาดจากก้านเห็ดเกือบครึ่ง จะเป็นระยะที่เห็ดมีคุณภาพดีที่สุด ให้รีบเก็บเกี่ยวในระยะนี้
    • หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ก้อนเชื้อจะยังสามารถให้ผลผลิตได้อีกประมาณ 6 รุ่น โดยจำต้องพักก้อนเชื้อเห็ดหลังเก็บเกี่ยวครั้งล่าสุดนาน 15-30 วัน แล้วทำกระบวนการกระตุ้นซ้ำอีกครั้ง
Back to top

แนะนำเมนูเห็ดหอม

เห็ดหอม เป็นเห็ดอีกชนิดที่คนไทยนิยมรับประทาน เพราะสามารถนำเอาไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู บทความนี้ก็ไม่ลืมที่จะ เอาไอเดียเมนูเห็ดหอมมาฝากกันด้วย ตามไปจดสูตร แล้วไปเข้าครัวพร้อม ๆ กันเลย

1 กระเพาะปลาน้ำแดง

เมนูเห็ดหอม กระเพาะปลา

1 กระเพาะปลาน้ำแดง

กระเพาะปลาน้ำแดง คือสูตรกระเพาะปลาที่เรารับประทานกันทั่วไป รสชาติกระเพาะปลานุ่ม ๆ ผสานกับน้ำแดงรสเด็ดเหนียวข้น กินคู่กับเส้นหมี่ อร่อยเข้ากันสุด ๆ

วัตถุดิบ: กระเพาะปลา, ไข่นกกระทา, เห็ดหอมแห้ง, ปีกบนไก่, …

2 ผัดหมี่ซั่ว

เมนูเห็ดหอม ผัดหมี่ซั่ว

2 ผัดหมี่ซั่ว

ผัดหมี่ซั่ว ทำเองได้ง่ายมาก ๆ เพียงแค่มีเส้นหมี่ซั่วกับไข่ไก่ 2 ฟอง ก็สามารถผัดออกมาได้อร่อยแล้ว โดยสามารถเพิ่มสีสันและสารอาหารให้จานอร่อยได้ ด้วยการใส่เนื้อสัตว์และผักนานาชนิดลงไป ทำตามสูตรนี้ อร่อยเลย!

วัตถุดิบ: เส้นหมี่ซั่ว, ไข่ไก่, อกไก่ฉีก, เห็ดหอมหั่นเส้น, …

3 ต้มจับฉ่ายหมูสามชั้น

เมนูเห็ดหอม ต้มจับฉ่าย

3 ต้มจับฉ่ายหมูสามชั้น

ต้มจับฉ่ายเป็นชื่อภาษาจีน แปลตรงตัว คือ ผัก 10 อย่าง ขั้นตอนการทำคือนำผักหลาย ๆ อย่างมาต้มผสมกัน อาจไม่จำเป็นต้องใส่ผักครบทั้ง 10 อย่างก็ได้ เมนูนี้เหมาะกับการเคลียร์ตู้เย็นมาก ๆ ใครสายตุนแต่ไม่รู้จะทำเมนูอะไร ลองเมนูนี้เลย!

วัตถุดิบ: หมูสามชั้น, กะหล่ำปลี, เห็ดหอม, ผักกวางตุ้ง, …

4 ไก่ตุ๋นยาจีน

เมนูเห็ดหอม ไก่ตุ๋นยาจีน

4 ไก่ตุ๋นยาจีน

เมนูเพื่อสุขภาพ ไก่ตุ๋นยาจีน เป็นอีกเมนูหนึ่งที่หาทานตามร้านทั่วๆ ไม่ค่อยได้ มีจุดเด่นอยู่ที่เครื่องยาจีน เป็นเมนูที่ค่อนข้างให้พลังงานชีวิต ทานแล้วจะรู้สึกได้ว่ามีพลัง หากใครรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีแรง แนะนำให้ลองเลย!

วัตถุดิบ: สะโพกติดน่อง, เห็ดหอมแห้ง, ลำไยแห้ง, น้ำตาลกรวด, …

5 เกี๊ยวซ่าไส้มังสวิรัติ

เมนูเห็ดหอม เกี๊ยวซ่ามังสวิรัติ

5 เกี๊ยวซ่าไส้มังสวิรัติ

สำหรับใครที่เป็นมังสวิรัติ แล้วอยากกินเกี๊ยวซ่า แต่หาไม่ได้ เพราะขายกันแต่ไส้หมู ไส้ไก่ แนะนำให้ทำ เกี๊ยวซ่าไส้มังสวิรัติ เองเลย สูตรนี้ใส่สารพัดผัก แต่รับรองอร่อยไม่แพ้สูตรปกติ!

วัตถุดิบ:  แป้งเกี๊ยวซ่า, เห็ดหอม, กะหล่ำปลี, สาหร่ายคอมบุ, …

Back to top

จบไปแล้วสาระดี ๆ ของเห็ดหอม เห็ดที่เอาไปใส่กับเมนูไหนก็อร่อย ทำทานเท่าไหร่ก็ไม่มีเบื่อแน่นอน หากใครอยากจะปลูกขายก็ทำได้ไม่ยากอีกด้วย ลองนำเคล็ดลับดี ๆ ที่เรามาแชร์วันนี้ไปลองทำกันดู ใครที่ชอบบทความสาระดี ๆ แบบนี้ อย่าลืมติดตามกันได้ในบทความหน้านะคะ~

22 มีนาคม 2024

โดย

จันทร์เจ้า

ความคิดเห็น (Comments)

Leave A Comment